“ชุมชนประชาสงเคราะห์”  หนุนรถไฟฟ้า สายสีส้ม ใช้ “หัวเจาะอุโมงค์”

30 ส.ค. 2563 | 13:56 น.

ชาวชุมชน ประชาสงเคราะห์ แม่เนี้ยว แยก 3 หนุน รฟม. ปรับหลักเกณฑ์ประมูล รถไฟฟ้าสายสีส้ม ใช้เทคนิคชั้นสูง หัวเจาะอุโมงค์แทนเปิดหน้าดิน ลดกระทบเวนคืน บ้าน 500 หลัง เผย พิจารณาเทคนิคร่วม กับราคา ไม่ขัดนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน

การปรับหลักเกณฑ์ประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ -มีนบุรี(สุวินทวงศ์) พิจารณเทคนิคร่วมกับราคา เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน เรื่อง รายละเอียดของร่างประกาศเชิญชวน ร่างเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน และสาระสำคัญของร่างสัญญาร่วมลงทุน พ.ศ. 2563 และขอสงวนสิทธิ์ของ รฟม. ที่เอกชนผู้ยื่นข้อเสนอทุกรายได้รับทราบก่อนการซื้อเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน (RFP) ตามเอกสารประกาศเชิญชวนการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน โครงการดังกล่าว ลงวันที่ 3 กรกฎาคม 2563 ซึ่งไม่ขัดต่อกฎหมาย กฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง และพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 รวมทั้งสอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติที่กำหนดไว้ในระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 ที่การจ้างออกแบบและก่อสร้างที่มีความซับซ้อน มีเทคโนโลยีสูง หรือมีเทคนิคเฉพาะสามารถใช้เกณฑ์ราคาประกอบเกณฑ์อื่นได้

 

 

 

 

นายประทีป นิลวรรณ ประธานชุมชนแม่เนี้ยว แยก 3 แกนนำชุมชนประชาสงเคราะห์  ระบุว่า ทางชุมชนฯเห็นว่า การที่ทาง รฟม. จัดให้มีการให้คะแนนด้านเทคนิค 30% และคะแนนทางด้านราคา 70% นั้น เป็นเรื่องที่ดีมาก เนื่องจากทางชุมชนต้องการให้การสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มบริเวณประชา สงเคราะห์ ที่กระทบต่อประชาชน ใช้วิธีการสร้างแบบใช้หัวเจาะอุโมงค์ ประชาชนที่อยู่ด้านบนสามารถอยู่อาศัยได้ตามปกติ “ชุมชนประชาสงเคราะห์”  หนุนรถไฟฟ้า สายสีส้ม ใช้  “หัวเจาะอุโมงค์”

กระทบมากที่สุดคือการรอนสิทธิ์ ตามแนวที่รถไฟฟ้าผ่านเท่านั้น 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

ฉีก! ทีโออาร์ ซ่อนเงื่อน รถไฟฟ้า "สายสีส้ม"

"รฟม " ยัน TOR รถไฟฟ้า "สายสีส้ม" เพิ่มเทคนิค ‘แฟร์เกม’ 

“ITD” อ้าง รถไฟฟ้า“สายสีส้ม” เทคนิคขั้นสูง ทีโออาร์ อย่ายึดราคาประมูล

 

 เนื่องจากที่ผ่านมา รฟม. นำเสนอวิธีแบบเก่าให้กับทางชุมชน คือใช้วิธีการเปิดหน้าดิน ซึ่งการเปิดหน้าดิน และสร้างเสร็จจึงกลบกลับ ถือเป็นเทคโนโลยีการก่อสร้างแบบเก่า สร้างผลกระทบต่อชุมชนมหาศาลกว่า 500 หลังคาเรือน ซึ่งถือเป็นเรื่องไม่สมควรอย่างยิ่ง ทางชุมชนจึงอยากสนับสนุนผู้รับเหมารายใดก็ตามที่สามารถสร้างอุโมงค์รถไฟฟ้าสายสีส้ม บริเวณประชาสงเคราะห์ ได้ โดยไม่ต้องเปิดหน้าดิน ให้ได้รับเลือกให้เป็นผู้ก่อสร้างรถไฟฟ้าสายนี้ เพื่อลดผลกระทบต่อชุมชนตามนโยบายที่ทาง รฟม. ได้ประกาศออกมา

หน้า 7  หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 40  ฉบับที่ 3,605 วันที่ 30 สิงหาคม - 2 กันยายน พ.ศ. 2563