เทียบชัดๆ ค่าโดยสารรถไฟฟ้า กทม. หรือ รฟม. ถูกกว่า?

19 เม.ย. 2564 | 10:09 น.

เปิดสูตรค่าโดยสารรถไฟฟ้า ใครถูกกว่า รฟม. กำหนดสูตรค่าโดยสารยึดเกณฑ์ ADB อัตราค่าโดยสารระบบขนส่งสาธารณะของไทยและสากล ส่วนกระทรวงคมนาคม ใช้สูตรคำนวณที่มาของค่าโดยสารไม่เกิน 65 บาทตลอดสาย

เทียบค่าโดยสารรถไฟฟ้า กทม. กับ รฟม.  

 


รฟม. 


-กำหนดสูตรค่าโดยสารยึดเกณฑ์ ADB  อัตราค่าโดยสารระบบขนส่งสาธารณะของไทยและสากล 
มีหลักการดังนี้
1.อ้างอิงจากค่าโดยสารปรับอากาศปี 2544 เริ่มต้นที่ 8 บาท  ปรับขึ้น 25 %  เป็น 10 บาท ถือเป็นอัตราค่าโดยสารที่ประชาชนยอมรับได้
2.สอบทานอัตราค่าโดยสารข้างต้นกับค่าบริหารจัดการเดินรถและซ่อมบำรุง (O&M)  ที่ประกอบด้วยค่าใช้จ่ายคงที่ (fixed Cost) + ค่าใช้แปรผัน

วิธีคำนวณของรฟม.
1.ค่าโดยสารในปี 2544 = ค่าแรกเข้า 10 บาท + ค่าโดยสารตามระยะทาง 1.8 บาท/กม. (กำหนดเพดานค่าโดยสารสูงสุด 12 สถานี)
2.ค่าโดยสารในปี 2564 = ค่าแรกเข้า 14 บาท + ค่าโดยสารตามระยะทาง 2.5 บาท/กม. (ปรับอัตราค่าโดยสารด้วยดัชนีผู้บริโภคเฉลี่ย 1.8% ต่อปี)

กระทรวงคมนาคม


-สูตรคำนวณที่มาของค่าโดยสารไม่เกิน 65 บาทตลอดสาย เป็นการใช้สูตรคำนวณมาจากดัชนีผู้บริโภค (CPI) กระทรวงพาณิชย์ แต่เป็นการคำนวณรวมหมวดอาหาร และเครื่องดื่ม (Food and Beverage)
-การคำนวณค่าโดยสารระบบขนส่งสาธารณะ ไม่ควรนำดัชนีผู้บริโภค (CPI) รวมหมวดอาหารและเครื่องดื่ม
-ควรมีการใช้สูตรคำนวณเดียวกัน 
-หากใช้สูตรคำนวณไม่รวมอาหารและเครื่องดื่ม ค่าโดยสารสูงสุดสายสีเขียว ลดลงกว่า 20% จาก 65 บาทตลอดสาย

1.รายได้จากการคาดการณ์ ระหว่างปี 2573-2585 ค่าโดยสารรถไฟฟ้า 49.83 บาท
-รายได้รวม 300,000 ล้านบาท
-จ่ายหนี้กทม. 76,000 ล้านบาท
-เงินปันผล 9,800 ล้านบาท
-ค่าจ้างเดินรถ 104,000 ล้านบาท
-เงินส่งรัฐ 110,200 ล้านบาท
-เงินเหลือรวม 380,200 ล้านบาท 

2.รายได้จากการคาดการณ์ ระหว่างปี 2585-25602 ค่าโดยสารรถไฟฟ้า 25 บาท
-รายได้รวม 414,000 ล้านบาท
-ค่าจ้างเดินรถ 144,000 ล้านบาท
-เงินส่งรัฐ 270,000 ล้านบาท (ติดลบ)
-เงินเหลือรวม 380,200 ล้านบาท

สภาองค์กรผู้บริโภค


1.รายได้จากการคาดการณ์ ระหว่างปี 2573-2585 ค่าโดยสารรถไฟฟ้า 25 บาท
-รายได้รวม 150,000 ล้านบาท
-จ่ายหนี้กทม. 76,000 ล้านบาท
-เงินปันผล 9,800 ล้านบาท
-ค่าจ้างเดินรถ 104,000 ล้านบาท
-เงินส่งรัฐ 39,800 ล้านบาท (ติดลบ)
-เงินเหลือรวม 380,200 ล้านบาท 

2.รายได้จากการคาดการณ์ ระหว่างปี 2585-2602 ค่าโดยสารรถไฟฟ้า 25 บาท
-รายได้รวม 207,000 ล้านบาท
-จ่ายหนี้กทม. 39,800 ล้านบาท
-ค่าจ้างเดินรถ 144,000 ล้านบาท
-เงินส่งรัฐ 23,200 ล้านบาท (ติดลบ)

-เงินเหลือรวม 23,200 ล้านบาท

 

ดร.สามารถ  ราชพลสิทธิ์ 


1. สายสีเขียวค่าโดยสารสูงสุด 65 บาท 
-เดินทางได้ไกลสุดคือจากคูคต-เคหะสมุทรปราการ ระยะทาง 53 กม.
 -คิดเป็นค่าโดยสารเฉลี่ย 1.23 บาทต่อกม.
2. รถไฟฟ้า รฟม. หรือสายสีน้ำเงินและสายสีม่วงค่าโดยสารสูงสุด 70 บาท 
-เดินทางได้ไกลสุดคือจากสถานีคลองบางไผ่ (บางใหญ่)-หัวลำโพง ระยะทาง 44 กม.
-ช่วงสถานีคลองบางไผ่-เตาปูน ระยะทาง 23 กม. ใช้รถไฟฟ้าสายสีม่วง ค่าโดยสาร 42 บาท 
-ช่วงสถานีเตาปูน-หัวลำโพง ระยะทาง 21 กม. ใช้รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ค่าโดยสาร 28 บาท คิดเป็นค่าโดยสารเฉลี่ย 1.59 บาทต่อกม.
-ค่าโดยสารรถไฟฟ้า กทม. หรือสายสีเขียวเฉลี่ย 1.23 บาทต่อกม.
-ค่าโดยสารสายสีน้ำเงินรวมสีม่วงเฉลี่ย 1.59 บาทต่อกม.
- ค่าโดยสารสีเขียว(กทม.)ถูกกว่าสีน้ำเงินรวมกับสายสีม่วง(รฟม.) 36 สตางค์ต่อกม. หากคำนึงถึงสัดส่วนการลงทุนในเส้นทางหลัก ค่าโดยสารรถไฟฟ้า รฟม.ควรถูกกว่า เพราะรัฐร่วมลงทุนมากกว่า
***กทม.
สายสีเขียวค่าโดยสารเหลือ10-15บาทหรือ 15-25บาท ต่อเมื่อ
-สิ้นสุดสัมปทาน-โอนเป็นของรัฐปี2572(ส่วนตรงกลางเอกชนลงทุน)
-สิ้นสุดสัญญาจ้างเดินรถกับบีทีเอส ส่วนต่อขยายสายสีเขียว  ปี2585
-ยกเลิกสัญญา/ปรับลดสัญญาเท่ากับถูกฟ้อง
-เทียบแอร์พอร์ลิงค์ 28กม. ค่าโดยสาร 15-35บาท(พบปัญหาขาดทุน)
-เทียบสายสีส้ม ตะวันออก (ศูนย์วัฒนธรรม-มีบุรี) 1 ม.ค.2566 ราคาค่าโดยสาร  17-62 บาท ใกล้เคียงกับสายสีเขียว