"วัคซีนโควิด-19" คืนรอยยิ้มประเทศไทย

25 ก.พ. 2564 | 03:34 น.

"วัคซีนโควิด-19" คืนรอยยิ้มประเทศไทย

เตรียมรับวัคซีนป้องกันโควิด-19 จากซิโนแวค ล๊อตแรก 2 แสนโดส ด้วยเที่ยวบินขนส่งสินค้า TG 675 เส้นทางปักกิ่ง กรุงเทพ นำวัคซีนโควิด 19 จำนวน 200,000 โดส  ขอบริษัทซิโนเเวก ไบโอเทค จำกัด น้ำหนัก 2.6 ตัน มาถึงสนามบินสุวรรณภูมิเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เมื่อเครื่องจอดสนิทเเล้ว นายกรัฐมนตรีจะเดินทางเข้ารับวัคซีนจากเครื่องบิน 

สวัสดีค่ะ แฟนข่าวฐานเศรษฐกิจทุกท่าน 24 กพ 2564 วันที่น่าจะต้องตารึกเอาไว้ในประวัติศาสตร์เลยก็ว่าได้ค่ะ เพราะในที่สุด วัคซีนป้องกันโควิด-19 ลอตแรก จาก บริษัท ซิโนแวค ไบโอเทค จำกัด ประเทศจีน จำนวน 2 แสนโดส น้ำหนัก 2.6 ตัน อีกไม่กี่อีดใจจะมาถึงประเทศไทย ด้วยเที่ยวบินขนส่งสินค้าทีจี 675 เส้นทางปักกิ่ง-กรุงเทพฯ ออกเดินทางจากจีน ในเวลาประมาณ 06.50 น. (เวลาท้องถิ่น) ถึงกรุงเทพฯ เเล้ว ซึ่งตามกำหนดการเเล้ว เมื่อเครื่องลงจอดสนิท พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ซึ่งรออยู่ด้านในจะเป็นประธานรับวัคซีน ในครั้งนี้จากนั้นจะเดินทางมายังโพรเดียมเพื่อชี้เเจงรายละเอียดอีกครั้งค่ะ 


19 ท่าน จะมาร่วมถ่ายภาพข้างเครื่อง จากนั้นนายกจะมาเเถลงข่าวด้านหลัง  ส่วนวัคซีนจะย้ายไป 19 กม . 

การขนส่งในครั้งนี้ทางบริษัทฯ การบินไทย บอกว่า พร้อมปฏิบัติภารกิจสำคัญนี้ โดยได้จัดเตรียมเครื่องบินลำตัวกว้าง สำหรับขนส่งวัคซีนป้องกันโควิด-19 ด้วยตู้คอนเทนเนอร์ชนิดปรับควบคุมอุณหภูมิเข้าสู่ประเทศไทย ซึ่งตู้คอนเทนเนอร์ควบคุมอุณหภูมิดังกล่าว สามารถขนส่งสินค้าที่ต้องการควบคุมอุณหภูมิได้ระหว่าง -20˚C ถึง +20˚C รวมถึงอุปกรณ์บริการภาคพื้นเพื่อสนับสนุนเที่ยวบินขนส่งวัคซีน และพื้นที่คลังสินค้าปรับอากาศขนาดใหญ่ ที่มีความสะดวกในการ ส่งต่อวัคซีน ซึ่งจะช่วยปกป้องวัคซีนไม่ให้สัมผัสกับสภาวะอุณหภูมิสูง โดยบุคลากรยังมีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในการขนส่งและดูแลผลิตภัณฑ์ในกลุ่มสินค้าประเภทที่ต้องการควบคุมอุณหภูมิ  


ก็เรียกได้ว่าเป็นอีกความหวังหนึ่งในการต่อสู้กับโควิด 19 ซึ่งบรรยากาศในตอนนี้มีผู้สื่อข่าวจากหลายสำนักทั้งไทยเเละต่างชาติที่ให้ความสนใจมาเกาะติดการรับวัคซีนเป็นจำนวนมากจริงๆ นอกจากนั้นมีข้าราชการจากกระทรวงสาธารณสุขจำนวนมากด้วย ซึ่งก็เชื่อว่าคนไทยทั่วประเทศก็เฝ้าติดตามประเด็นนี้เช่นเดียวกัน 

ขณะที่ภาคธุรกิจต่างตั้งตารอ เพราะเชื่อมั่นว่าจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประเทศกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง โดยเฉพาะธุรกิจท่องเที่ยว ถ้าหลังจากนี้จะมีการเปิดให้มีการเดินทางระหว่างประเทศได้สะดวกขึ้น ก็จะทำให้วงจรการทำธุรกิจกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง และจะเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจไทยกระเตื่องขึ้นอีกครั้ง

วัคซีนตัวนี้มีชื่อว่า “โคโรนาแวค โดยเป็น “วัคซีนเชื้อตาย” เป็นเทคโนโลยีดั้งเดิมที่ถูกใช้มานานกว่าศตวรรษ  ในการสร้างวัคซีนโปลิโอในปี 1955 และเป็นฐานสำหรับวัคซีนป้องกันโรคอื่น ๆ เช่น โรคพิษสุนัขบ้า และไวรัสตับอักเสบเอ ทำงานโดยการเหนี่ยวนำระบบภูมิคุ้มกันร่างกายมนุษย์ให้สร้างแอนติบอดีต้านโควิด-19 โดยแอนติบอดีจะยึดติดกับโปรตีนบางส่วนของไวรัสไม่ให้เข้าสู่เซลล์ร่างกาย โดยคุณอนุทินก็ได้ออกมาเปิดเผยเอกสารว่าวัคซีนตัวนี้ได้ผ่านการประเมินจากทางองการค์อาหารและยาแล้ว

เมื่อวัคซีนลอตแรกจากซิโนแวคมาถึงประเทศไทย จะต้องมีคำถามว่าแล้วใครละที่จะเป็นผู้ได้รับการฉีดวัคซีนในลอตแรกนี้ ซึ่งก็มีกระแสข่าวว่าจะเป็นนายกรัฐมนตรี จะขอเป็นผู้ฉีดวัคซีนเข็มแรกเพื่อเป็นการแสดงความมั่นใจให้กับประชาชนในประเทศ  นายกฯ ต้องเป็นเข็มแรกเพราะเป็นผู้นำประเทศ ซึ่งต้องมีกระบวนการประเมินความเสี่ยงโดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นขั้นตอนตามวิธีการสากล

นายกฯจะได้รับวัคซีนที่ไม่มีข้อจำกัดเรื่องอายุ คือ ไม่ใช่ซิโนแวค เพราะซิโนแวคมีข้อจำกัดเรื่องอายุ ไม่เหมาะกับผู้ที่อายุ 60 ปีขึ้นไป แต่อาจจะเป็นอีกยี่ห้อหนึ่ง คือ แอสตร้าเซนเนก้า อันนี้ต้องติดตามกัน ซึ่ง

เมื่อวานคุณอนุทินบอกว่าเเอสตร้าเซนเนก้าจะเข้าไทยในวันนี้เช่นกันจำนวน 117,000 โดส หมายความว่าวันนี้ไทยจะได้วัคซีนเข้ามาเกือบ 400,000 โดส จาก 2 ตัว คือซิโนเเวคเเละเเอสตร้าเซนเนก้า ส่วนนายกจะฉีดเมื่อไหร่นั้นก็จะต้องติดตามกันต่อไป

แอสตร้าเซนเนก้า ในเรื่องประสิทธิผลและความปลอดภัยนั้น จากผลการทดลองในเบื้องต้นโดยมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด พบว่าวัคซีน AZD1222 มีความปลอดภัยและประสิทธิภาพในการป้องกันโควิด-19 และสามารถช่วยป้องกันการอาการติดเชื้อขั้นรุนแรงหรือต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล

การเว้นระยะฉีดระหว่างเข็มแรกกับเข็มที่สองนั้น ของซิโนแวค จะต้องเว้นห่างกัน 14-28 วัน ส่วนแอสตร้าเซนเนก้า เว้นห่างกันประมาณ 6 สัปดาห์ ทั้งนี้ รายละเอียดทางวิชาการ ผมอาจจะระบุรายละเอียดไม่ได้มากนัก เพราะเป็นแผนกสนับสนุนให้เกิดความสำเร็จ

เนื่องจากเป็นวัคซีนใหม่ ทางกรมควบคุมโรค จะต้องมีความมั่นใจว่าจะทำให้เกิดความปลอดภัยสูงสุดกับประชาชน โดยจะต้องสังเกตอาการภายหลังฉีดวัคซีน 30 นาที จากนั้นกระทรวงสาธารณสุขและสถานพยาบาลต่างๆ จะให้ยาแก้แพ้ ให้ตามอาการจากเบาไปหาหนัก ซึ่งเชื่อว่าไม่มีอะไรมากมาย

สำหรับแผนกระจายวัคซีนจำนวน 200,000 โด๊สแรก กระจายให้กับกลุ่มเป้าหมาย 4 กลุ่มเป้าหมาย ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด, พื้นที่ควบคุม และพื้นที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม รวม 13 จังหวัด ได้แก่ สมุทรสาคร, กทม.(ฝั่งตะวันตก), ปทุมธานี, นนทบุรี, สมุทรปราการ, ตาก (อ.แม่สอด), นครปฐม , สมุทรสงคราม, ราชบุรี, ชลบุรี, ภูเก็ต, สุราษฎร์ธานี (อ.เกาะสมุย) และ เชียงใหม่