3 รถรางไฟฟ้าหัวเมือง ฝ่าด่านหิน ลุ้นชงครม.ปักธงอนุมัติปี 64

02 ม.ค. 2564 | 23:00 น.

การเปิดใช้รถไฟฟ้าสายใหม่ต่อเนื่องในกรุงเทพฯ ทำให้เป็น“โครงข่าย” ชัดเจนขึ้นเป็นลำดับ

ขณะที่ระบบขนส่งมวลชนในหัวเมือง 7 จังหวัดหลักนั้น รอบปี 2563 นี้ที่คืบหน้าไปมากอย่างน้อย 3 แห่ง ที่มีลุ้นว่าจะสามารถเสนอเข้าครม.ขออนุมัติโครงการในปี 2564 นี้

 

โครงการระบบขนส่งมวลชนในหัวเมืองที่คืบหน้ามาก 3 จังหวัด นายภคพงศ์  ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า

 

1.ความคืบหน้าโครงการระบบขนส่งมวลชนรถไฟฟ้ารางเบา (แทรม) จ.ภูเก็ต ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง ระยะทาง 42 กม. วงเงิน 3.5 หมื่นล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษาทางเลือกใหม่ เนื่องจากนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มีแนวคิดให้ปรับรูปแบบระบบการเดินรถใหม่ เป็นแบบรถโดยสารด่วนพิเศษ (บีอาร์ที) เพื่อลดภาระต้นทุนค่าก่อสร้าง คาดว่าจะเปิดประมูลภายในปลายปี 2564 โดยจะเริ่มก่อสร้างในปี 2565 โดยใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 3 ปี  3 รถรางไฟฟ้าหัวเมือง  ฝ่าด่านหิน  ลุ้นชงครม.ปักธงอนุมัติปี 64

ขณะเดียวกันที่ประชุมคณะกรรมการ(บอร์ด) รฟม. ได้รายงานผลการศึกษาทางเลือกออกเป็น 2 รูปแบบ ประกอบด้วย 1.รถรางแบบล้อยาง ที่สามารถเดินรถเลี้ยวตามเส้นทางได้สะดวก แต่สภาพอากาศในไทยที่ค่อนข้างร้อนอาจจะทำให้ยางเสียหรือระเบิดได้ รวมทั้งมีผู้ผลิตในตลาดต่างประเทศน้อย ส่งผลให้ต้นทุนการจัดหาระบบค่อนข้างสูงกว่าระบบรถรางล้อเหล็กราว 15% 2.รถโดยสารด่วนพิเศษ (บีอาร์ที) เป็นรถที่ขับด้วยระบบไฟฟ้า ซึ่งจะทำให้ต้นทุนถูกว่าระบบเดิมประมาณ 30 %  3 รถรางไฟฟ้าหัวเมือง  ฝ่าด่านหิน  ลุ้นชงครม.ปักธงอนุมัติปี 64

2.โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา (สายสีเขียว) ช่วงตลาดเซฟวัน-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพ บ้านนารีสวัสดิ์ วงเงิน 7.11 พันล้านบาท  หลังจากเปิดรับฟังความคิดเห็นเพื่อทดสอบความสนใจ (Market Sounding) แล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างจัดทำรายงานรูปแบบการร่วมลงทุนโดยให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (พีพีพี) จะดำเนินการแล้วเสร็จภายในต้นปี 2564  คาดว่าจะเปิดประมูลได้ภายในปี 2565 ซึ่งโครงการฯนี้จะล่าช้ากว่าแทรมภูเก็ต เนื่องจากจะต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการ (บอร์ด รฟม.) เพิ่มเติม

สำหรับโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา (สายสีเขียว) ช่วงตลาดเซฟวัน - สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ ระยะทาง 11.15 กิโลเมตร มีกำหนดเปิดให้บริการภายในปี 2571 โดยมีรูปแบบเป็นระบบรถไฟฟ้ารางเบา (LRT/Tramway) ซึ่งมีลักษณะเป็นระบบรถไฟฟ้าที่วิ่งไปตามทางวิ่งหรือรางบนพื้นถนน รูปแบบคล้ายกับรถไฟฟ้า MRT ที่ใช้ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล แต่มีขนาดเล็กกว่า มีสถานีรับ-ส่ง ผู้โดยสาร 21 สถานี 

3.ขณะที่ความคืบหน้าโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ (สายสีแดง) ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์ - แยกแม่เหียะสมานสามัคคี) วงเงิน 2.7 หมื่นล้านบาท แหล่งข่าวเผยว่า ปัจจุบันที่ปรึกษาโครงการฯ อยู่ระหว่างการพิจารณาความเหมาะสมค่าก่อสร้างเพื่อประหยัดต้นทุนดำเนินการ  เนื่องจากแนวเส้นทางโครงการต้องขุดอุโมงค์ใต้ดินซึ่งมีต้นทุนค่าก่อสร้างค่อนข้างสูง คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในต้นปี 2564 

3 รถรางไฟฟ้าหัวเมือง  ฝ่าด่านหิน  ลุ้นชงครม.ปักธงอนุมัติปี 64

ส่วนการจัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) คาดแล้วเสร็จภายในปี 2564 หลังจากนั้นจะเปิดประมูลได้ภายในปี 2565 ทั้งนี้จะต้องเสนอต่อกระทรวงคมนาคม  สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) และคณะกรรมการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (บอร์ด PPP) และคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา 3 รถรางไฟฟ้าหัวเมือง  ฝ่าด่านหิน  ลุ้นชงครม.ปักธงอนุมัติปี 64

สำหรับโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ (สายสีแดง) ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์ - แยกแม่เหียะสมานสามัคคี) ระยะทาง 15.8 กิโลเมตร ทั้งนี้ มีกำหนดเปิดให้บริการภายในปี 2571 โดยมีรูปแบบเป็นระบบรถไฟฟ้ารางเบา (LRT/Tramway) ทางวิ่งผสมระดับดินและใต้ดิน มีแนวเส้นทางตามแนวเหนือใต้ มีจำนวนสถานีทั้งสิ้น 16 สถานี

โครงการรถรางไฟฟ้าขนส่งมวลชน 3 หัวเมืองหลัก ที่โคราชน่าจะมีปัญหาน้อยสุด เนื่องจากสายทางสั้นภายในเขตเมือง และเป็นรางระดับดินทั้งหมด ทำให้ต้นทุนค่าก่อสร้างโครงการต่ำ ขณะที่รถรางไฟฟ้าภูเก็ตเป็นเส้นทางเชื่อมตัวเมืองกับสนามบิน มีระยะทางยาวถึง 42 กิโลเมตร ส่วนใหญ่เป็นทางระดับดิน แต่มีบางช่วงเช่นสถานีสนามบินเป็นทางยกระดับ และช่วงผ่านเขตอำเภอถลาง 3 กิโลเมตรเป็นระดับใต้ดิน ทำให้ต้นทุนค่าก่อสร้างสูง จนต้องพิจารณาปรับรูปแบบใหม่ อาจเปลี่ยนแป็นรถเมล์พิเศษ(บีอาร์ที)แทน ส่วนที่เชียงใหม่แม้เป็นเส้นทางในเขตเมือง แต่สายทางผ่านเขตชุมชนหนาแน่นต้องทำเป็นทางระดับใต้ดิน ทำให้ต้นทุนก่อสร้างค่อนข้างสูง ซึ่งต้องหาแนวทางปรับลดค่าก่อสร้างลง  3 รถรางไฟฟ้าหัวเมือง  ฝ่าด่านหิน  ลุ้นชงครม.ปักธงอนุมัติปี 64

เป็นอุปสรรคที่ต้องฝ่าฟันเพื่อแจ้งเกิดระบบขนส่งมวลชนในจังหวัดหัวเมืองในภูมิภาค เชื่อมโยงกับโครงข่ายขนส่งทางรางที่รัฐทุ่มลงทุนครั้งใหญ่ ทั้งรถไฟทางคู่ทั่วประเทศ แนวเส้นทางรถไฟความเร็วสูงสู่แต่ละภูมิภาค 

หน้า 17 ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,640 วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563 - 2 มกราคม พ.ศ. 2564