ชูเวที ‘เกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด’ ยกระดับเกษตรกรสู่ ‘ผู้ประกอบการส่งออก’

03 ธ.ค. 2563 | 07:56 น.

ดีแทค จับมือ EXIM BANK กรมส่งเสริมฯ และมูลนิธิสำนึกรักบ้านเกิด เปิดโผผู้ชนะจากเวทีประกวดเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด ครั้งที่ 12 ภายใต้แนวคิด ยกระดับเกษตรกรสู่ “ผู้ประกอบการส่งออก”

      สินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปของไทยสร้างรายได้ให้แก่ประเทศไทยปีละ 2.2 ล้านล้านบาท หรือ 13% ของ GDP ไทย ขณะที่เฉลี่ยของโลกอยู่ที่ราว 10% ของ GDP อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาการส่งออกสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปของไทยมีส่วนแบ่งตลาดเพียง 17%  ของมูลค่าส่งออกทั้งหมดของไทย 

    ทั้งนี้สัดส่วนดังกล่าวกลับลดลงต่อเนื่องตลอดเกือบ 3 ทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งเรียกว่าสถานการณ์ "น่าห่วง" ถึงเวลาที่ประเทศไทยต้องเร่งหาทางสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าเกษตรของไทย เพื่อหา Product Champion ตัวใหม่เพิ่มขึ้น

ชูเวที ‘เกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด’ ยกระดับเกษตรกรสู่ ‘ผู้ประกอบการส่งออก’

    นายชาตรี บุญนาค รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กสก.) กล่าวว่า ประเทศไทยได้กำหนดวิสัยทัศน์ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) โดยมีเป้าหมายให้ประเทศไทยมีความมั่นคงมั่งคั่ง ยั่งยืน ก้าวสู่การเป็นประเทศพัฒนาแล้ว  นำมาซึ่งรายได้ทั้งจากในและต่างประเทศ นอกจากนี้ไทยยังเป็นประเทศที่มีศักยภาพสูงด้านการเกษตรและการผลิตอาหารที่มีคุณภาพ จึงเป็นปัจจัยสำคัญในการส่งออกสินค้าทางการเกษตรยกระดับเกษตรกรสู่ “ผู้ประกอบการ” ส่งเสริมให้เกษตรลดต้นทุนการผลิต การเพิ่มผลผลิตต่อไร่ การทำเกษตรอินทรีย์ และเพิ่มจำนวนเกษตรกรรุ่นเยาว์ (Young Smart Farmer) โดยวางเป้าหมายให้เศรษฐกิจในประเทศมีความเข้มแข็ง มีความสามารถในการแข่งขันกับประเทศต่างๆ ในตลาดโลก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :  ‘ดีแทค’ จับมือ ‘ยารา’ เปิดตัวแอพ Kaset Go คอมมูนิตี้เกษตรกรแห่งแรกในไทย

        ชูเวที ‘เกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด’ ยกระดับเกษตรกรสู่ ‘ผู้ประกอบการส่งออก’ ด้านนายบุญชัย เบญจรงคกุล ประธานกรรมการ มูลนิธิร่วมด้วยช่วยกันสำนึกรักบ้านเกิด กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการประกวดเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด ประจำปี พ.ศ.2563 เล็งเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนายกระดับเกษตรกรผ่านการส่งเสริมยกระดับเกษตรกรสู่การเป็น “ผู้ประกอบการ “ (Entrepreneurship) ภายใต้กรอบ “การเกษตรเพื่อการส่งออก” เพื่อยกระดับเกษตรกรสู่การเป็นผู้ประกอบการที่มีความพร้อมด้านการผลิตอาหารและสินค้าเกษตรที่ได้มาตรฐานสู่ระดับโลก 

“จากการประกวดในครั้งนี้ จะเห็นว่าผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเป็นผู้ชนะในครั้งนี้ ล้วนมีลักษณะเป็นผู้ประกอบการ มีการทำการเกษตรอย่างเป็นระบบ รู้ความต้องการของตลาด มีการวิจัยและต่อยอด เพื่อสร้างความแตกต่างในผลิตภัณฑ์ของตนเอง ช่วยสร้างรากฐานชุมชน สังคม และประเทศให้แข็งแรงยิ่งขึ้น” นายบุญชัย กล่าว

     

ชูเวที ‘เกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด’ ยกระดับเกษตรกรสู่ ‘ผู้ประกอบการส่งออก’ ขณะที่นายชารัด เมห์โรทรา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด(มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า ภายใต้การแข่งขันของตลาดโลกในบริบทสินค้าเกษตร “คุณภาพ” ถือเป็นจุดขายหลักในการช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดของตลาดโลก ด้วยเหตุนี้ทำให้เกษตรกรไทยจำเป็นต้องรู้จักทำเทคโนโลยีเกษตร (AgriTech) ผสานเข้ากับเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยเสริมศักยภาพทั้งในแง่การเพิ่มผลิตภาพ (Productivity) และการควบคุมคุณภาพ (Quality control) ทำให้การลงทุนมีความแม่นยำมากขึ้น ส่งผลต่อความสำเร็จของธุรกิจ โดยล่าสุดได้มีการเปิดตัวแอพ Kaset Go โดยความร่วมมือกับยารา ประเทศไทย ซึ่งเป็นชุมชนออนไลน์ของเกษตรกรตัวจริง ซึ่งมีความมุ่งหวังให้เกษตรกรได้รับข้อมูลความรู้ที่ทันสมัย เข้าใจง่าย และตรงต่อความต้องการเฉพาะราย

      ชูเวที ‘เกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด’ ยกระดับเกษตรกรสู่ ‘ผู้ประกอบการส่งออก’   นายพิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) กล่าว ปิดท้ายว่า จากปัจจุบันที่ไทยเป็นผู้ส่งออกสำคัญในหลายสินค้า ทั้งทุเรียน มันสำปะหลัง ข้าว ไก่และสับปะรด ครองส่วนแบ่งตลาดส่งออกโลกถึง 92%, 44%, 17%, 11% และ 14% ตามลำดับ นอกจากนี้สินค้าเกษตรหลายรายการของไทยยังส่งออกได้แม้ในช่วงวิกฤตโควิด-19 เช่น ผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็ง ยังเป็นที่ต้องการของตลาดและมีศักยภาพจะขยายตลาดในต่างประเทศได้อีกมาก

      ทั้งนี้ผลการตัดสินการประกวด “เกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด พ.ศ.2563” รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นางสาวเสาวลักษณ์ มณีทอง จากสวนปันแสน จังหวัดตาก เกษตรกรผู้ผลิตสมุนไพรส่งออกไปอเมริกา ศรีลังกา และออสเตรเลีย ที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของสมุนไพรไทย ด้วยการนำสมาชิกในชุมชนมาผลิต “สมุนไพรไทยไร้สารเคมี” มาตรฐานสากล รวบรวมและแปรรูป สร้างนวัตกรรมใหม่เพื่อนำสมุนไพรไทยสู่สากล   รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 นายสิทธา สุขกันท์ จากกลุ่มข้าวฅนอินทรีย์ จังหวัดพิจิตร เกษตรกรผู้ส่งเมล็ดข้าวเปลือกให้กับคู่ค้า นำไปแปรรูปเป็นแป้ง เส้นพาสต้า และราเมงเกษตรกรหนุ่มผู้ผลิตข้าวแข็งอินทรีย์แปรรูปเป็นแป้ง เส้นพาสต้า และราเมง ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศ และรองชนะเลิศอันดับ 2 นายณัฐวุฒิ จันทร์เรือง จันทร์เรืองฟาร์ม (JR Farm) จังหวัดจันทบุรี เกษตรกรผู้ส่งออกผลสด และทุเรียนแปรรูป ไปประเทศจีน สิงคโปร์ ใต้หวัน เวียดนาม