ระบบภาษีดิจิทัล ดัน “กรมสรรพากร” ผงาดคว้า “รางวัลเลิศรัฐ” 

17 ก.ย. 2563 | 09:35 น.

กรมสรรพากร คว้ารางวัลเลิศรัฐยอดเยี่ยม ของก.พ.ร. ซึ่งเป็นรางวัลเชิดชูความเป็นเลิศของหน่วยงานภาครัฐ

สำนักงาน ก.พ.ร. จัดพิธีมอบรางวัลเลิศรัฐ ประจำปี พ.ศ. 2563 รางวัลความเป็นเลิศของหน่วยงานภาครัฐ ที่บอกถึงความสำเร็จด้านการพัฒนาระบบการให้บริการประชาชน การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม และความโดดเด่นในการบริหารจัดการ

ระบบภาษีดิจิทัล ดัน “กรมสรรพากร” ผงาดคว้า “รางวัลเลิศรัฐ” 

นางสาวอ้อนฟ้า เวชชาชีวะ เลขาธิการ ก.พ.ร. เปิดเผยว่า การจัดงานพิธีมอบรางวัลเลิศรัฐในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเชิดชูเกียรติและสร้างขวัญกำลังใจให้แก่หน่วยงานที่ได้รับรางวัล มุ่งเดินหน้าพัฒนาคุณภาพการให้บริการและระบบการบริหารงานของหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งผลงานที่ได้รับรางวัลจะเป็นต้นแบบ  ที่ดีให้แก่หน่วยงานต่าง ๆ ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาระบบงานของหน่วยงานให้ดียิ่งขึ้นต่อไป  

 

ในการดำเนินงานของภาครัฐในปัจจุบันจำเป็นต้องมีการปรับตัวเพื่อให้เข้ากับยุค New Normal และปรับตัวให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี โดยการนำเทคโนโลยีและอุปกรณ์ดิจิทัลมาสนับสนุนการปฏิบัติงานเพื่อยกระดับบริการภาครัฐให้ตรงกับความต้องการของประชาชนที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

 

รวมทั้งการพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะด้านดิจิทัลที่เหมาะสมที่จะเป็นกลไกขับเคลื่อนที่สำคัญในการปรับเปลี่ยนภาครัฐเป็นรัฐบาลดิจิทัล โดยสิ่งสำคัญที่จะขับเคลื่อนและพัฒนาระบบราชการไทยให้มีประสิทธิภาพนั้น หน่วยงานภาครัฐต้องมุ่งมั่นพัฒนาการดำเนินงานให้ตอบสนองต่อความคาดหวังของประชาชนให้มากที่สุด

ระบบภาษีดิจิทัล ดัน “กรมสรรพากร” ผงาดคว้า “รางวัลเลิศรัฐ” 

สำหรับ “รางวัลเลิศรัฐ” นั้น ถือเป็นรางวัลแห่งเกียรติยศที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) มอบให้หน่วยงานภาครัฐ เพื่อเป็นการยกย่องเชิดชูหน่วยงานที่ได้มุ่งมั่นปฏิบัติราชการจนประสบความสำเร็จมีความเป็นเลิศแห่งหน่วยงานภาครัฐ โดยแบ่งรางวัลออกเป็น 3 สาขา ได้แก่ สาขาบริการภาครัฐ สาขาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ และสาขาการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม โดยมีรางวัลเลิศรัฐ จำนวน  3 ผลงาน และผลงานในระดับดีเด่น จำนวน 51 ผลงาน และผลงานในระดับดี จำนวน 144 ผลงาน

 

สำหรับผลงานของ "กรมสรรพากร" ได้รับรางวัลเลิศรัฐยอดเยี่ยมนั้น ได้มีการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานเพื่อเข้าสู่ “กรมสรรพากรดิจิทัล” ตามนโยบายการเข้าสู่รัฐบาลดิจิทัล ประเทศไทย 4.0  โดยยุทธศาสตร์  D²RIVE  ของกรมสรรพากร ในด้าน Digital Transformation เปลี่ยนกระบวนการทำงานของกรมสรรพากรทั้งหมดให้เป็นดิจิทัล นอกจากนี้เพื่อแก้ไขข้อจำกัดเรื่องจำนวนบุคลากรที่ไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้เสียภาษี ประกอบกับระยะเวลาการให้บริการที่เจ้าหน้าที่ไม่สามารถให้บริการตอบคำถามได้ตลอดเวลา ทำให้ผู้เสียภาษี

ระบบภาษีดิจิทัล ดัน “กรมสรรพากร” ผงาดคว้า “รางวัลเลิศรัฐ” 

ไม่มีความสะดวกในการสอบถามข้อมูล มีความล่าช้า หรือไม่สามารถติดต่อกรมสรรพากรได้ โดยเฉพาะในช่วงระยะเวลาสุดท้ายของการยื่นแบบแสดงรายการภาษี ส่งผลให้การชำระภาษีล่าช้า หรือชำระไม่ถูกต้องครบถ้วน  กรมสรรพากรจึงได้พัฒนา Chatbot “น้องอารี” ผู้ช่วยอัจฉริยะเรื่องภาษีสรรพากร ซึ่งเป็นเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์  (Artificial  Intelligence : AI)  ซึ่งเป็นนวัตกรรมการบริการรูปแบบใหม่ที่ช่วยตอบคำถาม ให้คำแนะนำและแก้ปัญหาให้กับผู้เสียภาษีอากรได้อย่างสะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ ตลอด 24 ชั่วโมง และสามารถให้บริการกับผู้เสียภาษีได้ครบถ้วนทุกราย

 

นอกจากนี้ กรมสรรพากร ยังให้ความสำคัญกับการยกระดับการให้บริการกับผู้เสียภาษี ด้วยการมุ่งพัฒนาระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ (e-Services) ที่สะดวก ใช้งานง่าย สามารถเข้าถึงผู้เสียภาษีทุกกลุ่มได้ทุกที่และทุกเวลา เพื่ออำนวยความสะดวก สร้างความพึงพอใจ นำไปสู่การปฏิบัติหน้าที่ทางภาษีที่ถูกต้อง โดยยึดประชาชนผู้เสียภาษีเป็นศูนย์กลาง (Taxpayer Centric) สร้างบริการที่ตรงใจประชาชน เพิ่มช่องทาง

 

การติดต่อให้มากขึ้น ทำให้ผู้เสียภาษี ได้รับความรู้ความเข้าใจข้อมูลภาษีอากร สามารถยื่นแบบแสดงรายการภาษีได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วภายในกำหนดเวลา สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษีอากรกับประชาชนได้มากขึ้น 

 

นอกจากนี้ กรมสรรพากรได้มีช่องทางการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับภาษีอากรผ่านช่องทางที่หลากหลาย เช่น Facebook Twitter Line@ เว็บไซต์ รวมถึงการสร้าง Tax Ambassador เพื่อช่วยเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารความรู้เกี่ยวกับภาษีและสร้างทัศนคติที่ดีในการเสียภาษี  มีกระบวนการออกแบบสารสนเทศอย่างเป็นระบบ โดยใช้ Big Data และ Citizen Feedback เพื่อการออกแบบข้อมูลสารสนเทศ ซึ่งได้นำแนวคิด User Experience Design คือ การเก็บข้อมูลจากประสบการณ์ของผู้ใช้งานจริง เพื่อให้ใช้งานง่าย ตรงกับความต้องการผู้เสียภาษี

สำหรับผลงานที่ได้รับรางวัลเลิศรัฐ สาขาบริการภาครัฐ คือ โครงการ “Thai Reach ไทยฤทธิ์ พิชิตความพิการ” โดยโรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น โดยมีศูนย์ให้บริการแขนขาเทียมช่วยเหลือผู้พิการด้วยนวัตกรรม 3D Printing ที่มีต้นทุนต่ำกว่าการนำเข้าจากต่างประเทศ 70 เท่า โดยปกติการผลิตแขนขาเทียมนั้นมีราคาแพง ยากแก่การผลิตในประเทศ สถานพยาบาลบางแห่งไม่สามารถซื้อมาสำรองได้ ทำให้ผู้พิการไม่สามารถเข้าถึงอุปกรณ์ต่างๆ ได้

ระบบภาษีดิจิทัล ดัน “กรมสรรพากร” ผงาดคว้า “รางวัลเลิศรัฐ” 

จนเกิดความเหลื่อมล้ำด้านคุณภาพชีวิต จึงเป็นที่มาของการรวมกลุ่มเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ในนามของกลุ่มก่อการดีไทยฤทธิ์ (Thai Reach) ที่รวมตัวกันในโรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น สร้างมือเทียมให้ผู้พิการใช้แทนมือจริงในชีวิตประจำวันได้ ผลิตโดยการใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติแห่งแรกในประเทศไทย มีน้ำหนักเบา ซ่อมแซมเองได้ง่าย มีราคาถูกลงถึง 70 เท่า โดยไม่จำกัดสิทธิ์การรักษา ฟรีโดยไม่มีเงื่อนไข และยังจัดอบรมให้กับผู้ที่สนใจทั้งในประเทศ และต่างประเทศเข้ามาศึกษาดูงาน เพื่อสร้างเครือข่ายสถานีพิมพ์อีกด้วย

 

นับเป็นนวัตกรรมบริการภาครัฐในรูปแบบใหม่ที่จะช่วยให้คนพิการสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้เป็นปกติ ลดความเหลื่อมล้ำ เป็นการนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาช่วยให้คุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้น เพื่อสร้างโอกาสแห่งความเท่าเทียมกัน

 

ในส่วนของรางวัลเลิศรัฐ สาขาการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ได้แก่ ผลงานโหล่งขอดโมเดล รูปแบบการบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการอย่างยั่งยืน "กองบัญชาการกองทัพไทย" โดยโหล่งขอดโมเดลสามารถแก้ไขปัญหาภัยแล้งและอุทกภัยซ้ำซากได้อย่างยั่งยืน และมีวิธีการจัดการน้ำอย่างเป็นระบบเพื่อให้ชุมชนมีน้ำใช้ตลอดปี ช่วยให้ชาวบ้านในพื้นที่ที่ประสบปัญหาภัยแล้งและอุทกภัยน้ำป่าไหลหลากท่วมบ้านเรือนทำลายชีวิตและทรัพย์สินของชาวบ้าน ได้รับความยากลำบาก โดยได้มีการสำรวจลักษณะการใช้น้ำ การบริหารจัดการน้ำในแต่ละพื้นที่ทุกหมู่บ้านเพื่อจัดทำแผนแก้ปัญหา สร้างฝายทดน้ำ ฝายชะลอความชุ่มชื้นตามแนวพระราชดำริ บริหารจัดการน้ำอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง

ระบบภาษีดิจิทัล ดัน “กรมสรรพากร” ผงาดคว้า “รางวัลเลิศรัฐ” 

ทำให้สามารถยกระดับชีวิตและความเป็นอยู่ของชุมชนได้ดีขึ้นพร้อมกับให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม การดูแลป่า แก้ปัญหาการบุกรุก พื้นที่ป่า ด้วยร่างพันธะสัญญาที่เป็นฉันทามติร่วมกัน เป็นกฎกติกาชุมชนในการดูแลป่า อยู่ภายใต้กฎหมาย เพื่อดูแลป่าอย่างยั่งยืน ทำให้ไม่พบปัญหาการบุกรุกป่าขึ้นอีก การมอบรางวัลเลิศรัฐให้แก่หน่วยงานภาครัฐ

 

นับเป็นก้าวสำคัญของภาคราชการ เป็นรางวัลแห่งเกียรติยศที่สะท้อนความสำเร็จในการพัฒนาการให้บริการและการพัฒนาองค์การของภาครัฐ เพื่อไปสู่ความเป็นเลิศในการปฏิบัติราชการ ที่สามารถปรับเปลี่ยนแนวคิดและวิธีการใหม่เพื่อพลิกโฉมให้ภาครัฐเป็นที่เชื่อถือไว้วางใจและเป็นที่พึ่งของประชาชนได้อย่างแท้จริง

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สรรพากร เชื่อปีหน้า จัดเก็บรายได้ตามเป้าแน่

30 ก.ย.สิ้นสุดขยายเวลายื่นภาษี ภ.ง.ด.51

พ่อค้า-แม่ค้าออนไลน์ อย่าลืมยื่นแบบภาษีเงินได้ภายใน 30 ก.ย.

กรมสรรพากร เรียกเก็บภาษีจากวัด ไม่จริง!

ประกาศแล้ว สรรพากรให้ทางเลือก"จ่ายภาษีผ่านแบงก์"

3 ขั้นตอนง่ายๆ ได้คืนภาษีเร็ว