ดิจิทัลไอดี กดปุ่มบริการ ต้นปี64

10 ก.ย. 2563 | 08:25 น.

Digital ID เดินหน้าทดสอบบริการระหว่างกลุ่มหลักทรัพย์ ประกันและสินเชื่อบัตรเครดิต-รถยนต์ ก่อนใช้จริงต้นปี 64  เล็งขยายบริการเชื่อมข้อมูลโรงพยาบาล-หนังสือเดินทาง     

หลังจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดให้ธนาคารพาณิชย์ที่เข้าทดสอบการให้บริการเปิดบัญชีเงินฝากผ่านช่องทางดิจิทัล โดยใช้การพิสูจน์และยืนยันตัวตนข้ามธนาคารผ่านแพลตฟอร์ม เนชั่นแนลดิจิทัล ไอดี (National Digital ID หรือ NDID) ในวงจำกัด ภายใต้ Regulatory Sandbox ของธปท. สามารถทดสอบการยืนยันตัวตนทางดิจิทัลข้ามธนาคารได้ในวงจำกัด โดยใช้กับการเปิดบัญชีเงินฝากเป็นบริการแรก เพื่อรองรับการใช้บริการผ่านช่องทางดิจิทัลที่สะดวกรวดเร็วมากขึ้น

 

แพลตฟอร์ม NDID เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่เชื่อมต่อระหว่างหน่วยงานที่เป็นสมาชิกในการพิสูจน์และยืนยันตัวตนของลูกค้าระหว่างกัน โดยลูกค้าที่ใช้บริการต้องให้ความยินยอม แพลตฟอร์ม NDID มีส่วนสำคัญที่จะทำให้การทำรายการหรือสมัครใช้บริการต่าง ๆ ผ่านช่องทางดิจิทัล ทั้งบริการทางการเงิน และบริการของภาคธุรกิจและภาครัฐสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยมากขึ้น

 

นายบุญสันต์ ประสิทธิ์สัมฤทธิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เนชั่นแนลดิจิทัล ไอดี จำกัดหรือ NDID เปิดเผย“ฐานเศรษฐกิจ” ว่า 2 ปีที่ NDID ก่อตั้งมา มีพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เช่น จำนวนผู้ให้บริการแต่ละกลุ่มธุรกิจแสดงความสนใจสมัครเข้ามาหลายร้อยบริษัท โดยเฟสแรกอยู่ในขั้นตอนทดสอบเช่น กลุ่มธนาคาร เพราะในหลักการของ NDID สมาชิกจะต้องผ่านเกณฑ์ทดสอบและเกณฑ์การตรวจสอบก่อน 

 

ดังนั้นผู้ที่แสดงความสนใจเข้ามาต้องรอการทดสอบ เมื่อกลุ่มแรกออกจากแซนบ๊อกซ์ของธปท. ซึ่งปัจจุบันอยู่ในช่วงของการเปลี่ยนผ่านด้วยการทดสอบของธนาคารในเรื่องการเปิดบัญชี จึงยังไม่เปิดในวงกว้าง  โดยต้องขึ้นกับธปท.ว่า จะอนุญาตขยายให้บริการเข้ามาทดสอบเพิ่มเติมหรือไม่

ดิจิทัลไอดี กดปุ่มบริการ ต้นปี64

ทั้งนี้ ปัจจุบันธนาคารได้ทดสอบเปิดบัญชีเงินฝากข้ามธนาคารเรียบร้อยแล้ว ขณะนี้กำลังขยายการทดสอบยืนยันตัวตน โดยธนาคารให้กับบริษัทหลักทรัพย์ บริษัทจัดการกองทุนรวม บริษัทประกัน และอีกกลุ่มธุรกิจคือ สินเชื่อ ซึ่งจะทำการทดสอบรอบที่สองร่วมกับธนาคาร หลังจากที่ผ่านมาได้ทดสอบรอบแรกไปแล้ว ซึ่งที่ผ่านมา ระบบการยืนยันและพิสูจน์ตัวตนบนโลกดิจิทัลเรียบร้อยแล้ว แต่ยังเหลือที่ต้องทำความเข้าใจกับผู้ใช้บริการ

 

“ปัจจุบันทั้งธนาคารและนอนแบงก์อยู่ระหว่างทดสอบการใช้ข้อมูลดิจิทัลจากเครดิตบูโร ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงผ่านระบบ NDID เพื่อนำไปวิเคราะห์สินเชื่อ ซึ่งผู้ที่อยู่ระหว่างทดสอบจะมีทั้งผู้ให้บริการสินเชื่อบัตรเครดิต และสินเชื่อรถยนต์”

ดิจิทัลไอดี กดปุ่มบริการ ต้นปี64

อย่างไรก็ตาม นอกจากทดสอบการเปิดบัญชีระหว่างธนาคารแล้ว ตอนนี้ขยายมาทดสอบการยืนยันตัวตนกับบริษัทหลักทรัพย์ บริษัทจัดการกองทุนรวม บริษัทประกันชีวิต และผู้ให้บริการสินเชื่อ เป็นการทดสอบจนกว่าทางการมั่นใจจึงจะสามารถให้บริการในวงกว้างได้

 

ปัจจุบันการให้บริการสินเชื่อที่อยู่ระหว่างทดสอบนั้น จะมีทั้งธนาคารและนอนแบงก์ ซึ่งเป็นกรณีต้องการต้องข้อเพิ่มเติมจากเครดิตบูโรและเชื่อมโยงผ่าน NDID เพื่อนำข้อมูลดิจิทัลวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทั้งสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อรถยนต์ ในการหลักขอให้รับรู้ว่าอยู่ในขั้นตอนทดสอบของกลุ่มต่างๆ ทั้งนี้เมื่อผ่านกระบวนการจึงจะสามารถเปิดเผยข้อมูล

 

สำหรับกำหนดการที่จะใช้จริง ขึ้นกับธปท.หากทุกคนปฎิบัติได้ตามกฎเกณฑ์คาดว่า จะเห็นประมาณต้นปี 2564 ซึ่งประเภทธุรกรรมเปิดบัญชีข้ามธนาคารและคาดหวังกลุ่มบริษัทหลักทรัพย์ บริษัทจัดการกองทุนรวมและบริษัทผู้ให้บริการสินเชื่อ

 

นอกจากนี้อยู่ระหว่างหารือนิติบุคคลในการให้บริการ โดยในระยะยาวยังคาดหวังจะเห็นพัฒนาการบริการข้อมูลดิจิทัลเกี่ยวกับโรงพยาบาลและหนังสือเดินทางเพราะโมเดลของ NDID ไม่ใช่เพียงการยืนยันหรือพิสูจน์ตัวตน แต่ยังสามารถเรียกเอกสารจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย

 

นายบุญสันต์กล่าวว่า ภาพของการให้บริการต้นปี 2564 ในแง่ผู้บริโภคหรือประชาชน สามารถรับบริการที่ปลอดภัยและสะดวกมากขึ้น เพราะข้อมูลดิจิทัลมีความน่าเชื่อถือสูง ส่วนผู้ให้บริการสามารถทำให้ลูกค้าได้รับบริการที่ดีด้วยต้นทุนถูกลงบนบริการดิจิทัล 

 

“โครงการ NDID ออกแบบแพลตฟอร์มทั้งทำธุรกรรม โดยไม่เจอหน้าหรือเจอนหน้าก็ได้ กรณีไม่เจอสามารถทำธุรกรรมผ่านมือถือ หรือหากไม่ต้องการเจอหน้าก็เลือกทำธุรกรรมหน้าสาขาเพื่อเก็บข้อมูลและผ่านระบบ NDIDข อข้อมูลจากที่อื่นได้เลย ซึ่งผู้ให้บริการสินเชื่อสามารถเข้าถึงฐานลูกค้าในวงกว้างและอนุมัติไว ขณะเดียวกันสามารถออกแบบระบบเป็นอัตโนมัติได้ด้วย สำหรับประเทศก็จะมีระบบดิจิทัลเต็มรูปแบบภายใต้ไทยแลนด์4.0” 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ยอดปฏิเสธบัตรเครดิตพุ่ง 40%

ME สอบผ่านทดสอบเทคโนโลยีจดจำใบหน้า

เคาะค่าบริการ NDID เชื่อมนิติบุคคล

ธปท.ย้ำยุติการใช้ดอกเบี้ย LIBOR ผลกระทบไทยวงจำกัด

 

หน้า 13 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,607 วันที่ 6 - 9 กันยายน พ.ศ. 2563