หัวเว่ย เดินแผนสร้างอีโคซิสเต็ม-เยาวชนคน ICT

30 ส.ค. 2563 | 05:47 น.

ตั้งแต่กันยายน 2561 “หัวเว่ย” ในฐานะองค์กรด้านโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้ริเริ่มกิจกรรมการแข่งขัน Huawei ICT Competition ขึ้นเป็นครั้งแรก ด้วยงบกว่า 81 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อกระตุ้นและพัฒนาศักยภาพด้านไอซีทีของเด็กไทย ภายใต้แนวคิด Connection, Glory และ Future พร้อมทั้งพัฒนาอีโคซิสเต็มด้านบุคลากร เพื่อตอบสนองความต้องการแรงงานดิจิทัลที่มีทักษะสูงที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

“ไมเคิล แมคโดนัลด์” ประธานเจ้าหน้าที่ ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและที่ปรึกษาผู้บริหาร ของหัวเว่ย เอเชีย แปซิฟิก กล่าวว่า รากฐานของอุตสาหกรรมไอซีทียุคใหม่ ประกอบด้วย คลาวด์คอมพิวติ้ง, บิ๊กดาต้า, อินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ และปัญญาประดิษฐ์ หากแต่การเติบโตและความก้าวหน้าของเทคโนโลยีขั้นสูงที่มีมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในแถบเอเชียแปซิฟิก ซึ่งมีการเติบโตของอุตสาหกรรมไอซีทีอย่างรวดเร็ว ทำให้ความต้องการทักษะแรงงานด้านไอซีที  ซึ่งปัจจุบันตลาดทักษะแรงงานขั้นสูง ยังขาดอยู่ราว 5 ล้านคน ซึ่งอนาคตความต้องการจะยิ่งมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

หัวเว่ย เดินแผนสร้างอีโคซิสเต็ม-เยาวชนคน ICT

นอกจากกิจกรรม แข่งขัน Huawei ICT Competition หัวเว่ย ยังได้ก่อตั้งโครงการต่างๆ เพื่อสร้างอีโคซิสเต็มสำหรับบุคลากรด้านไอซีที ที่ครอบคลุมทักษะด้านต่างๆ สำหรับไอซีที อาทิ Huawei ICT Academy เปิดตัว ในปี 2556 เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างสถานศึกษาและองค์กร ที่ดึงสถาบันการศึกษาระดับสูงและองค์กรชั้นนำต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมมาทำงานร่วมกันในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา โครงการนี้ได้ช่วยมหาวิทยาลัยบ่มเพาะบุคลากรด้านไอซีทีให้มีความรู้ความสามารถตรงตามที่อุตสาหกรรม ปัจจุบันดำเนินการอยู่ใน 72 ประเทศทั่วโลก โดยมีการจัดตั้งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกถึง 103 แห่ง และปีนี้ได้เพิ่มจำนวนอีก 200 แห่ง ซึ่งจะมีการฝึกอบรมและออกใบรับรองมาตรฐานวิชาชีพ ให้แก่นักศึกษาและพนักงานกว่า 10,000 คน ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

หัวเว่ย เดินแผนสร้างอีโคซิสเต็ม-เยาวชนคน ICT

หัวเว่ย ได้ทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยและพันธมิตรด้านการฝึกอบรมของหัวเว่ย (HALP – Huawei Authorized Learning Partner) ในแต่ละประเทศ เพื่อช่วยเสริมทักษะวิชาชีพให้แก่นักศึกษาและคนที่ทำงานด้านไอซีที โดย Huawei Certification ซึ่งเป็นประกาศนียบัตรมาตรฐานด้านบุคลากรที่ครอบคลุมการสอบรับรองความรู้ถึง 100 หัวข้อ และสาขาเทคนิค 22 สาขา ที่ผ่านมา ได้ออกใบรับรองนักศึกษาและพนักงานด้านไอซีทีไปแล้วกว่า 2.6 แสนคน แบ่งเป็นเอเชียแปซิฟิก 19,000 คน

หัวเว่ย เดินแผนสร้างอีโคซิสเต็ม-เยาวชนคน ICT

สำหรับรายชื่อมหาวิทยาลัยในไทย ที่ร่วมเป็นพาร์ทเนอร์กับหัวเว่ย  ได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลพระนคร, วิทยาลัยเซาท์อีสท์บางกอก, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, มหาวิทยาลัยรังสิต, มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ, มหาวิทยาลัยศรีปทุม, มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
หัวเว่ย ได้ทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยและพันธมิตรด้านการฝึกอบรมของหัวเว่ย (HALP – Huawei Authorized Learning Partner) ในแต่ละประเทศ เพื่อช่วยเสริมทักษะวิชาชีพให้แก่นักศึกษาและคนที่ทำงานด้านไอซีที โดย Huawei Certification ซึ่งเป็นประกาศนียบัตรมาตรฐานด้านบุคลากรที่ครอบคลุมการสอบรับรองความรู้ถึง 100 หัวข้อ และสาขาเทคนิค 22 สาขา ที่ผ่านมา ได้ออกใบรับรองนักศึกษาและพนักงานด้านไอซีทีไปแล้วกว่า 2.6 แสนคน แบ่งเป็นเอเชียแปซิฟิก 19,000 คน

สำหรับรายชื่อมหาวิทยาลัยในไทย ที่ร่วมเป็นพาร์ทเนอร์กับหัวเว่ย  ได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลพระนคร, วิทยาลัยเซาท์อีสท์บางกอก, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, มหาวิทยาลัยรังสิต, มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ, มหาวิทยาลัยศรีปทุม, มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
 

ล่าสุด หัวเว่ยได้ประกาศเปิดโครงการ หัวเว่ย Asia Pacific ICT Certification ให้แก่นักศึกษาหรือผู้ทำงานในสาขาไอซีที ที่เคยเข้าร่วมหรือสนใจเข้าร่วมโครงการ หัวเว่ย ICT Academy โดยจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม ถึง 30 พฤศจิกายน 2563 ผู้เข้าร่วมโครงการที่สอบผ่านโดยใช้เวลาที่น้อยที่สุดจะได้รับรางวัลตามลำดับเวลาที่ทำได้

หัวเว่ย เดินแผนสร้างอีโคซิสเต็ม-เยาวชนคน ICT

หัวเว่ยได้ตั้งเป้าว่า จะพัฒนาแรงงาน ไอซีทีให้ได้ 2 ล้านคนในอีก 5 ปีข้างหน้า เพื่อป้อนแรงงานที่มีทักษะซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการเข้าสู่ตลาด
 

หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 40 หน้า 23 ฉบับที่ 3,602 วันที่ 20 - 22 สิงหาคม พ.ศ. 2563