อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาท “แข็งค่า”ตลอดสัปดาห์นี้ –จับตา 2ปัจจัยชี้ทิศทางการเคลื่อนไหวสัปดาห์หน้า

29 ส.ค. 2563 | 00:59 น.

อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทสัปดาห์หน้า-จับตา “รายงานเศรษฐกิจการเงินเดือนก.ค.ของธปท.และสถานการการเมือง

อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทสัปดาห์หน้า-2ปัจจัยชี้ทิศทางการเคลื่อนไหว “รายงานเศรษฐกิจการเงินเดือนกรกฎาคมของธปท.และสถานการทางการเมือง

อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทสัปดาห์หน้าระหว่างวันที่ 31 ส.ค.-4 ก.ย. 2563 เคลื่อนไหวในกรอบ 31.10-31.50 บาทต่อดอลลาร์ฯ

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

-ธปท.ยันให้ความสำคัญกับนโยบายการเงินแบบยึดหยุ่น

-อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทเปิดตลาดเช้านี้ "ทรงตัว"ที่ระดับ 31.57บาท/ดอลลาร์


 

สรุปความเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ "แข็งค่าขึ้น" สอดคล้องกับทิศทางสกุลเงินเอเชียและเงินหยวน (หลังการหารือของสหรัฐฯ-จีนในเรื่องดีลการค้าเฟสแรกมีความคืบหน้า) ประกอบกับมีแรงหนุนจากปัจจัยทางเทคนิคหลังเงินบาทแข็งค่าผ่านหลายแนวสำคัญระหว่างสัปดาห์ ทั้งนี้เงินบาทยังคงแข็งค่าต่อเนื่องจนถึงปลายสัปดาห์ และแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบกว่า 1 สัปดาห์ที่ 31.16 บาทต่อดอลลาร์ฯ ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ กลับมาอ่อนค่าลง (จากที่ฟื้นตัวช่วงสั้นๆ หลังปาฐกถาของประธานเฟดเป็นไปตามที่ตลาดคาด) เนื่องจากตลาดมองว่า การเปลี่ยนมาใช้เป้าหมายเงินเฟ้อเฉลี่ยของเฟด จะทำให้เฟดคงอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำเป็นเวลานาน และจะไม่รีบปรับขึ้นดอกเบี้ยล่วงหน้าเพื่อสกัดความเสี่ยงเงินเฟ้อ 
    ในวันศุกร์ (28 ส.ค.) เงินบาทอยู่ที่ระดับ 31.16 เทียบกับระดับ 31.55 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (21 ส.ค.)

สำหรับสัปดาห์ถัดไป ระหว่างวันที่ 31 ส.ค.-4 ก.ย.2563  ธนาคารกสิกรไทยประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทที่ 31.10-31.50 บาทต่อดอลลาร์ฯ  โดยปัจจัยในประเทศที่สำคัญ ได้แก่ รายงานเศรษฐกิจการเงินเดือนก.ค. ของธปท. และสถานการณ์ทางการเมือง ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ระหว่างสัปดาห์ ได้แก่ ดัชนี ISM และ PMI ภาคการผลิต/ภาคบริการ ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร และข้อมูลการจ้างงานภาคเอกชนจาก ADP เดือนส.ค. ยอดสั่งซื้อภาคโรงงาน รายจ่ายด้านการก่อสร้างเดือนก.ค. และรายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจ (Beige Book) ของเฟด นอกจากนี้ ตลาดอาจรอติดตามดัชนี PMI ภาคการผลิต/ภาคบริการเดือนส.ค. ของจีน ยูโรโซน และญี่ปุ่นด้วยเช่นกัน