อลังการงานสร้าง จีนเดินเครื่องเต็มสูบโครงการใหญ่ในลาว

26 ส.ค. 2563 | 06:03 น.
 

กลุ่มผู้รับเหมาก่อสร้างชาวจีน ทำงานตลอดวันตลอดคืนใน ลุ่มแม่น้ำล้านช้าง-แม่โขง อันกว้างใหญ่ พร้อมกระชับมาตรการในการต่อสู้กับโรคโควิด-19 เพื่อ เร่งก่อสร้างทางรถไฟจีน-ลาว รวมทั้งโครงการก่อสร้างโรงผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำตก เสริมสร้าง แถบการพัฒนาเศรษฐกิจล้านช้าง-แม่โขง (LMC) ที่กำลังเฟื่องฟู

 

เวียงจันทน์, 24 ส.ค. (สำนักข่าวซินหัว) -- รถไฟจีน-ลาว เป็นหนึ่งในโครงการสำคัญของ แถบการพัฒนาเศรษฐกิจ (Lancang-Mekong Corridor: LMC) หนึ่งในกลุ่มบริษัทวิศวกรรมจีนที่เข้าร่วมในการก่อสร้างทางรถไฟ อันได้แก่บริษัท เพาเวอร์ไชน่า ซิโนไฮโดร บูโร 3 จำกัด หรือเรียกโดยย่อว่า “ซิโนไฮโดร 3” พยายามสุดความสามารถที่จะดำเนินการก่อสร้างในภูมิประเทศที่ยากลำบากอันประกอบด้วยภูเขาและป่าไม้ทางตอนเหนือของลาว

(เครดิตภาพ: แฟ้มภาพซินหัว ภาพสถานที่ก่อสร้างโครงการไฟฟ้าพลังน้ำน้ำเทิน1 ในแขวงบอลิคำไซ สปป.ลาว)

ฝ่ายโครงการได้จัดตั้งคณะทำงานป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาด เพื่อติดตามการดำเนินมาตรการป้องกันต่างๆ เช่น การจัดซื้อวัสดุป้องกันโรค การฆ่าเชื้อในสถานที่ก่อสร้างวันละ 2 ครั้ง สับหลีกเวลารับประทานอาหาร สร้างหอพักแยกจากกัน สร้างความตระหนักเกี่ยวกับโรคระบาด ตลอดจนจัดหาที่พักให้กับพนักงานท้องถิ่นในสถานที่ก่อสร้าง เพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19

อลังการงานสร้าง จีนเดินเครื่องเต็มสูบโครงการใหญ่ในลาว

มาตรการที่มีประสิทธิภาพเหล่านี้ทำให้การก่อสร้างทางรถไฟเป็นไปอย่างราบรื่น การขุดเจาะอุโมงค์ภูสะแนนหมายเลข 1 และอุโมงค์ต๋าหลงหมายเลข 1 เสร็จสมบูรณ์ตามแผนในเดือนก.พ. หลังจากนั้นตั้งแต่เดือนมี.ค. ถึงเดือนส.ค. การขุดเจาะอุโมงค์ต๋าหลงหมายเลข 2 และอุโมงค์อีก 3 แห่งตามเส้นทางรถไฟจีน-ลาวก็เสร็จสิ้นตามกำหนดเวลา ซึ่งเป็นการวางรากฐานอย่างเป็นรูปธรรมสำหรับทางรถไฟที่จะเปิดใช้สัญจรในปีหน้า (2564)

อลังการงานสร้าง จีนเดินเครื่องเต็มสูบโครงการใหญ่ในลาว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใกล้เป็นจริง! ประมวลภาพทางรถไฟจีน-ลาว ก่อนเปิดใช้ปลายปี 2564

ลาว-จีนตกลงดอกเบี้ยเงินกู้ โครงการรถไฟเร็วสูง เตรียมถลุง 5 เหมืองชำระคืนเงินกู้ใน 5 ปี

รถไฟความเร็วสูง "ลาว" ว้าววว! แซงหน้า "ไทย"?

อัพเดตรถไฟไทย-จีน

 

ด้านการก่อสร้างโครงการโรงไฟฟ้าน้ำเทิน 1 ซึ่งมีกำลังผลิต 650 เมกะวัตต์บนแม่น้ำสายย่อยของแม่น้ำโขงในแขวงบอลิคำไซของลาวกำลังดำเนินตามขั้นตอนอย่างเป็นระบบ

อลังการงานสร้าง จีนเดินเครื่องเต็มสูบโครงการใหญ่ในลาว

โครงการไฟฟ้าพลังน้ำ “น้ำเทิน1”  เป็นโครงการสำคัญที่รัฐบาลลาวและไทยพัฒนาร่วมกัน ดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าและสายส่งไฟฟ้าที่เกี่ยวข้องโดยบริษัทซิโนไฮโดร 3 และบริษัทเก่อโจวป้ากรุ๊ป

อลังการงานสร้าง จีนเดินเครื่องเต็มสูบโครงการใหญ่ในลาว

เจียเซี่ยงหยาง ผู้จัดการโครงการซิโนไฮโดร 3 กล่าวกับสำนักข่าวซินหัวเมื่อไม่นานมานี้ว่าโครงการดังกล่าวกำลังคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง

 

เมื่อวันที่ 26 เม.ย. บริษัทได้สร้างสถิติในลาวด้วยการผลิตคอนกรีตบดอัดขนาด 11,508 ลูกบาศก์เมตร วันที่ 8 พ.ค. คอนกรีตขนาด 13,792 ลูกบาศก์เมตรขึ้นมาทำลายสถิติปริมาณการหล่อคอนกรีตประจำวันของบริษัทในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  วันที่ 21 พ.ค. บริษัทสร้างสถิติใหม่ด้วยการหล่อคอนกรีตขนาด 15,356 ลูกบาศก์เมตรภายในวันเดียว

 

ตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา บริษัทวิศวกรรมของจีนที่ลงพื้นที่ก่อสร้างตั้งแต่เดือนธ.ค.ป่ก่อน (2562) ทำงานอย่างแข็งขันเพื่อบรรลุผลลัพธ์ตามเป้าหมาย ในส่วนของแรงงานจำนวนมากที่เดินทางจากต่างประเทศกลับมาประเทศลาว บริษัทซิโนไฮโดร3 ประสานงานรับบุคลากรเข้ามาและดำเนินการติดตามข้อมูลบุคลากรเพื่อการป้องกันการแพร่ระบาด

 

 

อลังการงานสร้าง จีนเดินเครื่องเต็มสูบโครงการใหญ่ในลาว

อลังการงานสร้าง จีนเดินเครื่องเต็มสูบโครงการใหญ่ในลาว

ขณะเดียวกัน เนื่องจากการส่งมอบอุปกรณ์บางส่วนจากต่างประเทศได้รับผลกระทบจากโรคระบาด บริษัทจึงพยายามประสานงานอย่างเต็มที่ และได้รับอุปกรณ์ผ่านการขนส่งทางอากาศก่อนที่ลาวจะปิดพรมแดนในที่สุด

 

นอกจากนี้ บริษัทยังติดต่อสื่อสารกับผู้ลงทุนโครงการและหน่วยงานรัฐบาลที่เกี่ยวข้อง เพื่อรับมือมาตรการปิดประเทศในลาว อันก่อให้เกิดความยุ่งยากในการจัดหาอุปกรณ์และวัสดุ ทำให้มั่นใจว่าการก่อสร้างดำเนินไปอย่างราบรื่น

 

เมื่อเผชิญกับตารางโครงการที่รัดตัวเนื่องจากฤดูฝนในลาวปีนี้เริ่มต้นค่อนข้างเร็ว เจ้าหน้าที่ด้านเทคนิคของจีนจึงทำการตรวจสอบรายเละเอียดและปรับปรุงแผนการก่อสร้างตามสถานการณ์จริง

 

“ในแนวหน้าของการป้องกันและควบคุมโรคระบาด เราต้องเตรียมพร้อมตลอดเวลา...เราไม่ควรหย่อนยานในการรับมือเหตุฉุกเฉินใด ๆ ก็ตามที่อาจเกิดขึ้น” หลี่ซวีเผิง ผู้จัดการด้านความปลอดภัยของโรงไฟฟ้าพลังน้ำน้ำอู1 กล่าว ซึ่งโรงไฟฟ้าแห่งนี้เป็น 1 ใน 7 โรงไฟฟ้าพลังน้ำจากน้ำตกของแม่น้ำอู ที่พัฒนาโดยบริษัทพาวเวอร์ไชน่า บนแม่น้ำสาขาที่ใหญ่ที่สุดของแม่น้ำโขงในลาว