ติดตั้งแล้ว!คานสะพาน“ถนนพระราม2” หลังรอมา 50ปี

23 ส.ค. 2563 | 08:22 น.

“กรมทางหลวง” แจ้ง เบี่ยงการจราจร บนถนนพระราม 2 กม.34 ฝั่งขาเข้า  เพื่อติดตั้งคาน แนะหลีกเลี่ยงวันและเวลาดังกล่าว เผยมีความคืบหน้าไปมาก หลัง ล่าช้ามากว่า 50ปี

 

 

 

"กรมทางหลวง" เริ่ม ติดตั้ง คานสะพาน บนถนนพระราม 2 หลังก่อสร้างล่าช้า รอมานานกว่า 50ปี จนถูกขนานนามว่าเป็น”ถนนเจ็ดชั่วโคตร” จากประชาชนผู้สัญจรและอยู่อาศัย จากความล่าช้า  ส่งผลกระทบต่อการเดินทาง เกิดการร้องเรียนและถึงขั้น ย้ายที่อยู่อาศัยขายบ้านหนี  จากผลกระทบฝุ่นพิษ คุณภาพชีวิตลดลงต้อง ใช้เวลาเดินทางนาน หลายชั่วโมง สูญความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจสูง

 กระทั่งนายศักดิ์สยาม ชิดชอบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม สั่งการให้เร่งแก้ไขด่วน    สำหรับ   โครงการปรับปรุงทางหลวงหมายเลข 35 ตอนทางแยกต่างระดับบางขุนเทียน-เอกชัย รวมเป็นเงินค่าก่อสร้าง 2,300 ล้านบาท การปรับปรุงถนนพระราม 2 กม.16 ข้อต่อสำคัญในการรับปริมาณรถลงสู่ภาคใต้    
 

ติดตั้งแล้ว!คานสะพาน“ถนนพระราม2” หลังรอมา 50ปี

ล่าสุด กรมทางหลวง โดย สำนักก่อสร้างสะพาน   ระบุว่า ขณะนี้ อยู่ระหว่างดำเนินการติดตั้งคานสะพานในโครงการก่อสร้างสะพานกลับรถพร้อมทางขนาน บนทางหลวงหมายเลข 35 (ถนนพระราม 2) ที่บริเวณ กม.34 จึงมีความจำเป็นต้องเบี่ยงการจราจรฝั่งขาเข้ากรุงเทพฯ ในช่องทางหลัก ออกทางคู่ขนาน ที่ กม.34  ด้านขวาทาง และจากช่องทางขนานเข้าช่องทางหลัก ที่ กม.33  ด้านขวาทาง ในวันที่ 27 สิงหาคม 2563 ระหว่างเวลา 20.00 น. - เวลา 05.00 น. ของวันที่ 28 สิงหาคม 2563

ติดตั้งแล้ว!คานสะพาน“ถนนพระราม2” หลังรอมา 50ปี

ในระหว่างดำเนินการอาจทำให้ไม่ได้รับความสะดวกแก่ผู้ใช้รถใช้ถนนและประชาชนทั่วไป กรมทางหลวง  ต้องขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ โอกาสนี้ และขอให้ประชาชนใช้เส้นทางอย่างระมัดระวัง หากมีความจำเป็นต้องเดินทางโปรดระมัดระวังและเผื่อระยะเวลาในการเดินทาง รวมทั้งขอความร่วมมือผู้ใช้ทางปฏิบัติตามป้ายเตือน ป้ายแนะนำทางเลี่ยง และสัญญาณจราจรที่ติดตั้งไว้ เพื่อความสะดวกและปลอดภัยของผู้ใช้ทาง 

 

 

         

 

 

แหล่งข่าวกรมทางหลวงกล่าวเสริมว่า สำหรับ ความเป็นมาของถนนเจ็ดชั่วโคตร  ถนนพระราม 2 หรือทางหลวงหมายเลข 35 เป็นเส้นทางหลักมุ่งสู่ภาคใต้  มีปริมาณรถกว่า 150,000 คันต่อวัน และแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับเส้นทางนี้  เป็นเส้นทางตรง ร่นระยะเวลาการจากฝั่งธนบุรีมายังฝั่งพระนคร ได้  มากกว่า  ทางหลวงหมายเลข 4 หรือ ถนนเพชรเกษม ที่มีข้อด้อย เป็นถนนสายเก่า เขตทางเล็กแคบ อีกทั้งยังต้องเดินทางอ้อมเมืองที่ยาวกว่า แถมมีปริมาณรถคับคั่ง   ส่งผลให้ การใช้รถ จึงมุ่งสู่ถนนพระราม2ค่อนข้างสูง เมื่อ คนเริ่มหันมาใช้เส้นทางบนถนนพระราม2 มากกว่า เส้นทางของถนนเพชรเกษม  ส่งผลให้การจราจรติดขัด จำเป็นต้องขยายเส้นทางพิเศษเพื่อรองรับปริมาณรถที่เพิ่มขึ้น ลดระยะเวลาการจราจรที่ติดขัด ลดระยะเวลาและเพิ่มความคล่องตัวในการเดินทาง

ข่าวที่เกี่ยวเนื่อง

 “ศักดิ์สยาม” เตรียมสแกนความพร้อม ถ.พระราม2 ลุยสร้างทางยกระดับ

"อิตาเลียนไทย"เขี่ยจีน คว้าสัญญา 3 ด่วนพระราม 3 – ดาวคะนอง

“คมนาคม”ตรวจงานก่อสร้าง ทางยกระดับพระราม 2 แก้รถติด

 

แต่การก่อสร้างมักมีอุปสรรค บาง คนในพื้นที่บอกว่า เป็นอาถรรพ์ ศาลเจ้าแม่งูจงอาง ขณะ  คนอีกกลุ่มบอกว่า เป็นความบกพร่องของผู้รับเหมา ข้าราชการ ของกรมทางหลวง  ที่ ผู้รับเหมา ตัดราคา จนไม่สามารถทำงานได้และเปลี่ยนผู้รับเหมารายใหม่ มาทำงานหลายราย กระทั่ง การก่อสร้างปรับปรุงขยายถนนเส้นนี้ยาวนาน กว่า50ปีจนถูกขนานนามว่าถนนเจ็ดชั่วโคตรดังกล่าว สร้างความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจ ในภาพรวม สูญเสียพลังงานอย่างมหาศาลจากปัญหารถติด   

 

 

 

 

 

 

ถนนเจ็ดชั่วโคตร ถนนพระราม2 เริ่ม ต้นก่อสร้าง  ครั้งที่แรก เมื่อปี  2513-2516 มีการก่อสร้างถนน 2 เลน สวนทางกัน  ซึ่งแล้วเสร็จและเปิดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2516  ซึ่งสามารถย่นระยะเวลาการเดินทางมากกกว่า ถนนเพชรเกษม เส้นทางหลักสู่ภาคใต้เดิม ได้มากถึง 40 กม.ครั้งที่ 2 ปี 2532 – 2537 มีการขยายถนนจาก 2 เลนเป็น 4 เลน พร้อมก่อสร้างทางแยกต่างระดับ 4 แห่ง ได้แก่ บางขุนเทียน สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และวังมะนาว ต่อมา ครั้งที่ 3 ปี  2539 – 2543 ถือเป็นงานก่อสร้างครั้งใหญ่ ขยายถนนช่วงสามแยกบางปะแก้วถึงทางแยกต่างระดับบางขุนเทียน เป็น 14 เลน แบ่งออกเป็นทางหลัก 8 เลน และทางขนานข้างละ 3 เลนครั้งที่ 4  ปี 2544 – 2546 ขยายช่องจราจรจาก 4 เลน เป็น 8 และ 10 เลนตามลำดับ ระหว่างทางแยกต่างระดับบางขุนเทียน–นิคมอุตสาหกรรมสมุทรสาคร ความยาวรวมประมาณ 22 กม. เพื่อรองรับการจราจรที่เพิ่มขึ้นจากการขยายการก่อสร้างช่วงดาวคะนอง และถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันตก จากบางบัวทอง-บางขุนเทียน ตอน 1, 2 และ 3 ให้สอดคล้องต่อเนื่องกันตลอดสาย 

ขณะ ครั้งที่ 5 ก่อสร้างระหว่างปี 2549 – 2552 เพื่อเป็นการรองรับปริมาณการจราจรที่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์และเทศกาล จึงมีการก่อสร้างโครงการส่วนต่อขยายจนถึงทางแยกต่างระดับวังมะนาว จากเดิม 4 เลน เป็น 6–8 เลนครั้งที่ 6 ปี  2561 – 2563 โครงการการขยายถนนพระรามที่ 2 ระหว่างแยกต่างระดับบางขุนเทียน-แยกเอกชัย จาก 10 เลน เป็น 14 ช่องจราจร หรือ 14 เลน

 

นอกจากนี้ ยังมี โครงการก่อสร้างอื่น ๆ ที่คาบเกี่ยวกับถนนเส้นนี้อีกหลายโครงการ ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างขณะนี้ เช่น ทางยกระดับบางขุนเทียน –มหาชัย เริ่มก่อสร้างตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2562 - ปี 2565

ทางพิเศษสายพระราม 3 –ดาวคะนอง –วงแหวนรอบนอกตะวันตก  ที่เริ่มก่อสร้างตั้งแต่กลางเดือนมิถุนายน 2563 ไปจนถึงปี 2566 และในอนาคตจะมีการก่อสร้าง มอเตอร์เวย์ หมายเลข 8 (นครปฐม-ปากท่อ/ปากท่อ-ชะอำ) ซึ่งยังไม่นับรวมงานซ่อมแซมพื้นผิว ก่อสร้างสะพานกลับรถ