น้องเล็กจากยะลา"ทุเรียนสะเด็ดน้ำ"     

25 ก.ค. 2563 | 07:19 น.

ข่าวเศรษฐกิจ อัพเดทข่าววันนี้ ราคาทอง น้ำมัน ข่าวตลาดหุ้น การเงิน ธุรกิจ อสังหาริมทรัพย์ การตลาด เจาะลึกแบบตรงประเด็น | ฐานเศรษฐกิจ


ทุเรียนยะลา"น้องเล็ก"ของเมืองไทย มีดีที่"สะเด็ดน้ำ"  เตรียมยื่นขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ :Geographical Indications หรือ GI แล้ว ผู้ว่าฯสั่งเกษตร-พาณิชย์ยกระดับตามยุทธศาสตร์"เมืองทุเรียนแห่งภาคใต้ตอนล่าง"      
    

ด้วยลักษณะพื้นที่ของ อ.กรงปินัง อ.ธารโต อ.บันนังสตา จังหวัดยะลา มีสภาพเป็นภูเขาลาดชัน จึงมีการปลูกทุเรียนบริเวณไหล่เขา ด้วยสภาพแวดล้อม เนื้อที่เพาะปลูกที่ห้อมล้อมด้วยผืนป่าฮาลาบาลา หุบเขา สายน้ำ ทะเลสาบ และทะเลหมอก ภูมิอากาศ แร่ธาตุในดิน ระบบน้ำจึงส่งผลให้คุณภาพของทุเรียนในพื้นที่แถบนี้แตกต่างจากที่อื่น ๆ 
  น้องเล็กจากยะลา\"ทุเรียนสะเด็ดน้ำ\"         

ลักษณะเด่นของทุเรียนสะเด็ดน้ำ ภายนอกและภายในของเนื้อทุเรียน ซึ่งมีลักษณะเปลือกบาง เนื้อทองไม่ติดเปลือก เนื้อทุเรียนแห้ง เหนียวนุ่ม รสชาติหอมหวาน โดยเฉพาะทุเรียนหมอนทอง..ซึ่งผลผลิตและลักษณะของทุเรียนที่มีเนื้อแห้ง กรอบนอกนุ่มใน รสชาติหอมหวานมัน จนได้รับฉายาว่า“ทุเรียนสะเด็ดน้ำ”
    

นายชัยสิทธิ์ พานิชพงศ์  ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา กล่าวว่า จังหวัดยะลา ได้กำหนด 1 ในยุทธศาสตร์จังหวัด คือ ยะลาเมืองทุเรียน ( Yala Durian City) กำหนดเป้าหมายให้จังหวัดเป็นเมืองทุเรียนแห่งภาคใต้ตอนล่าง โดยมอบหมายให้สำนักงานเกษตรจังหวัดยะลา เข้าไปช่วยเหลือเกษตรกรในการส่งเสริมและพัฒนาการผลิตทุเรียนแบบครบวงจร ตั้งแต่พัฒนาขีดความสามารถของชาวสวนทุเรียน รวมกลุ่มบริหารจัดการทุเรียน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตและพัฒนาคุณภาพ และมอบหมายให้ สำนักงานพาณิชย์จังหวัดยะลา เข้ามาช่วยในการวางแผน จัดหาตลาดเพื่อจำหน่ายผลผลิตของเกษตรกร เป็นการประสานพลัง เกษตรช่วยผลิต  พาณิชย์ช่วยขาย    
    

ช่องทางการกระจายผลผลิตทุเรียนของจังหวัดยะลาในปัจจุบัน มีหลักๆ 3 ช่องทางคือ
    

1.การกระจายทุเรียนภายในประเทศ ซึ่งจะเห็นได้จากมี"ล้ง" รับซื้อทุเรียนมากมายบริเวณสี่แยกมลายูบางกอก เขต อ.เมืองยะลา  โดยเฉพาะในช่วงนี้ที่ผลผลิตทุเรียนออกสู่ท้องตลาด บริเวณนี้จะคลาคล่ำไปด้วยพ่อค้าแม่ค้าที่มาซื้อขายทุเรียน
    

2.การส่งออกไปยังต่างประเทศ ทั้งในรูปผลสด และ การแปรรูปเป็นทุเรียนแช่แข็ง และ 3.การแปรรูปทุเรียน ของกลุ่มเกษตรกร ต่างๆ
          

นอกจากนี้ ยังมี Young Smart Farmer ของจังหวัดยะลา ที่ผลิตและจำหน่ายทุเรียนส่งถึงผู้บริโภคโดยตรงอีกด้วย

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

เปิดล้ง รับซื้อทุเรียนคุณภาพ เสริมเศรษฐกิจชายแดนใต้

“สกายวอล์ค” ทะเลหมอกอัยเยอร์เวง แลนด์มาร์คใหม่ อ.เบตง

www.เยียวยาเกษตรกร.com ธ.ก.ส. ยะลา จ่ายเงินเยียวยา 5,000 บาทแล้ว


น้องเล็กจากยะลา\"ทุเรียนสะเด็ดน้ำ\"          

น้องเล็กจากยะลา\"ทุเรียนสะเด็ดน้ำ\"     

นายจำนงค์ เพชรอนันต์ เกษตรจังหวัดยะลา กล่าวว่า จังหวัดยะลามีพื้นที่ปลูกทุเรียน 73,890 ไร่ พื้นที่ให้ผลผลิตแล้ว 53,621 ไร่ คาดว่าในปีนี้จะมีผลผลิต 50,031 ตัน โดยผลผลิตทุเรียนของจังหวัดยะลา ออกตั้งแต่ปลายเดือนมิถุนายน ถึงเดือนกันยายน เป็นทุเรียนที่ออกสู่ตลาดเป็นลำดับท้ายสุดของประเทศ สำนักงานเกษตรจังหวัดยะลา ยังคงเน้นย้ำให้พี่น้องเกษตรกรให้ความสำคัญกับเรื่องของคุณภาพของทุเรียน เพื่อสามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรได้ในระยะยาว
    

นางผุสดี จ๋ายเจริญ พาณิชย์จังหวัดยะลา กล่าวว่า ในปี 2563 ปริมาณผลผลิตทุเรียน รวม 53,031 ตัน ทาง จังหวัดยะลาได้ใช้การตลาดนำการผลิต แบ่งจำหน่ายทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศจีน ฮ่องกง เกาหลี และมาเลเซีย ซึ่งผลผลิตทุเรียนในจังหวัดยะลา สามารถสร้างรายใด้ให้กับเกษตรกรกว่าสองพันล้านบาทต่อปี

น้องเล็กจากยะลา\"ทุเรียนสะเด็ดน้ำ\"     

น้องเล็กจากยะลา\"ทุเรียนสะเด็ดน้ำ\"     

ที่มา สปชส.ยะลา