เอกชนเสนอฟื้น "ชิม ช้อป ใช้" กระตุ้นเศรษฐกิจ ก่อนธุรกิจหมดสายป่าน

10 ก.ค. 2563 | 10:23 น.

"กอบศักดิ์ ภูตระกูล" เผยผลประชุม ระหว่างนายกรัฐมนตรี กับ ทีมที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจ ระบุ เอกชนเสนอฟื้นโครงการ "ชิม ช้อป ใช้" พร้อมแนะอีกหลายมาตรการ ก่อนธุรกิจจะหมดสายป่าน

วันนี้ (10 ก.ค.63) พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมร่วมกับ คณะกรรมการที่ปรึกษาด้านแนวทางการช่วยเหลือและฟื้นฟูเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดโควิด 19 ที่ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคส่วนต่างๆเข้าร่วมประกอบด้วย 

เอกชนเสนอฟื้น "ชิม ช้อป ใช้" กระตุ้นเศรษฐกิจ ก่อนธุรกิจหมดสายป่าน

นายกรัฐมนตรี , ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค) , เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ,ประธานการกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย  , ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย , ประธานสภาธุรกิจตลาดทุนไทย , ประธานสภาธุรกิจตลาดทุนไทย , ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย , ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ , ประธานสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย , ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย

เอกชนเสนอฟื้น "ชิม ช้อป ใช้" กระตุ้นเศรษฐกิจ ก่อนธุรกิจหมดสายป่าน

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เอกชนไม่ปลื้มทีมศก.ใหม่

ส่งออกระส่ำ เอกชนแห่ลดเป้า ทั้งปีติดลบหนัก

การใช้จ่ายภาครัฐความหวังเดียวเคลื่อนจีดีพีปี 2563

ผวาวิกฤติลึก งบฉุกเฉินไม่พอรับมือ แนะเติมสภาพคล่องช่วยโควิด

นายปิติ ตัณฑเกษม นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ นายสุพัฒนาพงษ์ พันธ์มีเชาว์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (เลขานุการ) นางณัฐฎ์จารี อนันตศิลป์ (ผู้ช่วยเลขานุการ) ศาสตราจารย์นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

โดยมีวาระการหารือเรื่อง  1. รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจ และกรอบการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในช่วงที่เหลือของปี 2563 2. การช่วยเหลือและฟื้นฟูวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ได้รับผลกระทบจาก Covid-19

ภายหลังการประชุม นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง แถลงภายหลังการประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านแนวทางการช่วยเหลือและฟื้นฟูเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดโควิด-19 ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เป็นประธานในช่วงเช้าวันนี้ว่า ฝ่ายภาคเอกชนมีข้อเสนอให้จัดตั้งศูนย์ฟื้นฟูเศรษฐกิจจากโควิด-19 รวมถึงแนวทางช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ด้วยการลดภาระ เช่น การขยายเวลาพักชำระหนี้ การเสริมสภาพคล่อง เป็นต้น พร้อมกับกระตุ้นการท่องเที่ยววันธรรมดา และส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรอง 

เอกชนเสนอฟื้น "ชิม ช้อป ใช้" กระตุ้นเศรษฐกิจ ก่อนธุรกิจหมดสายป่าน

“นอกจากนั้น ยังเสนอให้นำโครงการ ชิม ช้อป ใช้ มาดำเนินการอีกครั้งเพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ”นายกอบศักดิ์ กล่าว

นายกอบศักดิ์ ระบุว่า หลังจากที่รัฐบาลสามารถควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ได้ดีในระดับหนึ่ง ที่ประชุมฯจึงมีข้อเสนอให้มีการจัดตั้งศูนย์ฟื้นฟูหลังโควิด ซึ่งเป็นแนวคิดที่ต้องการช่วยเหลือและฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างเป็นระบบ เน้นการแก้ปัญหาปากท้องของประชาชน

"ขณะนี้ประชาชนมีปัญหาสภาพคล่อง สายป่านไม่เพียงพอเพื่อให้เดินหน้าต่อไปได้ จึงเป็นที่มาของแนวคิดที่จะจัดตั้งศูนย์ในลักษณะเดียวกัน โดยเน้นเศรษฐกิจ และช่วยกันปลดล็อกแต่ละเรื่องให้เดินไปอย่างเป็นระบบ เน้นการฟื้นฟูปากท้องของประชาชน"นายกอบศักดิ์ กล่าว

นอกจากนี้ ที่ประชุมได้มีการหารือมาตรการช่วยเหลือ SMEs โดยมีข้อเสนอช่วยลดภาระผู้ประกอบการ ด้วยการขยายเวลาชำระหนี้ไปถึงเดือน ต.ค. และเพิ่มสภาพคล่องผ่านกองทุน SMEs ที่จะมีการจัดตั้งขึ้น ซึ่งเรื่องนี้จะมีการนำเสนอคณะรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ (ครม.เศรษฐกิจ) เพื่อพิจารณาต่อไป

รวมทั้งยังมีข้อเสนอให้เพิ่มวงเงินค้ำประกันสินเชื่อของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ส่งเสริมให้ SME สามารถเข้าร่วมเสนองานจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ และการปลดล็อกแก้ไขกฎหมายที่เป็นอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจ

เอกชนเสนอฟื้น "ชิม ช้อป ใช้" กระตุ้นเศรษฐกิจ ก่อนธุรกิจหมดสายป่าน

"ในที่ประชุมไม่ได้มีการหารือเรื่องการช่วยเหลือเงินเยียวยาเพิ่มเติม ซึ่งการแก้ปัญหาต้องมองตั้งแต่จุดเริ่มต้นจนถึงจุดสุดท้ายว่ามีผลกระทบอย่างไรบ้าง ในขณะนี้บางธุรกิจสายป่านกำลังหมด จึงต้องหาแนวทางประคับประคอง หรือกระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างไรบ้าง"นายกอบศักดิ์ กล่าว

อีกทั้งได้มีการหารือถึงการส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยเน้นให้มีการท่องเที่ยวในช่วงวันธรรมดาให้มากขึ้น มีการหารือถึงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรอง และโครงการชิม ช็อป ใช้ เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายของประชาชน รวมถึงการริเริ่มพัฒนาแพลตฟอร์มจองโรงแรมในประเทศซึ่งเป็นของคนไทยขึ้นมา และการดูแลโรงแรมบางแห่งที่ไม่สามารถเข้าถึงความช่วยเหลือของภาครัฐ

นายกอบศักดิ์ กล่าวอีกว่า สถานการณ์โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจทั่วโลกอย่างมาก โดยเฉพาะไตรมาสที่ 2 ซึ่งในส่วนของประเทศไทยตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆในช่วงเดือน เม.ย.ถึง พ.ค.ทั้งเรื่องการส่งออก กำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรม และตัวเลขบริโภค ติดลบทุกตัว และส่งกระทบรุนแรงกว่าวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้งเมื่อปี 40

อย่างไรก็ตาม เชื่อมั่นว่าเมื่อผ่านไตรมาสที่ 2 ไปแล้ว ตัวเลขต่าง ๆ จะค่อยๆ ดีขึ้น เป็นผลจากมาตรการที่รัฐบาลทยอยประกาศออกมา โดยต้องเน้นดูแลการท่องเที่ยวเป็นพิเศษด้วย