แมนพาวเวอร์ ผนึกพันธมิตร วางมาตรฐานใหม่การทำงาน

11 พ.ค. 2563 | 07:52 น.

แมนพาวเวอร์กรุ๊ป จับมือ อเด็คโก้ กรุ๊ป และบริษัท รันด์สตัด ปลุกมาตรฐานแรงงานปลอดภัย รับมือโควิดดิสรัปชั่น เปลี่ยนสู่ “ความปกติในรูปแบบใหม่” (New Normal) ของการทำงาน

ภายหลัง 3 องค์กรด้านตลาดแรงงานระดับโลก ประกอบด้วย บริษัท แมนพาวเวอร์กรุ๊ป กับ อเด็คโก้ กรุ๊ป และบริษัท รันด์สตัด (Randstad NV)  ได้ร่วมลงนามประกาศความร่วมมือ การเตรียมความพร้อมสำหรับการกำหนดมาตรฐานใหม่ในสถานที่ทำงาน หลังเหตุการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ หรือ COVID-19 ส่งผลภาคธุรกิจอยู่ในภาวะล็อกดาวน์มากว่า 3 เดือน  ล่าสุด แมนพาวเวอร์กรุ๊ปและพันธมิตรเดินหน้าผลักดันมาตรฐานการปฏิบัติงานของแรงงานให้มีความปลอดภัยสูงสุดในยุค New Normal ให้เกิดเป็นรูปธรรมตามมาตรฐานสากล  เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนและพลิกฟื้นเศรษฐกิจ เสริมภูมิแรงงานทั่วโลกรับมือไวรัสบนมาตรฐานความปลอดภัยสูงสุด

รายงานข่าวจาก แมนพาวเวอร์กรุ๊ป จากการศึกษาและรวบรวมข้อมูลในการเตรียมความพร้อมขององค์กรธุรกิจและภาคแรงงาน ในการกลับมาทำงานอย่างปลอดภัย ท่ามกลางความปกติในรูปแบบใหม่ (New Normal) โดยมีการจำกัดความหมายรูปแบบใหม่นี้ว่า เป็นการใช้ชีวิตแบบใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และจะเป็นเรื่องปกตินับต่อจากนี้ไป

ภายหลังทั่วโลกเกิดวิกฤตโรคระบาดไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ หรือ COVID-19 นับเป็นความท้าทายที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนสำหรับทุกคนและเศรษฐกิจทั่วโลก โดยรัฐบาลแต่ละประเทศได้กำหนดมาตรการสนับสนุนทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ เพื่อช่วยเหลือธุรกิจและแรงงานทั่วโลก ทั้งนี้ กลุ่มธุรกิจทั้งขนาดเล็กและใหญ่มีความพยายามต่อสู้อย่างหนักเพื่อเอาตัวรอดในภาวะวิกฤตนี้  มีผู้คนจำนวนมากกำลังจะตกงานและเผชิญกับความไม่แน่นอนทางการเงิน  ปัจจุบัน ยังไม่มีวี่แววว่าโรคระบาดครั้งนี้จะจบลงในเร็ววันนี้และมีการคาดการณ์ว่าจะส่งผลกระทบต่อเนื่องอย่างนานไปอีกหลายปี แต่สิ่งหนึ่งที่เปลี่ยนแปลงไปในวันนี้คือ โลกของการทำงานจะไม่มีวันเหมือนเดิมอีกต่อไป

อย่างไรก็ตาม เพื่อจำกัดภาวะการถดถอยทางเศรษฐกิจและผลกระทบต่อความสามารถในการหาเลี้ยงชีพของคน ตลาดแรงงานและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดต้องเร่งปรับตัวให้เข้ากับความเป็นจริงใหม่ได้โดยเร็ว ความปกติในรูปแบบใหม่ที่มีการเว้นระยะห่างทางกายภาพ (มีความหมายเหมือนกับการเว้นระยะห่างทางสังคมตามวัตถุประสงค์ของรายงานฉบับนี้) และมาตรการที่เข้มงวดอื่นๆ จะกลายเป็นส่วนสำคัญของกระบวนการในที่ทำงานทั้งหมดสำหรับระยะเวลาที่กำลังจะมาถึงนี้ พร้อมยังได้รวมการเตรียมความพร้อมเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในการทำงานซึ่งครอบคลุมการทำงานทางไกลด้วย ดังนั้น สิ่งจำเป็นที่ต้องทำอย่างเร่งด่วน คือ การเตรียมความพร้อมอย่างเต็มที่เพื่อให้คนกลับมาทำงานอย่างรวดเร็วและปลอดภัยเมื่อถึงเวลาเหมาะสม 

ในจังหวะเวลาที่เหมาะสมมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อเศรษฐกิจ การประมาณการสำหรับเศรษฐกิจของเยอรมนีบ่งชี้ว่า ถ้ามีการล็อคดาวน์เพิ่มหนึ่งสัปดาห์ จีดีพีจะลดราว 0.5% ต่อปี ซึ่งหมายถึงจะมีคนตกงานเพิ่มขึ้นและคนงานจะขาดรายได้จำนวนมาก จังหวะเวลาจะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศและภาคส่วน ทั้งนี้ ยังขึ้นอยู่กับการเรียนรู้จากลำดับขั้นของโรคระบาดทั่วโลก ในส่วนการจัดระเบียบและทำให้คนกลับมาทำงานอย่างปลอดภัยหลังจากโรคระบาดหยุดชะงักลงเป็นความท้าทายที่สำคัญยิ่ง

การหลีกเลี่ยงการติดเชื้อระลอกสอง เป็นข้อพิจารณาสำคัญประการหนึ่ง ความร่วมมือและการประสานงานอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ระหว่างผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ ตั้งแต่นายจ้างและรัฐบาลไปจนถึงสหภาพแรงงาน สถาบันและรวมถึงลูกจ้าง เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือกับความปกติในรูปแบบใหม่ในการทำงาน เพื่อความแน่นอนและปลอดภัย  

ดังนั้น จึงจำเป็นต้องร่วมแบ่งปันวิธีการปฏิบัติที่ได้ผลระหว่างประเทศและอุตสาหกรรมต่าง ๆ และต้องสร้างช่องทางใหม่ๆ เพื่อการดำเนินมาตรการที่มีประสิทธิภาพเป็นไปอย่างรวดเร็ว หากไม่มีกระบวนการและแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนแล้ว ผู้คนแรงงานอาจจะกังวลเกี่ยวกับสุขภาพของตัวเองเมื่อต้องกลับมาทำงาน รวมทั้งภาคธุรกิจ ร้านค้าอาจจะเกิดความลังเลที่จะกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้งด้วย
 

ความตระหนักในเรื่องเร่งด่วนนี้ อุตสาหกรรมที่ให้บริการเกี่ยวกับทรัพยากรมนุษย์ 3 องค์กร ประกอบด้วย บริษัท แมนพาวเวอร์กรุ๊ป, อเด็คโก้ กรุ๊ป และบริษัท รันด์สตัด (Randstad NV) ร่วมลงนามประกาศความร่วมมือ สู่การเตรียมความพร้อมสำหรับการกำหนดบรรทัดฐานใหม่ในสถานที่ทำงานหลังเหตุการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือ COVID-19  นับเป็นการผนึกความร่วมมือครั้งสำคัญจาก 3 องค์กร เพื่อช่วยให้บริษัทและพนักงานสามารถกลับมาปฏิบัติงานอย่างปลอดภัยในระยะเวลาที่เหมาะสม

 

3 องค์กร ได้ร่วมกันสนับสนุนกระบวนการในการเตรียมความพร้อมสำหรับความปกติรูปแบบใหม่ (New Normal) และเร่งให้แรงงานกับมาทำงานอย่างปลอดภัย  นอกจากนี้ กลุ่มนายจ้าง  สหภาพการค้า และองค์กรเอกชนทั้งหมดจะได้รับคำเชิญให้เข้ามาร่วมมือกัน  พร้อมให้ภาครัฐช่วยสนับสนุนการดำเนินการสร้างมาตรฐานครั้งนี้

ภาพรวมผลกระทบทางเศรษฐกิจจากวิกฤติการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า (COVID-19)  ได้ส่งผลและสร้างความเสียหายให้กับหลายประเทศ ข้อมูลระบุว่า ชาวอเมริกัน 3.3 ล้านคน ยื่นขอรับเงินชดเชยการว่างงานเมื่อสัปดาห์ที่สามของเดือน มีนาคม และมีการยื่นขอเพิ่มอีก  6.9 ล้านคนในสัปดาห์ถัดมา  ตามด้วย 6.6 ล้านคนของต้นเดือนเมษายน (4 เม.ย) ที่ผ่านมาสถิติการยื่นขอเงินชดเชยก่อนเกิดวิกฤตครั้งนี้ปี 2525 มีการยื่นชดเชยต่อสัปดาห์สูงสุดอยู่ที่ 6.9 แสนราย  นับเป็นตัวเลขสูงสุดที่เคยเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์  

 

นอกจากนี้ จากการใช้มาตรการล็อคดาวน์บางส่วนหรือเต็มรูปแบบในหลายประเทศกำลังส่งผลกระทบกับแรงงานเกือบ 2.7 พันล้านคน หรือ 81%  ของแรงงานทั่วโลก และองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ(ILO) มีการคาดการณ์ว่าในไตรมาส 2 ปีนี้จะมีคนตกงานทั่วโลก 195 ล้าคน เฉพาะในยุโรปมีคนตกงาน 12 ล้านคน

 

แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ยึดแนวทางการปฏิบัติงาน ที่เน้นด้านสุขภาพและความปลอดภัย. จะต้องได้รับการปรับปรุงให้สอดคล้องกับ “เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยการเว้นระยะห่างทางกายภาพ” ชั่วคราว  นานาประเทศ ภาคส่วนต่างๆ และภาคธุรกิจควรต่อยอดวิธีปฏิบัติที่ดีที่มีอยู่แล้วแบ่งปันไปทั่วโลก  อุตสาหกรรมบริการด้านทรัพยากรมนุษย์พร้อมที่จะช่วยเหลือในการจัดการและทำให้สิ่งนี้เกิดขึ้น

ในส่วนมูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมบริการด้านทรัพยากรมนุษย์มีความสำคัญอย่างยิ่งในสถานการณ์ปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้อยู่ในอุตสาหกรรมบริการด้านทรัพยากรมนุษย์บทบาทสำคัญ โดยจะต้องสามารถทำงานเชิงรุกทั่วทั้งประเทศและทุกภาคส่วน ทำงานให้ทั้งกิจการขนาดใหญ่และวิสาหกิจขนาดกลางและเล็ก

 

ดังนั้น จึงสามารถสนับสนุนวิธีปฏิบัติที่ดีของประเทศแรกๆ ที่เปลี่ยนแนวทางใหม่ และภาคส่วนที่ยังเปิดอยู่ ส่งเสริมความรู้เชิงลึกเกี่ยวกับกระบวนการตลาดและแรงงานในภาคส่วนของบริษัท พร้อมทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง เพราะจะเข้าใจปัญหาและความท้าทายที่แต่ละฝ่ายต้องเผชิญ โดยทำเพื่อประโยชน์ของทั้งสองฝ่าย มีเครือข่ายขนาดใหญ่โยงทั่วโลกซึ่งครอบคลุมผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องทั้งหมด

 

อีกทั้งยังสามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปได้อย่างรวดเร็ว ในการช่วยเหลือ  ทั้งนี้ ยังมีประสบการณ์ในการจัดการและดำเนินกิจกรรมด้านสุขภาพและความปลอดภัย โดยทำงานใกล้ชิดกับผู้เชี่ยวชาญด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยท้องถิ่น สุดท้าย เป็นที่ปรึกษาที่มีประสบการณ์ในการจัดการแรงงานที่ยืดหยุ่น ซึ่งมีความสำคัญในการดำเนินการปฏิบัติตามข้อกำหนดเกี่ยวกับการเว้นระยะห่างทางกายภาพ

 

พร้อมกันนี้ในฐานะที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญในตลาดแรงงานขอนำเสนอคำแนะนำให้กับองค์กรต่างๆ เพื่อสนับสนุนการกลับไปทำงานอย่างปลอดภัย ด้วยความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับนายจ้างและลูกจ้าง ผู้ให้บริการด้านทรัพยากรมนุษย์ได้บูรณาการการทำงานในสถาการณ์การแพร่ระบาดโวรัสโคโรน่า (COVID-19) ให้เข้ากับแนวทางการปฏิบัติด้านสุขภาพและความปลอดภัย

 

แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ในฐานะส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การดำเนินงานด้านสุขภาพและความปลอดภัยของรัฐบาล อาทิ OSHA  และ NIOSH ในสหรัฐอเมริกา พัฒนาแนวทางการปฏิบัติเดียวกันที่มีรากฐานมาจากระบบบริหารความปลอดภัยสามารถนำมาดัดแปลงเพื่อการบูรณาการด้านอื่นๆ ที่มีอิทธิพลอย่างมาก เช่น การป้องกันโควิด-19  การฟื้นฟูทางยุทธศาสตร์  ในการกำหนดระดับของความเสี่ยงและหาวิธีการที่ถูกต้องในสถานการณ์ที่เฉพาะเจาะจง  สามารถนำลำดับชั้นของการควบคุมอันตราย(Hierarchy of Controls) ฉบับดัดแปลงของสถาบันชีวอนามัยและคามปลอดภัยแห่งชาติของสหรัฐฯ (NIOSH) มาใช้ได้  (ภาพประกอบด้านล่าง) 

แมนพาวเวอร์ ผนึกพันธมิตร วางมาตรฐานใหม่การทำงาน

จากพีรามิดดังกล่าว ยังได้เรียงลำดับผลกระทบกับการควบคุมความเสี่ยง เปรียบเทียบให้เห็นว่าหากไม่มีมาตรการรัดกุมตั้งแต่การป้องกันตั้งแต่จัดเตรียมอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล PPE  การควบคุมทางการบริหารโดยเปลี่ยนวิธีการทำงานของคน  มีการควบคุมทางวิศวกรรมเปลี่ยนวิธีการทำงานจากคนเป็นเครื่องจักรลดความเสี่ยง  การแทนที่เป็นลักษณะผลกระทบการทำงานปัจจุบัน และการกำจัด นำอันตรายออกทางกายภาพ ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจสูง  แต่หากมีมาตรการรัดกุมเตรียมความพร้อมทุกด้านเชื่อมั่นว่าจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในระดับต่ำ

 

ส่วนรูปแบบการบริหารจัดการตามพีรามิดช่วยให้นายจ้างเข้าใจในการกลับมาดำเนินธุรกิจอีกครั้งให้มีความปลอดภัยและสมดุล  พร้อมๆ ไปกับการบรรเทาความท้าทายจากโควิด-19  ข้อเสนอแนะนี้จะช่วยให้นายจ้างสามารถสร้างพื้นที่การทำงานให้ปลอดภัยต่อสุขภาพแรงงาน(ลูกจ้าง) ดังนั้น จะช่วยลดผลกระทบทางเศรษฐกิจจากวิกฤตครั้งนี้  รวมทั้งยังช่วยแรงงานจำนวนมากสามารถมีงานทำในการเลี้ยงชีพได้อีกครั้ง  อย่างไรก็ตาม ในแต่ละองค์กรจะมีนโยบายของตัวเองที่สามารถปรับและป้องกัน  เพื่อให้ธุรกิจเดินหน้าต่อโดยมีกรอบปฏิบัติเชิงกายภาพไม่ให้เกิดผลกระทบซ้ำและลดการแพร่ระบาดของ โควิด- 19

 

อุตสาหกรรมด้านการบริการทรัพยากรมนุษย์กำลังเรียกร้องและเชิญชวนให้ผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนได้แสดงบทบาทของตน โดยเน้น 5 กลุ่มหลักประกอบด้วยด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ ด้านยานยนต์ การผลิตวิทยาศาสตร์และสิ่งมีชีวิต การก่อสร้างและอาหาร ใน 10 ประเทศ ดังนี้ เบลเยี่ยม ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์  สเปน สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และกลุ่มประเทศนอร์ดิก ได้แก่ นอร์เวย์ สวีเดน ฟินแลนด์ และเดนมาร์ก โดยกลุ่มอุตสาหกรรมและกลุ่มประเทศดังกล่าวจะดำเนินการประสานงานกับผู้มีส่วนได้เสียในประเทศต่างๆ ในอีกไม่กี่สัปดาห์ เพื่อร่วมผลักดันให้เกิดมาตรการป้องกันระดับโลก  นับเป็นการผนึกความร่วมมือทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการรับมือโควิด-19 และฟื้นเศรษฐกิจให้กลับคืนมา