พันธกิจเร่งด่วน กทบ. ยกระดับคุณภาพชีวิตสมาชิกชุมชน

27 เม.ย. 2563 | 05:20 น.

กองทุนหมู่บ้าน เร่งเครื่องแนวคิด Local Economy เพิ่มรายได้ ลดรายจ่ายพี่น้องประชาชน พร้อมเปิด 3 แผน ยกระดับ พัฒนาคุณภาพชีวิตสมาชิก พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการท้องถิ่น พัฒนาอาชีพใหม่ และหาตลาดรับซื้อสินค้า สร้างรายได้ชุมชน เผย "ข้าวแลกปลาเค็ม" อยุธยาและสมุสาคร เป็นโมเดลตัวอย่าง จุดประกายสร้างเศรษฐกิชุมชนเติบโต

นายรักษ์พงษ์ เซ่งเจริญ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (กทบ.) เปิดเผยว่า กองทุนหมู่บ้านฯ ได้รับนโยบาย จากรองนายกฯ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ในฐานะ ประธานกองทุนหมู่บ้านฯ ถึงภารกิจในอนาคต ที่ต้องทำหน้าที่เป็นองค์กรหลักที่จะพัฒนาความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชน โดยสิ่งแรกที่เร่งดำเนินการ คือ การเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย โดยเฉพาะช่วงโควิด -19 ที่เศรษฐกิจไทยได้รับกระทบเยอะมาก การท่องเที่ยวกว่าจะฟื้นกลับมาก็ต้องใช้เวลา สิ่งที่ควรทำอย่างเร่งด่วยขณะนี้คือ การพัฒนาให้เกิด Local Economy เศรษฐกิจท้องถิ่น

พันธกิจเร่งด่วน กทบ. ยกระดับคุณภาพชีวิตสมาชิกชุมชน

จากจำนวนสมาชิกกองทุนหมู่บ้านฯ ปัจจุบันที่มีอยุ่กว่า 7.9 หมู่บ้าน มีสมาชิกราว 12.9 ล้านครัวเรือน หรือราว 30 ล้านคน ถือเป็นตัวเลขขับเคลื่อนให้เกิดเศรษฐกิจท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี จากเดิมที่กองทุนหมู่บ้านฯ ที่สร้างขึ้นมาเมื่อปี 2544 ทำหน้าที่หลัก คือ การเป็นกองทุนหมุนเวียน เตรียมเงินกู้ฉุกเฉินให้สมาชิกเป็นหลัก  จนปี 2559-2561 รัฐบาลได้ใส่เงินทุนลงมา กองทุนหมู่บ้านฯ ก็มาสร้างโครงสร้างพื้นฐาน มาช่วยเหลือชุนชน เพื่อลดค่าครองชีพ สร้างอาชีพให้กับคนในชุมชน เพื่อลดค่าใช้จ่าย เช่น การทำน้ำดื่ม ร้านค้าชุมชน ร้านค้าเกษตร เพื่อให้สมาชิกได้ซื้อสินค้าที่ถูกลง และมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น 

พันธกิจเร่งด่วน กทบ. ยกระดับคุณภาพชีวิตสมาชิกชุมชน

ล่าสุด กองทุนหมู่บ้านฯ ได้รับมอบหมายให้เข้ามาดูแลเรื่องคุณภาพชีวิต ทำให้สมาชิกชุมชนมีรายจ่ายที่ลดลง มีรายได้ที่เพิ่มขึ้น ซึ่ง ได้กำหนดแผนงานไว้ 3 ส่วน คือ 1. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และบริการ ที่มีอยู่ในท้องถิ่นให้ดีขึ้น 2. พัฒนาอาชีพใหม่ๆ ให้กับสมาชิก และ 3. คือการทำให้กองทุนหมู่บ้านฯ ทำหน้าที่พัฒนาการรับซื้อสินค้าจากสมาชิก พร้อมทั้งหาตลาดรองรับผลิตภัณฑ์และบริการจากชุมชนท้องถิ่นต่างๆ 

จากเป้าหมายการสร้างรายได้ให้กับชุมชน กองทุนหมู่บ้านฯ มีแนวคิด เรื่องการ "Barter Trade” หรือการแลกเปลี่ยนสินค้า อยู่แล้ว ประจวบเหมาะกับทางกองทุนหมู่บ้านบ้านท้องคุ้ง หมู่ที่ 4 ต.ปากจั่น อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา ได้มีการเจรจาตกลงแลกเปลี่ยนอาหารทะเล กับกองทุนหมู่บ้าน สถาบันบ้านท้องคุ้ง ที่สมุทรสาคร กองทุนหมู่บ้านฯ จึงเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการเป็นสื่อกลางประชาสัมพันธ์ และขยายแนวคิดนี้เป็นต้นแบบให้กับชุมชนอื่นๆ ต่อไป 

พันธกิจเร่งด่วน กทบ. ยกระดับคุณภาพชีวิตสมาชิกชุมชน

ส่วนของการพัฒนาอาชีพใหม่ๆ ทำให้อาชีพ มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้เกิดการจ้างงาน หลังจากลูกหลานต้องถูกออกจากงานในช่วงโควิด-19 ซึ่งส่วนหนึ่งคือ อาชีพโลจิสติกส์ อันนี้จะทำในรอบต่อไป หลังจากได้รับงบประมาณเยียวยาเศรษฐกิจ 4 แสนล้านบาท 

นอกจากนี้ การลดรายจ่าย จากสมาชิก 12.9 ล้านครัวเรือน ในแง่ของการซื้อขายสินค้าอุปโภคบริโภค กองทุนหมู่บ้านฯ พยายามรวบรวมการซื้อขายเป็นกลุ่มๆ ทำให้มีอำนาจต่อรองกับซัพพลายเออร์มากขึ้น ตัดพ่อค้าคนกลางออกไป เพื่อสมาชิกจะได้ซื้อของที่ถูกลง พร้อมกันนี้ ยังมีการพัฒนาความรู้ความเข้าใจในการใช้โซเชียลมีเดียให้เกิดประโยชน์ ในการเชื่อมโยงเครือข่ายมากขึ้น นอกเหนือจากที่เหล่าประธานเครือข่ายต่างๆ ได้มีการเชื่อมโยงกันอยู่แล้ว 

นายเซเว่น เสงี่ยมเฉย ประธานกองทุนหมู่บ้านบ้านท้องคุ้ง หมู่ที่ 4 ต.ปากจั่น อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา กล่าวเสริมว่า การส่งเสริมสร้างงาน สร้างอาชีพ ให้กับสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน สำหรับการแลกเปลี่ยนสินค้าระวห่างชุมชนเครือข่าย ถือเป็นการต่อยอดมาจากกองทุนหมู่บ้านฯ ที่มีทุนภายในอยู่แล้วส่วนหนึ่ง และมีงบประชารัฐเข้ามาช่วยเสริม กองทุนฯ บ้านท้องคุ้ง ได้ติดตามและรับรู้ความเดือดร้อนของสมาชิกในเรื่องต่างๆ เช่น คนทำนาขายข้าวไม่ได้ คนทำนาต้องไปซื้อข้าวคนอื่นกิน จึงมีการตั้ง "โรงสีชุมชน" รับซื้อข้าวจากชาวนา เอามีสีแจกจ่ายกัน และส่วนหนึ่งก็เอามาขาย จนล่าสุด ได้ต่อยอดมาสู่การแลกเปลี่ยนกับชุมชนเครือข่ายอื่น ก็เป็นที่มาของ โครงการ ข้าวแลกปลาเค็ม

พันธกิจเร่งด่วน กทบ. ยกระดับคุณภาพชีวิตสมาชิกชุมชน

อีกกิจกรรมที่กำลังจะเติบโต คือ พี่น้องที่ทำอิฐมอญ เวลาหน้าฝน อิฐราคาดี แต่ทำได้น้อย ความต้องการในตลาดเยอะ แต่เวลาหน้าแล้ง ทำได้เยอะ กลับขายไม่ได้ ในขณะที่สมาชิกต้องกินต้องใช้ เลยเป็นที่มาของการนำงบประชารัฐ 5 แสนบาท (งบประมาณปี 2559) มาทำโกดังเก็บอิฐ เรียกว่า  "ธนาคารผลผลิตชุมชนประชารัฐ" เวลาผลิตอิฐมา ก็เอามาจำนำไว้ เพื่อเอาเงินไปใช้เลี้ยงปากเลี้ยงท้อง และเมื่ออิฐกลับมาขายได้ ก็มาเอาออกไปขาย หรือจะให้กองทุนฯ ดำเนินการขายให้ก็ได้ โดยเบื้องต้นใช้งบของกองทุนหมู่บ้านฯ มารับซื้อ ราคาก้อนละ .65 บาท ส่วนราคาขายอยู่ที่ .75 บาท ถึง 1 บาท ขายปลีกขายส่งได้หมด ตอนนี้มีทั้งหมดประมาณ 3 แสนก้อน ซึ่งอนาคตจะพัฒนาไปสู่สินค้าอื่นๆ ต่อไป

พันธกิจเร่งด่วน กทบ. ยกระดับคุณภาพชีวิตสมาชิกชุมชน

ล่าสุด กองทุนฯ บ้านท้องคุ้งกำลังต่อยอดอีกหนึ่งโครงการ หลังได้รับเงิน 2 แสนบาท จากสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.) เพื่อสร้างท่าเทียบเรือ ที่รับคนมาดูงาน รับนักท่องเที่ยว เข้าไปเยี่ยมชมระบบโลจิสติกส์ ซึ่งที่แม่น้ำป่าสักจะมีระบบการขนส่งสินค้า ทั้งขาเข้าขาออก ขนถ่านหิน ขนมันสำปะหลัง หลังจากนั้น จะล่องเรือเที่ยวชมวัด และที่ท่องเที่ยวต่างๆ ซึ่งขณะนี้ได้มีการจ้างผู้รับเหมาเรียบร้อย และกำลังจะลงเข็ม ก็คือ ถือเป็นการต่อยอดการสร้างงานสร้างอาชีพอีกส่วนหนึ่ง 

พันธกิจเร่งด่วน กทบ. ยกระดับคุณภาพชีวิตสมาชิกชุมชน

แนวทางการทำงานของกองทุนฯ บ้านท้องคุ้ง ถือเป็นตัวอย่างหนึ่ง ที่ทางกองทุนหมู่บ้านฯ จะสามารถนำไปเป็นต้นแบบ ต่อยอดแนวคิด และการพัฒนาชุมชนต่างๆ เพื่อสร้างเศรษฐกิจท้องถิ่นให้เข้มแข็งขึ้นต่อไป