เซ็นแล้ว'นิรุฒ' ผู้ว่ารฟท.ภาระกิจแรก ลุยโควิด

16 เม.ย. 2563 | 04:17 น.

การรถไฟฯ ลงนามสัญญาว่าจ้าง 'นิรุฒ มณีพันธ์ ' ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย คนใหม่ จ่อปฏิบัติหน้าที่ เริ่ม 24 เม.ย.นี้

 

 

 

 

รายงานข่าวจากการถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ว่าวันนี้ 16 เมษายน 2563 เวลา 08.30 น. ห้องคณะกรรมการรถไฟฯ ชั้น 2 การรถไฟแห่งประเทศไทย จัดพิธีลงนามสัญญาว่าจ้าง ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย คนใหม่ โดยมีนายจิรุตม์ วิศาลจิตร ประธานกรรมการรถไฟฯ เป็นผู้ลงนามในสัญญาว่าจ้าง นายนิรุฒ มณีพันธ์ ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย คนที่ 29 อย่างเป็นทางการ ซึ่งกระทรวงคมนาคมได้นำเสนอ และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบ เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2563 โดยกระทรวงการคลังได้เจรจาอัตราค่าตอบแทน และสิทธิประโยชน์อื่นๆ เป็นไปตามพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2550 ครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว

 

 

เซ็นแล้ว'นิรุฒ' ผู้ว่ารฟท.ภาระกิจแรก ลุยโควิด

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวต่อว่า. สำหรับภารกิจที่ต้องรีบดำเนินการตอนนี้ คือ การป้องกันการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 โดยเฉพาะการกำหนดมาตรการรักษาความปลอดภัยแก่ผู้โดยสารที่เข้ามาใช้บริการและพนักงานของการรถไฟฯ ที่ต้องทำงานบนขบวนรถไฟและสถานี ซึ่งไม่สามารถใช้มาตรการทำงานจากที่บ้านได้ และลำดับต่อไปจะเข้าพบพนักงานรถไฟ และ สหภาพรถไฟก่อน เพื่อทำความรู้จัก และรับฟังปัญหาอุปสรรคในการทำงาน โดยเป้าหมายที่สำคัญ คือ การเข้ามาดูแลปรับปรุงสวัสดิการ สิทธิประโยชน์ที่พนักงาน รถไฟฯ ควรจะได้รับ

 

เซ็นแล้ว'นิรุฒ' ผู้ว่ารฟท.ภาระกิจแรก ลุยโควิด

"ผมในฐานะที่เข้ามาทำหน้าที่ผู้ว่าการรถไฟฯ ต้องการให้พนักงานมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เนื่องจากพนักงานถือเป็นหัวใจสำคัญที่จะผลักดันการรถไฟฯ ให้เดินหน้าต่อไปได้ และพนักงานยังเป็นฟันเฟืองสำคัญในการหารายได้และขับเคลื่อนองค์กร เพื่อให้บริการด้านการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าทั่วประเทศอีกด้วย"

หลังจากทำพิธีลงนามในสัญญาว่าจ้างเสร็จ นายจิรุตม์ วิศาลจิตร ประธานกรรมการรถไฟฯ ได้กล่าวต้อนรับ พร้อมทั้งอวยพร และมอบนโยบายเกี่ยวกับคดีความของการรถไฟฯ ที่มีกับบริษัท โฮปเวลล์ ที่สำนักงานอาณาบาลของการรถไฟฯ ร่วมกับกระทรวงคมนาคม ดำเนินการอยู่ ซึ่งขอให้เร่งดำเนินการเพื่อลดผลกระทบต่อภาครัฐอันเนื่องมาจากคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ครั้งที่ 9/2562 เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2562 โดยมีการกำหนดแนวทางการชำระหนี้ตามคำพิพากษาไว้เป็น 2 แนวทาง รวมทั้งการเร่งรัดดำเนินงานตามแผนฟื้นฟูกิจการของ รฟท. ให้เป็นไปตามมติคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ซึ่งมีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานระบบรางที่สำคัญ 6 ด้าน คือ

1. โครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง

2. โครงการที่กำลังจะก่อสร้าง

3. ด้านการจัดหารถจักรและล้อเลื่อน

4. ด้านการบริหารจัดการทรัพย์สินของการรถไฟฯ

5. ด้านการบริหารจัดการองค์กร

6. ด้านการพัฒนาระบบ IT ให้มีความสมบูรณ์

 

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวต่อว่า ไม่ได้รู้สึกหนักใจกับปัญหาภาวะการขาดทุน เนื่องจากเป้าหมายในการทำงานก็ต้องการเข้ามาเพื่อแก้ไขปัญหาอยู่แล้ว โดยขอเวลาศึกษารายละเอียดของแผนฟื้นฟู และจะเข้ามาเริ่มงานในวันศุกร์ที่ 24 เมษายน 2563 ทันที เพราะมีเรื่องเร่งด่วนที่ต้องเร่งดำเนินการมากมาย โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาไวรัสโควิด-19 ที่แพร่ระบาดอยู่ในตอนนี้สำหรับนายนิรุฒ มณีพันธ์ จบนิติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหงเกียรตินิยมอันดับสอง, จบเนติบัณฑิตไทย, ปริญญาโท 2 ใบทางด้านกฎหมายจาก Howard University, Washington D.C. USA และ Temple University, Philadelphia USA อีกทั้งเป็นอาจารย์สอนกฎหมายที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง และก่อนจะมาเป็นผู้ว่าการรถไฟฯ เคยดำรงตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ผู้บริหารสายงานกำกับกฎเกณฑ์และกฎหมาย และเลขานุการธนาคารกรุงไทย และเคยเป็นรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่สายทรัพยากรบุคคลและกำกับกิจกรรมองค์กร บริษัท การบินไทย และหลังจากลงนามในสัญญาว่าจ้างแล้ว และจะเข้ารับหน้าที่ในวันศุกร์ที่ 24 เมษายน 2563

 

 

 

 

 

 

รายงานข่าวจากการถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ว่าวันนี้ 16 เมษายน 2563 เวลา 08.30 น. ห้องคณะกรรมการรถไฟฯ ชั้น 2 การรถไฟแห่งประเทศไทย จัดพิธีลงนามสัญญาว่าจ้าง ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย คนใหม่ โดยมีนายจิรุตม์ วิศาลจิตร ประธานกรรมการรถไฟฯ เป็นผู้ลงนามในสัญญาว่าจ้าง นายนิรุฒ มณีพันธ์ ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย คนที่ 29 อย่างเป็นทางการ ซึ่งกระทรวงคมนาคมได้นำเสนอ และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบ เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2563 โดยกระทรวงการคลังได้เจรจาอัตราค่าตอบแทน และสิทธิประโยชน์อื่นๆ เป็นไปตามพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2550 ครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว

 

 

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวต่อว่า. สำหรับภารกิจที่ต้องรีบดำเนินการตอนนี้ คือ การป้องกันการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 โดยเฉพาะการกำหนดมาตรการรักษาความปลอดภัยแก่ผู้โดยสารที่เข้ามาใช้บริการและพนักงานของการรถไฟฯ ที่ต้องทำงานบนขบวนรถไฟและสถานี ซึ่งไม่สามารถใช้มาตรการทำงานจากที่บ้านได้ และลำดับต่อไปจะเข้าพบพนักงานรถไฟ และ สหภาพรถไฟก่อน เพื่อทำความรู้จัก และรับฟังปัญหาอุปสรรคในการทำงาน โดยเป้าหมายที่สำคัญ คือ การเข้ามาดูแลปรับปรุงสวัสดิการ สิทธิประโยชน์ที่พนักงาน รถไฟฯ ควรจะได้รับ

 

"ผมในฐานะที่เข้ามาทำหน้าที่ผู้ว่าการรถไฟฯ ต้องการให้พนักงานมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เนื่องจากพนักงานถือเป็นหัวใจสำคัญที่จะผลักดันการรถไฟฯ ให้เดินหน้าต่อไปได้ และพนักงานยังเป็นฟันเฟืองสำคัญในการหารายได้และขับเคลื่อนองค์กร เพื่อให้บริการด้านการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าทั่วประเทศอีกด้วย"

หลังจากทำพิธีลงนามในสัญญาว่าจ้างเสร็จ นายจิรุตม์ วิศาลจิตร ประธานกรรมการรถไฟฯ ได้กล่าวต้อนรับ พร้อมทั้งอวยพร และมอบนโยบายเกี่ยวกับคดีความของการรถไฟฯ ที่มีกับบริษัท โฮปเวลล์ ที่สำนักงานอาณาบาลของการรถไฟฯ ร่วมกับกระทรวงคมนาคม ดำเนินการอยู่ ซึ่งขอให้เร่งดำเนินการเพื่อลดผลกระทบต่อภาครัฐอันเนื่องมาจากคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ครั้งที่ 9/2562 เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2562 โดยมีการกำหนดแนวทางการชำระหนี้ตามคำพิพากษาไว้เป็น 2 แนวทาง รวมทั้งการเร่งรัดดำเนินงานตามแผนฟื้นฟูกิจการของ รฟท. ให้เป็นไปตามมติคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ซึ่งมีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานระบบรางที่สำคัญ 6 ด้าน คือ

1. โครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง

2. โครงการที่กำลังจะก่อสร้าง

3. ด้านการจัดหารถจักรและล้อเลื่อน

4. ด้านการบริหารจัดการทรัพย์สินของการรถไฟฯ

5. ด้านการบริหารจัดการองค์กร

6. ด้านการพัฒนาระบบ IT ให้มีความสมบูรณ์

 

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวต่อว่า ไม่ได้รู้สึกหนักใจกับปัญหาภาวะการขาดทุน เนื่องจากเป้าหมายในการทำงานก็ต้องการเข้ามาเพื่อแก้ไขปัญหาอยู่แล้ว โดยขอเวลาศึกษารายละเอียดของแผนฟื้นฟู และจะเข้ามาเริ่มงานในวันศุกร์ที่ 24 เมษายน 2563 ทันที เพราะมีเรื่องเร่งด่วนที่ต้องเร่งดำเนินการมากมาย โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาไวรัสโควิด-19 ที่แพร่ระบาดอยู่ในตอนนี้สำหรับนายนิรุฒ มณีพันธ์ จบนิติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหงเกียรตินิยมอันดับสอง, จบเนติบัณฑิตไทย, ปริญญาโท 2 ใบทางด้านกฎหมายจาก Howard University, Washington D.C. USA และ Temple University, Philadelphia USA อีกทั้งเป็นอาจารย์สอนกฎหมายที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง และก่อนจะมาเป็นผู้ว่าการรถไฟฯ เคยดำรงตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ผู้บริหารสายงานกำกับกฎเกณฑ์และกฎหมาย และเลขานุการธนาคารกรุงไทย และเคยเป็นรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่สายทรัพยากรบุคคลและกำกับกิจกรรมองค์กร บริษัท การบินไทย และหลังจากลงนามในสัญญาว่าจ้างแล้ว และจะเข้ารับหน้าที่ในวันศุกร์ที่ 24 เมษายน 2563