5,614 หมู่บ้าน ใน 20 จังหวัด เจอวิกฤติภัยแล้ง

06 ก.พ. 2563 | 02:22 น.

ปภ.สรุปสถานการณ์ภัยแล้ง พบ 20 จังหวัดประกาศเป็นเขตภัยพิบัติฉุกเฉิน

วันที่ 6 ก.พ. 63 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.)  ได้รายงานสถานการณ์ภัยแล้งระบุว่า ตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคม 2562 ถึงปัจจุบัน(6ก.พ.62) มีจังหวัดที่ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง) ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ กรณีฉุกเฉิน พ.ศ 2562 มีสถานการณ์ทั้งหมด 20 จังหวัด 116 อําเภอ 637 ตําบล 3 เทศบาล 5,614 หมู่บ้าน/ชุมชน ได้แก่ จังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน อุตรดิตถ์ สุโขทัย เพชรบูรณ์ หนองคาย บึงกาฬ นครพนม สกลนคร กาฬสินธุ์ มหาสารคาม นครราชสีมา บุรีรัมย์ นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สุพรรณบุรี กาญจนบุรี และจังหวัดฉะเชิงเทรา 

5,614 หมู่บ้าน ใน 20 จังหวัด เจอวิกฤติภัยแล้ง

5,614 หมู่บ้าน ใน 20 จังหวัด เจอวิกฤติภัยแล้ง

5,614 หมู่บ้าน ใน 20 จังหวัด เจอวิกฤติภัยแล้ง

โดยกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ ได้หนังสือ ด่วนที่สุด ที่ มท (บกปภ) 0624/ว 47 ลงวันที่ 29 พฤศจิกายน 2562 สั่งการให้ทุกจังหวัดดําเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งปี 2562-2563 ดังนี้ 1. ใช้กลไกระบบบัญชาการเหตุการณ์ตามกฎหมายและแผนว่าด้วยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในการมอบหมายหน่วยงานรับผิดชอบเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มภารกิจ หลัก ประกอบด้วย กลุ่มพยากรณ์ กลุ่มบริหารจัดการน้ํา และกลุ่มปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ํา

2. ให้สํารวจ ตรวจสอบพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ํา โดยเฉพาะน้ําเพื่อการอุปโภคบริโภค พร้อมทั้งกําหนด มาตรการรับมือ อาทิ การจัดทําแผนสํารองน้ํา การหาแหล่งน้ําสํารอง การขุดเจาะบ่อน้ําบาดาลในพื้นที่เสี่ยง ขาดแคลนน้ําดิบ การขุดขยายสระพักน้ําดิบ เพื่อสํารองปริมาณน้ําในการอุปโภคบริโภค รวมถึงการสูบส่งน้ํา จากแหล่งน้ําใกล้เคียงไปยังระบบการผลิตน้ําประปา และให้กําหนดพื้นที่ที่เหมาะสมเป็นพื้นที่นําร่อง การพัฒนา พื้นที่รับน้ํา (แก้มลิง) ชั่วคราว ที่มีอยู่ในปัจจุบันให้เป็นพื้นที่กักเก็บน้ําถาวร ตลอดจนการพิจารณาจัดทําธนาคารน้ําใต้ดิน ที่มีการควบคุมคุณภาพน้ําที่กักเก็บให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน มีความสะอาด ปลอดภัยเพียงพอสําหรับการใช้ประโยชน์

3.ในส่วนของการจัดสรรน้ําเพื่อการเกษตร ให้สนับสนุนมาตรการควบคุมการใช้น้ําในพื้นที่ โดยขอความ ร่วมมือไม่ให้เกษตรกรทําการปิดกั้นลําน้ํา หรือสูบน้ําเข้าพื้นที่การเพาะปลูก ตามแผนของกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ เพื่อลดผลกระทบการขาดแคลนน้ําด้านอุปโภคบริโภคในพื้นที่ พร้อมทั้งประสานกรมฝนหลวงและการบิน เกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการจัดทําฝนหลวงในพื้นที่เมื่อสภาวะอากาศเอื้ออํานวยเพื่อกักเก็บน้ํา ในแหล่งน้ําต่างๆ ให้ได้มากที่สุด

4.เฝ้าระวัง และควบคุมไม่ให้มีการปล่อยน้ําเสียลงแม่น้ํา คู คลอง หรือแหล่งน้ําต่างๆ เพื่อลดปริมาณ การใช้น้ําดีไล่น้ําเสีย และให้มอบหมายหน่วยงานที่รับผิดชอบเส้นทางคมนาคมที่มีแนวติดคลองลําน้ํา หรือแม่น้ํา ต่าง ๆ ในการสํารวจ และกําหนดมาตรการรองรับกรณีการพังทลายของตลิ่ง

5.รณรงค์ประชาสัมพันธ์ และสร้างการรับรู้ให้ประชาชนภาคส่วนต่าง ๆ มีส่วนร่วมในการประหยัดน้ํา และทราบถึงมาตรการบริหารจัดการน้ําของภาครัฐ รวมถึงเชิญชวนประชาชนจิตอาสาในพื้นที่ เข้ามามีส่วนร่วม ในการก่อสร้างซ่อมแซมแหล่งกักเก็บน้ําขนาดเล็ก เพื่อเป็นการปลุกจิตสํานึกให้ประชาชนใช้น้ําอย่างประหยัด และรู้คุณค่า