ยูนิลีเวอร์ผนึกททท. เปิดตัว “TRASH” แปลงขยะให้มีค่า

29 ต.ค. 2562 | 04:58 น.

              ยูนิลีเวอร์ ประเทศไทย ประกาศความร่วมมือกับททท.กรมควบคุมมลพิษพร้อมพันธมิตร เปิดตัวโครงการ TRASH ร่วมเปลี่ยนโลก แปลงขยะให้มีค่า  แก้ปัญหาขยะพลาสติกนำร่องที่กระบี่   สร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนแก่ขยะพลาสติกที่ไม่มีมูลค่าเชิงพาณิชย์

    ยูนิลีเวอร์ผนึกททท. เปิดตัว “TRASH” แปลงขยะให้มีค่า

        ยูนิลีเวอร์ ประเทศไทย ประกาศความร่วมมือกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กรมควบคุมมลพิษ, เทศบาลเมืองกระบี่, บ.ซีโร่ เวสท์ โยโล, บ.เบสท์ โพลิเมอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล และ     บ.จีอีพีพี สะอาด เพื่อแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกนา ร่องที่เมืองกระบี่และสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนแก่ขยะพลาสติก ประเภทถุงขนม ถุงเติมสบู่ น้ำยาปรับผ้านุ่ม น้ำยาล้างจานฯลฯ หรือซองแชมพูประเภท Multilayer และขวดขุ่น ประเภท HDPE หรือขวดทึบที่เป็นขวดนม ขวดสบู่เหลว แชมพู น้ำยาซักฟอก น้ำยาปรับผ้านุ่ม เนื่องจากเป็นชนิด พลาสติกที่ไม่มีมูลค่าหรือมูลค่าเชิงพาณิชย์น้อยทำให้ไม่นิยมรับซื้อ ภายใต้โครงการ TRASH ร่วมเปลี่ยนโลก แปลง ขยะให้มีค่า 

            “TRASH” ย่อมาจาก Tourism to Recycling Actions for the Schools and Homes เป็นโครงการที่เกิดจากพนัธมิตร ที่หลากหลายไม่ว่าจะชุมชน หน่วยงานของรัฐและหน่วยงานเอกชนที่จะร่วมสร้างวงจรชีวิตแก่ขยะพลาสติกที่ไม่ได้ ถูกจัดเก็บเพื่อป้องกันไม่ให้รั่วไหลไปสู่สิ่งแวดล้อม ชุมชน และทำลายทัศนียภาพของสถานที่ท่องเที่ยว แต่นำกลับมารีไซเคิลเป็นผลิตภัณฑ์ข้าวของเครื่องใช้ เฟอร์นิเจอร์ คืนสู่โรงเรียนและชุมชน 

          นายโรเบิร์ต  แคนเดลิโน ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มบริษัท ยูนิลีเวอร์ ประเทศไทย กล่าวว่า “ยูนิลีเวอร์มีความ มุ่งมั่นที่จะทำให้คนไทยมีวิถีชีวิตที่ยั่งยืน บริษทัฯเชื่อว่าธุรกิจไม่สามารถเติบโตได้ หากโลกของเรานั้นป่วย  ปัจจุบัน ความท้าทายทางสิ่งแวดล้อมหนึ่งที่เราต้องเผชิญคือเรื่องขยะพลาสติก และเป็นที่ประจักษ์ชัดเมื่อประเทศ ไทยถูกจัดเป็นประเทศที่ปล่อยขยะลงสู่ทะเลเป็นอันดับ 6 โดยมีขยะพลาสติก 2 ล้านตัน แต่สัดส่วนที่นำ ไปรีไซเคิล กลับน้อยกว่า 20% จึงเป็นเรื่องเศร้าที่ขยะพลาสติกส่วนที่เหลือสุดท้ายก็ไหลลงสู่คลอง บ่อฝังกลบ หรือเป็นขยะบน ท้องถนน ยูนิลีเวอร์มีความภูมิใจที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาแล้ว 87 ปี บริษัทฯ มีพันธกรณีต่อคนไทยและชุมชนไทย ซึ่งเป็นผู้บริโภคของเราทั่วประเทศ ด้วยเหตุนี้ เราจึงต้องแสดงความรับผิดชอบอีกครั้งด้วยการเป็นผู้นำในการกำหนด เป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ที่จะจัดการกับขยะพลาสติกและเปลี่ยนแปลงธุรกิจของเราเพื่อมุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายให้เป็นจริง   
          ในปี 2560 ยูนิลิเวอร์ ได้ให้คำสัญญาภายในปี 2568 เราจะเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ทั้งหมดของเรา ให้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ สามารถรีไซเคิลได้และย่อยสลายได้ 100%  เมื่อเร็วๆ นี้ ยูนิลีเวอร์ ได้ประกาศเพิ่มว่า จะลดการใช้พลาสติก ใหม่ในบรรจุภัณฑ์ลงครึ่งหนึ่งและจะเก็บและแปรรูปบรรจุภัณฑ์พลาสติกให้มากกว่าที่ขาย ทั้งหมดนี้จะดำเนินการ ให้แล้วเสร็จภายในปี 2568 เป็นการเพิ่มความหนักแน่นให้กับคำสัญญาเดิม ทั้งนี้ ยูนิลีเวอร์ ประเทศไทย ได้เปลี่ยน บรรจุภณัฑ์ที่ผลิตจากพลาสติกใหม่เป็นพลาสติกรีไซเคิล  post-consumer recycled (PCR) 100% สำหรับแบรนด์ที่ ขายดีที่สุด (ซันไลต์และคอมฟอร์ท) แบรนด์ใหม่ที่เพิ่งเปิดตัว (เซเว่นท์เจนเนอเรชั่น และเลิฟ บิวตี้ แอนด์ แพลนเน็ต) และบริษัทยังมีแผนที่จะเปลี่ยนมาใช้พลาสติก PCR ในบรรจุภัณฑ์ทุกแบรนด์ของยูนิลีเวอร์ภายใน2ปีนี้

    ยูนิลีเวอร์ผนึกททท. เปิดตัว “TRASH” แปลงขยะให้มีค่า

           ยูนิลีเวอร์ไดป้ฏิรูปโปรแกรมนวัตกรรมด้วยแนวทาง “การใช้พลาสติกให้น้อยลง การใช้พลาสติกที่ดีขึ้น และการไม่ใช้ พลาสติกเลย” ต่อการวิจัยและพฒันา   อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ตระหนักดีว่าทั้งหมดนี้ยังไม่พอ เราต้องร่วมมือกันจัดการปัญหาขยะพลาสติกในหลายมิติ ด้วยความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐ ภาคธุรกิจ นักวิชาการและที่สำคัญในครัวเรือน เพื่อนำบรรจุภัณฑ์ใน ห้องครัวและห้องน้ำของแต่ละบ้านทั่วประเทศไทยกลับมา  ด้วยเหตุนี้ ยูนิลีเวอร์ จึงได้ริเริ่มโครงการ TRASH  เพื่อเฟ้นหาโมเดลที่ทุกภาคส่วนสามารถร่วมมือกันสร้างระบบ หมุนเวียนสำหรับขยะพลาสติก ให้อยู่ในวงจรเศรษฐกิจและอยู่นอกสิ่งแวดล้อม  ผมขอขอบคุณหน่วยงานพันธมิตร ทั้ง 10 หน่วยงานที่เข้าร่วมอุดมการณ์นี้กับเรา เรายังต้องการโปรแกรมเช่นนี้อีกมากเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับโลกของเรา

 

           นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กล่าวว่า โครงการ TRASH เป็นโครงการที่สอดคลอ้ง กับนโยบายของ ททท. เป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้ ททท. ได้รณรงค์เพื่อสร้างกระแสใส่ใจสิ่งแวดล้อมและปลูกจิตสำนึกให้ นักท่องเที่ยวร่วมกันรับผิดชอบต่อทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ด้วยการลดการสร้างภาระขยะในแหล่งท่องเที่ยว มุ่ง เป้าที่พลาสติกที่ใช้เพียงครั้งเดียว หรือ Single-use plastic และสนับสนุนการใช้วัสดุธรรมชาติทดแทน โดย ททท. ดำ เนินโครงการ “ลดโลกโลกเลอะ” และได้ทำ ปฏิญญา “เที่ยวไทยเท่ ไม่สร้างขยะ ลดโลกเลอะ” ร่วมกบัหน่วยงาน ต่างๆ เมื่อปี 2561 จากนั้นได้รณรงค์ไปสู่ภาคประชาชนอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน  รวมไปถึงรณรงค์ให้เจ้าของ พื้นที่ได้ตระหนักถึงปัญหาขยะที่เกิดขึ้นในแหล่งท่องเที่ยวอีกด้วย ดังนั้น โครงการ TRASH จึงเป็นอีกหนึ่งโครงการ ที่สำคัญที่จะเป็นแนวร่วมในการรณรงค์ให้การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยประสบความสำเร็จได้อย่าง รวดเร็ว อันจะส่งผลให้แหล่งท่องเที่ยวของไทยยังคงความสวยงามและน่าท่องเที่ยวต่อไป  

           นายประลอง ดำรงค์ไทย อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กล่าวว่า ประเทศไทยถูกจัดเป็นอันดับต้นๆ ที่มีขยะพลาสติกในทะเลมากที่สุด ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในทะเล อาทิ วาฬ พะยูน กรมควบคุมมลพิษได้ตระหนักถึงปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากขยะพลาสติกจึงได้จัดทำ  Roadmap การจดัการขยะพลาสติก พ.ศ. 2561 – 2573 ขึ้นเพื่อใช้เป็นกรอบและทิศทางการด าเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหา การจดัการขยะพลาสติกของประเทศ
           โดยมีเป้าหมายที่ 1 คือ ลด และเลิกใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง 3 ชนิด ใน ปี 2562 ได้แก่ แคปซีล พลาสติกผสมสารอ็อกโซ่ และไมโครบีด และ 4 ชนิด ในปี 2565 ได้แก่ ถุงพลาสติกหูหิ้ว แบบบาง โฟมบรรจุอาหาร แก้วพลาสติก(แบบบาง) และหลอดพลาสติก
           เป้าหมายที่ 2 คือ การนำขยะพลาสติก กลับเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ร้อยละ 100 ภายในปี 2570 โครงการ TRASH เป็นการดา เนินงานที่สอดคล้อง กับนโยบายของภาครัฐที่มุ่งเน้นให้ความสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการนำขยะพลาสติกกลับมาใช้ประโยชน์เข้า สู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน(Circular Economy) ภายใต้Roadmap ดงักล่าว ซึ่งจะสามารถขยายการดำเนินงานไปสู่ พื้นที่อื่นๆ เพื่อสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วนของประเทศให้ก้าวไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป

    ยูนิลีเวอร์ผนึกททท. เปิดตัว “TRASH” แปลงขยะให้มีค่า

            นายชาญณรงค์  ลีลาบูรณพงศ์ รองนายกเทศมนตรีเมืองกระบี่ กล่าวว่า กระบี่ เป็นสถานที่นักท่องเที่ยวนิยม แต่ละปี จะมีนักท่องเที่ยวมาเยือนประมาณ 6 ล้านคน มีรายไดจ้ากการท่องเที่ยวโดยเฉลี่ยปีละ 118,000 ล้านบาท เมืองกระบี่ มีความมุ่งมั่นที่จะสร้างโรดแมปการจัดการขยะแบบยั่งยืนให้เป็น “เมืองกระบี่สะอาด” ปัจจุบันขยะที่รีไซเคิลได้ มี ขวดใสประเภท PET กระป๋องอะลูมิเนียม เหล็ก กระดาษและเศษไม้ จะมีการซื้อขายผ่านศูนย์รับซื้อและซาเล้ง

          ในขณะที่ขยะที่ผูค้นเข้าใจว่ารีไซเคิลไม่ได้ อาทิ ขวดขุ่น ขวดทึบ ประเภทโพลีเอทีลีน และถุงขนมที่เคลือบ อะลูมิเนียม หรือฟอยล์ ถูกส่งไปยังบ่อฝังกลบ ปีหนึ่งมากถึง 25 ตัน โครงการ TRASH จะสร้างความรู้แก่ชุมชนและ เปลี่ยนทศันคติของคนในชุมชนต่อ ขวดพลาสติกที่ใส่ แชมพู สบู่ น้ำยาปรับผ้านุ่ม หรือถุงขนมคบเขี้ยว ที่เคยถูก มองว่าเป็นขยะแท้จริงแล้วเป็นวัตถุดิบในสร้างข้าวของเครื่องใช้ และเฟอร์นิเจอร์ที่ทำมาจากพลาสติกรีไซเคิล สำหรับโรงเรียนและชุมชนเมืองกระบี่เรา เพียงแต่เราร่วมมือกันแยก ล้าง และคืนวัสดุเหล่านี้เพื่อการรีไซเคิล