100 ปีปาล์มน้ำมันมาเลย์ กรณีศึกษาประเทศไทย

17 ตุลาคม 2562

100 ปีปาล์มน้ำมันมาเลย์ กรณีศึกษาประเทศไทย

ปี 2560 เป็นปีที่อุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มมาเลเซียถูกพัฒนามาครบ 100 ปีพอดี สามารถไล่เรียงเป็นแต่ละปีของการพัฒนาดังนี้ ปี 2460 ปาล์มน้ำมัน “ต้นแรก” ได้ถูกนำมาปลูกที่มาเลเซียโดยนายอองรี ฟาคอนเนีย (Henri Fauconnier) ซึ่งเป็นนักเขียนชาวฝรั่งเศสที่เป็นหนึ่งในหลาย ๆ นักธุรกิจจากยุโรปที่ต้องการความท้าทายใหม่ ๆ ได้เดินทางเข้ามาในมาเลเซียเพื่อแสวงหาการทำธุรกิจเมืองรันเตา ปันจัง (Rantau Panjang) รัฐเซลังงอร์ (Selangor)(ปัจจุบันเมืองนี้อยู่ในรัฐกลันตัน)  

100 ปีปาล์มน้ำมันมาเลย์ กรณีศึกษาประเทศไทย

ปี 2463 บริษัทเอกชนมาเลเซียเริ่มปลูกปาล์มน้ำมัน บริษัท Guthrie (บริษัท Sime Durby ในปัจจุบัน) เริ่มปลูกปาล์มที่เมืองมิงกิโบ (Mengkibol) ในรัฐยะโฮร์ (Johor) แสดงให้เห็นว่าธุรกิจปาล์มน้ำมันเริ่มมาจากบริษัทเอกชนก่อน และในปี 2465 รัฐบาลมาเลเซียได้เริ่มบุกเบิกการทำวิจัยเรื่อง “การผสมพันธุ์ปาล์มน้ำมัน” เป็นครั้งแรกโดยกรมการเกษตร (Department of Agriculture : DOA) ที่ตั้งเมื่อปี 2448

 

ปี 2504 ตั้งองค์กรพัฒนาที่ดินแห่งรัฐ (Federal Land Development Authority : FELDA) เพื่อแก้ปัญหาความยากจนและชีวิตความเป็นอยู่ให้กับเกษตรกรมาเลเซียรายย่อยที่ไม่มีที่ทำกิน สำหรับเกษตรกรที่เรียกว่า “เกษตรกรที่ไปอาศัยต่างถิ่น (Settler)” หรือย้ายถิ่นฐานไปหาที่ทำกินในพื้นที่อื่น ส่วนใหญ่เป็นคน “ภูมิปุตรา (Bumiputera)” ซึ่งเป็นคนมาลาเซียดั้งเดิม รวมถึงที่ย้ายถิ่นเข้ามาจากอินโดนีเซีย อินเดียและไทย

 

 ปี 2509 ตั้งองค์กรฟื้นฟูที่ดินแห่งรัฐ (Federal Land Consolidation Rehabilitation Authority : FELCRA) โดยนายกรัฐมนตรีคนที่ 2 ของมาเลเซีย “Tun Abdul Razak Hussein (1970-1976)” ภายใต้ “Group Settlement Act” หน้าที่หลักคือการพัฒนาชนบทและท้องถิ่นให้รายได้และชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นให้กับเกษตกรรายย่อย ปี 2520  ตั้งสำนักงานใบอนุญาตและขึ้นทะเบียนปาล์ม (Palm Registration and Licensing Authority : PORLA) ภายใต้กฎหมาย

 

 

ปี 2519 ที่ให้อำนาจทำหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ในการลงทะเบียนและออกใบอนุญาตสำหรับอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันในทุกขั้นตอน ออกแนวทางปฎิบัตที่ดี ดูแลมาตรฐาน คุณภาพ การแยกเกรดผลิตภัณฑ์น้ำมันปาล์ม ซึ่งควบคุมคุณภาพตั้งแต่ปลูกจนไปถึงการส่งออก และมีอำนาจในการจับ ปรับ (หากเก็บผลปาล์มดิบ จะถูกปรับเฉลี่ย 3.6 บาทต่อ กก.) ปี 2522  ตั้งสถาบันวิจัยน้ำมันปาล์มมาเลเซีย (Palm Oil Research Institute of Malaysia : PORIM) มีหน้าที่การทำวิจัยทั้งหมด ทั้งการผลิต การสกัด แปรรูป การเก็บ การขนส่ง การตลาดและการบริโภค

ปี 2542 ตั้งสภาส่งเสริมน้ำมันปาล์มมาเลเซีย (Malaysian Palm Oil Promotion Council : MPOC) เพื่อขยายตลาดและการยอมรับน้ำมันปาล์มของมาเลเซียในต่างประเทศ เห็นได้จากการตั้งสำนักงานทั่วโลก ได้แก่ จีน ตรุกี มอสโก อียิปต์ บังคลาเทศ อินเดีย ปากีสถาน กานา บรัสเซส และสหรัฐฯ นอกจากนี้ยังมีหน้าออกใบรับรอง “MSPO”

 

ปี 2543 ตั้งคณะกรรมการน้ำมันปาล์มมาเลเซีย (Malaysia Palm Oil Board : MPOB) เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2543 ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม เกิดจากการรวม 2 หน่วยงาน คือ PORLA และ PORIM โดยมีหน้าที่หลักคคือการทำวิจัยและพัฒนา สร้างรายได้ และพัฒนาแบบยั่งยืน

100 ปีปาล์มน้ำมันมาเลย์ กรณีศึกษาประเทศไทย

 

ปี 2554 ปาล์มน้ำมันถูกบรรจุเป็นอุตสาหกรรมหลักของประเทศภายใต้นโยบายปฎิรูปเศรษฐกิจของประเทศ “Economic Transformation Program : ETP”  เพื่อให้เป็นประเทศที่มีรายได้สูงเกิน 15,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ โดยต้นน้ำ เน้นเรื่องปลูกปาล์มพันธุ์ใหม่ทดแทนพันธุ์เก่า เพิ่มผลผลิตต่อไร่ เพิ่มประสิทธิภาพของแรงงาน เพิ่มเปอร์เซ็นต์การให้น้ำมัน (OER) และพัฒนา Biogas ในขณะที่ปลายน้ำเน้นเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์โอเลโอเคมีคัล เน้นเชื้อเพลิงชีวภาพ ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวพรรณ (Bio Oil)  และเน้นกลุ่มอาหารสุขภาพ

 

 

ปี 2558 ตั้งมาตรฐาน “ปาล์มน้ำมันที่มีการผลิตอย่างยั่งยืน (Malaysian Sustainable Palm Oil : MSPO)” โดยกำหนดว่านับตั้งแต่ 1 มกราคม 2563 มีการลงโทษสำหรับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมน้ำมันที่ไม่ได้ “MSPO” จะถูกลงโทษ หรือยกเลิกบัตรอนุญาต   ซึ่งตั้งแต่ปี 2563 การส่งออกสินค้าปาล์มน้ำมันจากมาเลเซียไปตลาดยุโรป ทุกสินค้าต้องผ่านมาตรฐานปาล์มน้ำมันยั่งยืนมาเลเซีย (MSPO)

100 ปีปาล์มน้ำมันมาเลย์ กรณีศึกษาประเทศไทย

 

ปี 2560 ครบ 100 ปีที่เรียกว่า “100 Ulangtahun” สิ่งที่เราได้เรียนรู้ 100 ปีของการพัฒนาอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มและปาล์มน้ำมันมาเลเซียจนประสบความสำเร็จ ผมสามารถสรุปเป็น 4 เรื่องสำคัญคือ 1.การกำหนดมาตรฐานทุกขั้นตอนของอุตสาหกรรม 2.มีหน่วยงานหลักกำหนดทิศทางการพัฒนาคือ “MPOB” 3. มีมาตรฐาน “MSPO” เพื่อสอดคล้องกับแนวโน้มตลาดโลก และ 4.ใช้กฎหมายและระเบียบในการแก้ปัญหาทุกขั้นตอน