สสว.จับมือมช.ขยายช่องทางตลาดออนไลน์ผู้ประกอบการ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน

08 พ.ค. 2562 | 13:22 น.

สสว. ร่วมกับ มช. จัดเปิดโครงการส่งเสริมพัฒนาตลาดอิเล็กทรอนิกส์สำหรับ SME ปี 2562” หน่วยร่วมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และการจัดฝึกอบรมเชิงปฎิบัติการนำผู้ประกอบการที่มีความพร้อมเข้าสู่ตลาดออนไลน์ กิจกรรมอบรมภายใต้ “โครงการส่งเสริมพัฒนาตลาดอิเล็กทรอนิกส์สำหรับ SME ปี 2562” ในเขตพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน เพื่อขยายช่องทางการตลาดออนไลน์แก่ผู้ประกอบการเป้าหมาย 1,350 รายเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2562 ณ.โรงแรมเชียงใหม่แกรนด์วิว จังหวัดเชียงใหม่

สสว.จับมือมช.ขยายช่องทางตลาดออนไลน์ผู้ประกอบการ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน

นายสุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เผยว่า โครงการส่งเสริมพัฒนาตลาดอิเล็กทรอนิกส์สำหรับ SME เป็นโครงการที่ดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปีนี้ก้าวเข้าสู่ปีที่ 3 ภายใต้แนวคิด Digital to Global เพื่อพัฒนา SME ไปสู่การเป็น Modernization และยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการไทย ให้มีศักยภาพในการแข่งขันในตลาดออนไลน์ระดับสากล 

โดยนับตั้งแต่ปี 2560 - 2561 มีผู้ประกอบการ SME ที่เข้าร่วมโครงการแล้วกว่า 120,000 ราย โดยเตรียมความพร้อมในการถ่ายภาพสินค้า และ จัดทำรายละเอียดสินค้ากว่า 265,000 ผลิตภัณฑ์ และเปิดร้านค้าออนไลน์ได้กว่า 20,000 ร้านค้า รวมถึงสร้างยอดขายให้กับผู้ประกอบการกว่า 450 ล้านบาท 

และในปีนี้ยังมีการระดมความรู้ทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ในการทำตลาดออนไลน์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเน้นให้องค์ความรู้ ตั้งแต่การเลือกสินค้าและการกำหนดราคา การจัดทำเนื้อหาและภาพสินค้า ความชำนาญในการบริหารจัดการ และการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำมาประกอบการบริหารจัดการ

สสว.จับมือมช.ขยายช่องทางตลาดออนไลน์ผู้ประกอบการ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน

ดร.ภคินี อริยะ ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมและการจัดการความรู้ วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า จากการบูรณาการความร่วมมือ สสว. ร่วมกับศูนย์นวัตกรรมและการจัดการความรู้ วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในการผลักดันผู้ประกอบการในเขตพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน พะเยา และแม่ฮ่องสอน ให้มีโอกาสเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย เตรียมความพร้อมในการนำสินค้าเข้าสู่ตลาดออนไลน์ ให้ความรู้ คำปรึกษาและ คำแนะนำในการทำธุรกิจบนตลาดออนไลน์ การจัดกิจกรรมสนับสนุนการขายบนตลาดออนไลน์ โดยคัดเลือกและแบ่งกลุ่มผู้ประกอบการเพื่อพัฒนาและส่งเสริมตามความจำเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ (1) ผู้ประกอบการที่ยังไม่มีประสบการณ์เปิดร้านค้าออนไลน์ (2) ผู้ประกอบการที่มีร้านค้าออนไลน์ โดยมีหัวข้ออบรมเกี่ยวกับทิศทางการตลาดออนไลน์ในปี 2562 การถ่ายภาพสินค้าให้มีความน่าสนใจ การเปิดร้านค้าออนไลน์ผ่าน platform e-marketplace ชื่อดังในระดับสากล และ เรียนรู้การจัดการภาษีจากการขายสินค้าออนไลน์ (3) ผู้ประกอบการออนไลน์ที่มีศักยภาพ และ (4) ผู้ประกอบการที่มีศักยภาพนำร่องระบบตัวแทนดูแลผู้ประกอบการ (Agency Model) ภายใต้ Business Coordinator Unit (BCU)

สสว.จับมือมช.ขยายช่องทางตลาดออนไลน์ผู้ประกอบการ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน

ดร.ภคินี  กล่าวอีกว่า สำหรับ ผู้ประกอบการในกลุ่มที่ 3 และกลุ่มที่ 4 เป็นการจัดอบรมพิเศษโดยคัดเลือกจากผู้ประกอบการที่เข้าร่วมกับโครงการ ซึ่งมีการผ่านกระบวนการ และทำการ Spin-off ผู้ประกอบการ เข้ารับการให้คำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ จนนำไปสู่การยกระดับทางธุรกิจด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ทั้งในประเทศและระดับสากล เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจอย่างเป็นระบบและยกระดับผู้ประกอบการให้มีความรู้ความเข้าใจ สามารถแข่งขันในตลาดออนไลน์ได้อย่างยั่งยืน รวมถึงยกระดับการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิตอล (Digital Economy) ซึ่งเป็นแนวทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยการนำเทคโนโลยีดิจิตอลเข้ามาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ เน้นการสร้างช่องทางการจำหน่ายผ่านทางตลาดออนไลน์มากยิ่งขึ้น โดยมีเป้าหมายภาพรวมทั้งประเทศ ประมาณ 5,000 ราย ในส่วนของภาคเหนือ อยู่ที่ประมาณ 1,350 ราย 

จะมีทั้งในส่วนของ SMEs รายใหม่ ก็จะเรียนอีกหลักสูตรหนึ่งเพื่อพัฒนาให้สามารถใช้แพตฟอร์มเป็น ถ่ายรูปเป็น เขียนคอนเท็นต์เป็น แต่ถ้าเป็น SMEs กลุ่มเดิมก็จะเป็นหลักสูตร 2 วัน กลุ่มเดิมก็คือเปิดร้านค้าออนไลน์เป็น เริ่มขายไปแล้วแต่ว่าอาจจะมาอัพเดทความรู้กันอยู่เรื่อยๆ หรืออาจจะยังขาดบางจุดเราก็เติมเต็มให้เขา เช่น การใช้ไลน์แอ็ด เฟชบู๊ค รวมไปถึงพวกแพตฟอร์มใหม่ๆที่เขาควรจะรู้อีกด้วย 

การทำตลาดออนไลน์ถ้าจะให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าให้ได้มากๆ ต้องอิงตามพฤติกรรมของผู้บริโภคโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนไทย คนไทยใช้เฟชบุ๊คเป็นอันดับหนึ่งของโลก ถ้าสังเกตดีๆฝรั่งไม่มีมาขายของแบบมาไลฟ์โชว์ มีแต่เฉพาะคนไทยทำ กลายเป็นว่าแพตฟอร์ม เฟชบุ๊ค ต่อมาก็คือ ไลน์ ก็เป็นอีกแพตฟอร์มหนึ่งที่เป็นที่นิยมและใช้งานได้ดี แต่ส่วนอื่นๆที่เป็นอีมาร์เก็ตเพรส เช่น ซ้อปปี้ ลาซาด้า คือใช้งานง่าย สมัครงานง่ายและเราสามารถที่จะโพสต์ขายได้ง่ายๆ 

มองว่าในฐานะผู้ทำแพตฟอร์มเขาดีไลน์มาแล้วให้เซลล์เล่อร์ใช้งานได้ง่ายและเกิดประโยชน์จริงๆสำหรับการขาย และตอนนี้ที่มาแรกก็จะเป็นเฟสบุ๊ค แต่ทุกอย่างก็มีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป ทำเป็นแพดของตัวเอง ติดต่อซื้อขายก็จะมีแซทอินบ๊อกเข้ามา แต่ก็ไม่ใช่เป็นระบบที่ชำระเงินได้อย่างชัดเจน แต่ถ้าช็อปปี้ ลาซาด้า หรือแพตฟอร์มอื่นๆจะชัดเจน จะเป็นการจ่ายเงินที่ค่อนข้างปลอดภัย น่าเชื่อถือ คุณสมบัติที่ดีต่างกันไปและมีความเสี่ยงที่แตกต่างกัน

สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจสามารถติดตามข่าวสาร และสมัครเข้าร่วมการอบรมได้ด้วยตนเองผ่านแอพลิเคชั่น SME Connext หรือผ่านเว็บไซต์ http://www.smeonline.info