เอพีเดินหน้า สร้าง Innovation Culture

02 มี.ค. 2562 | 04:00 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

บมจ. เอพี (ไทยแลนด์) ถือเป็นองค์กรด้านอสังหาริมทรัพย์ อันดับต้นๆ ที่เตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงจาก Digital Disruptive  ด้วยการลงทุนใหญ่ทั้งการเพิ่มพูนทักษะความรู้ใหม่ๆให้ทีมงาน ด้วยกระบวนการ Design Thinking จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด มาต่อยอดธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เดิมไปสู่ธุรกิจใหม่ โดยมีเป้าหมายให้นวัตกรรมที่คิดค้น จับต้องได้ และใช้งานได้จริง จนล่าสุด ได้ออกมาจัดตั้งเป็น 3 บริษัทใหม่ คือ

บริษัท วาริ จำกัด ทำธุรกิจสร้างระบบนิเวศ ที่สนับสนุนการบริหารจัดการคุณภาพชีวิต บริษัท เคลย์มอร์ จำกัด ทำธุรกิจพัฒนานวัตกรรมดีไซน์ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการที่ยังไม่ถูกค้นพบของคน (Unmed Need) และ บริษัท เอสอีเอซี ซึ่งเป็นศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการใหม่ๆ

แต่ทั้งหมดนั่น ยังไม่เพียงพอต่อการตั้งรับการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรม “อนุพงษ์ อัศวโภคิน” ซีอีโอ เอพี ยังคัดเลือกคนรุ่นใหม่ 5 คน ที่ไม่ได้มีประสบการณ์ด้านอสังหาริมทรัพย์ มาสร้างเป็น Core Team ทำหน้าที่ค้นคิดนวัตกรรมโปรดักส์และเซอร์วิส โดยทำงานร่วมกับ Team Mem ซึ่งเป็นทีมงานของเอพี และทีมนี้จะนำมาพัฒนาต่อให้เกิดเป็นโปรดักส์หรือเซอร์วิสจริง โดยมี “วิทการ จันทวิมล” รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานกลยุทธ์องค์กรและการสร้างสรรค์ เอพี ช่วยให้คำปรึกษาด้านการตลาด ส่วนน้องๆ Core Team ก็จะออกไปคิดโปรเจคใหม่ต่อไป

การที่ตั้งทีมนี้ขึ้นมา เนื่องจากทุกอย่างมันเปลี่ยนไปเรื่อยๆ เพราะฉะนั้น โปรดักส์ และเซอร์วิสที่มีให้กับผู้บริโภค ก็จะเปลี่ยนแปลงไปตามด้วยเช่นกัน นวัตกรรมที่จะเกิดขึ้น จะต้องตอบโจทย์เรื่องคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคน และหากนวัตกรรมนั้นๆ ติดขัด ยังไม่เป็นไปตามเป้า บิ๊กดาต้า ก็คือ หัวใจสำคัญที่จะนำเข้าไปปรับโปรดักส์และเซอร์วิสที่จะเกิดขึ้น ซึ่งขณะนี้ มี 2 โมเดลใหม่ที่กำลังพัฒนา และยังติดปัญหาที่บิซิเนสโมเดล ว่าควรเป็นอย่างไร

 

ซีอีโอ เอพี ยังพยายามพัฒนาและปรับปรุงองค์กรอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากสิ่งที่ดำเนินการไปแล้ว 2-3 ปีที่ผ่านมา ล่าสุด ยังให้มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด เข้ามาทำวิจัยภายในองค์กร ด้วยโจทย์ในการพัฒนาเอพีแบบเดิมๆ ให้เปลี่ยนเป็น Innovation Culture หรือ วัฒนธรรมนวัตกรรม ให้ได้

ผู้บริหารของเอพี ยอมรับว่า กระบวนการนี้ไม่สามารถปรับเปลี่ ยนได้เร็ว เพราะทุกอย่างยังคงเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ วันนี้ เอพีมีแอพพลิเคชั่นสำหรับการตรวจรับบ้าน มีเทคโนโลยีในการสร้างบ้านแบบใหม่ แต่มันไม่ใข่แค่นั้น เพราะการจะปรับเปลี่ยนต้องเดินไปข้างหน้าก่อน ผู้มให้บริการต้องเข้าใจความต้องการลึกๆ ข้างในของผู้บริโภค

นอกจากนี้ การปรับเปลี่ยนที่จะเกิดขึ้น ต้องคำนึงถึงคนรุ่นเก่า รุ่นใหม่ ที่จะต้องรวมเป็นหนึ่งเดียว มีแนวคิดไปในทิศทางเดียวกัน เพราะฉะนั้น ต้องมาศึกษากันว่า จะต้องเปลี่ยนอย่างไร เปลี่ยนจากหน้างาน หรือมีหาอะไรเข้ามาเพื่อทำให้ เกิดกาเรปลี่ยนเปลี่ยนแปลง สิ่งเหล่านี้จะค่อยๆ ซึม แล้วค่อยๆ เปลี่ยนคนต้องค่อยๆ เห็นภาพ

ภาพที่ชัดเจนของ เอพี ขณะนี้ คือ “นวัตกรรม” และเมื่อเปลี่ยนแล้วผลลัพธ์ที่ได้ คือ การเพิ่มคุณภาพของโปรดักส์ และเซอร์วิสให้ดีขึ้น เพื่อตอบโจทย์คนให้มากที่สุด

ความยากลำบากของการเปลี่ยนแปลงที่ เอพี กำลังทำอยู่ คือ การเปลี่ยนความคิดของคน ผู้บริหารเอพี บอกว่า ที่ผ่านมาเอพีประสบความสำเร็จมาก มีการเติบโตสูง เพราะฉะนั้นทีมงานจะมองว่า ทุกอย่างมันดีอยู่แล้ว ฉันทำดีแล้ว จะต้องเปลี่ยนทำไม...คนยิ่งแก่ ยิ่งเก่ง จะยิ่งมีอีโก้ และเมื่อมีอีโก้ การเปลี่ยนแปลงจะทำได้ยาก อย่างไรก็ตาม คงจะต้องรอดูกันประมาณ เมษายน ที่จะถึงนี้ ว่าผลลัพธ์ที่ไ่ด้จากการทำวิจัยของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด จะออกมาเป็นอย่างไร จากกจุดนั้น จึงมีคำตอบที่ชัดเจนได้ว่า เส้นทางของเอพี ในรูปแบบ Innovation Culture จะเดินหน้าต่อไปอย่างไร