คุม "ค่าหมอ-ยา" เป็นธรรม! ตัดเส้นเลือดใหญ่ธุรกิจ ร.พ.เอกชน 2.3 แสนล้าน

24 ม.ค. 2562 | 07:22 น.
240162-1408

ครม. ไฟเขียวคุมค่ายา เวชภัณฑ์ และบริการทางการแพทย์ ตัดเส้นเลือดใหญ่ทำเงินหล่อเลี้ยงธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนกว่า 2.3 แสนล้าน สมาคมวินาศภัยขานรับ จ่อลดเบี้ยประกัน 'หมอบุญ' หนุนลอยตัวคิดค่าบริการตามจริง

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 22 ม.ค. 2562 ได้มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอการกำหนดสินค้าและบริการควบคุม ปี 2562 จำนวน 52 รายการ โดยเพิ่มรายการสินค้าและบริการควบคุม 2 รายการ ได้แก่ 1.เวชภัณฑ์เกี่ยวกับการรักษา (หมวดยารักษาโรคและเวชภัณฑ์) เพื่อให้มีการกำกับดูแลให้ครอบคลุมถึงเวชภัณฑ์ ซึ่งเป็นวัสดุหรืออุปกรณ์ที่จำเป็น และมีการใช้ในโรงพยาบาลเป็นจำนวนมาก เช่น ผ้าพันแผล สายน้ำเกลือ เข็มฉีดยา เป็นต้น 2.บริการรักษาพยาบาล บริการทางการแพทย์ และบริการอื่นของสถานพยาบาลเกี่ยวกับการรักษาโรค (หมวดบริการ) เนื่องจากกระทรวงพาณิชย์ได้รับการร้องเรียนจากภาคประชาชนเกี่ยวกับปัญหาค่ายาและค่ารักษาพยาบาลของโรงพยาบาลสูงเกินจริง

 

[caption id="attachment_378983" align="aligncenter" width="314"] สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์[/caption]

นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ย้ำว่า มาตรการที่ออกมาจะทำด้วยความรอบคอบ โดยหารือร่วมกับกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้ได้มาตรการที่เหมาะสมและเป็นธรรมกับทุกฝ่าย เพราะต้นทุนการประกอบการไม่เหมือนกัน แต่ก็ยังมีเสียงคัดค้านจากผู้ประกอบการโรงพยาบาลเอกชนที่เชื่อว่า มาตรการดังกล่าวจะส่งผลต่อการดำเนินกิจการ

สำนักงานสถิติแห่งชาติสำรวจโรงพยาบาลและสถานพยาบาลเอกชน พ.ศ. 2560 พบว่า ในปี 2559 โรงพยาบาลและสถานพยาบาลเอกชนมีรายรับจากการดำเนินกิจการ 2.34 แสนล้านบาท เมื่อหักค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ 1.34 แสนล้านบาท มีผลต่างหรือกำไรราว 9.94 หมื่นล้านบาท โดยแหล่งที่มาของรายได้ของโรงพยาบาลและสถานพยาบาลเอกชน 60% มาจากค่ายาและค่าบริการทางการแพทย์ หรือประมาณ 1.4 แสนล้านบาท ส่วนที่เหลืออีก 40% มาจากค่าบริการอื่น ๆ เช่น ห้องปฏิบัติการ ห้องเอกซเรย์ ห้องพักผู้ป่วย ฯลฯ ดังนั้น เมื่อกระทรวงพาณิชย์มีมาตรการคุมค่ายา เวชภัณฑ์ และค่าบริการทางการแพทย์ ซึ่งเป็น 2 กลุ่มหลักที่ทำรายได้ให้กับโรงพยาบาลเอกชน จึงเป็นเหมือนการตัดเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงธุรกิจ


P1-INFO-3438

"ที่ผ่านมา โรงพยาบาลเอกชนผนึกรวมเป็นเครือข่ายมากขึ้น เพราะต้องการควบคุมเรื่องของต้นทุนและการบริหารจัดการ เช่น การสั่งซื้อยาในปริมาณมากและโดยตรงจากผู้ผลิต การแลกเปลี่ยนแพทย์เฉพาะทาง การใช้เครื่องมือในการตรวจรักษาร่วมกัน รวมไปถึงการส่งต่อผู้ป่วยเข้ารับการรักษาพยาบาล ขณะที่ ค่าบริการทางการแพทย์ แพทย์จะเป็นผู้กำหนดเองว่าจะเรียกเก็บค่าบริการเท่าไร โดยโรงพยาบาลจะเป็นผู้กำหนดกรอบการคิดค่าบริการทางการแพทย์ ค่ารักษาพยาบาลโรคต่าง ๆ และต้องแจ้งให้ผู้ป่วยรับทราบก่อนเข้ารับการรักษา ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดของกระทรวงสาธารณสุข" แหล่งข่าวระดับสูงจากโรงพยาบาลเอกชนรายหนึ่ง กล่าว


➣ ลดเบี้ยประกันรับคุมค่ายา

นายจีรพันธ์ อัศวะธนกุล นายกสมาคมวินาศภัยไทยและในฐานะกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ประกันภัยไทยวิวัฒน์ฯ (TVI) ระบุว่า สมาคมวินาศภัยขอศักษาหลักเกณฑ์การควบคุมในรายละเอียดอีกครั้ง แต่ในส่วนของประกันวินาศภัยน่าจะมีผลเชิงบวก เพราะทางการต้องการควบคุมต้นทุนในการรักษาพยาบาล ราคายาและหมอ ซึ่งเป็นสัญญาณที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค หากควบคุมค่าห้องหรือค่ายา ก็จะเอื้อต่อการคำนวณเบี้ยประกันที่ปรับลดลง ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของผู้ถูกควบคุมทั้ง 2 กลุ่ม คือ โรงพยาบาลเอกชนและผู้บริโภค ว่า มีข้อสรุปอย่างไร เพราะหากเป็นเรื่องยาก็จะมีหลายยี่ห้อ หลายระดับราคา เช่นเดียวกับราคาห้องรักษาพยาบาล

 

[caption id="attachment_378913" align="aligncenter" width="500"] คุม "ค่าหมอ-ยา" เป็นธรรม! ตัดเส้นเลือดใหญ่ธุรกิจ ร.พ.เอกชน 2.3 แสนล้าน เพิ่มเพื่อน [/caption]

เชื่อรัฐไม่แทรกแซงราคา

น.พ.เฉลิม หาญพาณิชย์ ที่ปรึกษาและอดีตนายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชน กล่าวกับ "ฐานเศรษฐกิจ"
ว่า สมาคมไม่มีความกังวลใด ๆ เนื่องจากเชื่อว่า รัฐบาลจะให้ความเป็นธรรมกับภาคเอกชน และจะไม่เข้ามาแทรกแซงเรื่องของราคา ขณะเดียวกัน เรื่องกฎหมายที่แตกต่างกันยังคงเป็นปัญหาปัจจุบันที่ทำให้เกิดความแตกต่างด้านการดำเนินงาน หากทุกฝ่ายเข้าร่วมพูดคุยหารือทางออกร่วมกัน เชื่อว่าจะเป็นผลดีต่อทุกฝ่าย โดยเฉพาะประชาชน และทางสมาคมเองยินดีที่จะเข้าร่วมประชุมเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาครั้งนี้


หนุนคิดค่าบริการตามจริง

น.พ.บุญ วนาสิน ประธานกรรมการ บริษัท ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ THG กล่าวว่า ส่วนตัวเห็นด้วยและมองว่าเป็นเรื่องที่ดี ที่จะช่วยให้ประชาชนและภาครัฐมองเห็นต้นทุนของโรงพยาบาลเอกชนในการคิดค่าบริการตามจริง เพราะปัจจุบันโรงพยาบาลเอกชนส่วนใหญ่มีการคิดค่าบริการต่ำกว่าต้นทุนจริงอยู่แล้ว ยกตัวอย่าง เช่น การรักษาผู้ป่วยนอกต่อคนต่อครั้งเฉลี่ย โรงพยาบาลมีต้นทุนเริ่มต้น 3,000 บาท แต่เมื่อคิดค่ารักษาพยาบาลจริงเริ่มต้นราว 1,500 บาท และจะหันไปเก็บส่วนต่างจากค่าบริการและค่ายาเพื่อชดเชยแทน โดยในส่วนของโรงพยาบาลนั้นมีกำไรเพียง 10% เท่านั้น เพื่อให้เพียงพอกับค่าใช้จ่ายอื่นและโรงพยาบาลอยู่ได้

 

[caption id="attachment_378986" align="aligncenter" width="503"] น.พ.บุญ วนาสิน ประธานกรรมการ บริษัท ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ THG น.พ.บุญ วนาสิน ประธานกรรมการ บริษัท ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ THG[/caption]

"หลังมาตรการนี้มีผลบังคับใช้ มองว่า ควรให้โรงพยาบาลเอกชนสามารถคิดต้นทุนค่าห้อง ค่ารักษา และการบริการได้ตามจริง เพราะโรงพยาบาลเอกชนนั้นมีต้นทุนในการดำเนินงานแตกต่างจากโรงพยาบาลรัฐทั่วไป ที่มีเงินสนับสนุนจากภาครัฐ จะนำมาเปรียบเทียบและกำหนดข้อบังคับต่าง ๆ ไม่ได้ โดยเฉพาะในส่วนของค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วย ควรจะให้มีการคิดตามต้นทุนจริงและควบคุมในส่วนของค่ายาตามที่กำหนด เหมือนดังเช่นโรงพยาบาลในต่างประเทศหลายแห่ง ที่มีการคิดต้นทุนค่ารักษาพยาบาลตามจริง 100% และไม่มีการคิดกำไรจากค่ายา"


……………….

หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 39 ฉบับที่ 3,438 วันที่ 24 - 26 ม.ค. 2562 หน้า 01-02

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
'สนธิรัตน์' เผย ครม. อนุมัติ "คุมค่ายา-บริการการแพทย์" ยัน! เป็นธรรมทุกฝ่าย
สมาคม ร.พ.เอกชน ชี้! คุมค่ายา คุมกำเนิดการลงทุนเทคโนโลยี ร.พ.


เพิ่มเพื่อน
โปรโมทแทรกอีบุ๊ก