ประกาศราชกิจจาฯแล้ว"กฎหมายน้ำ" เริ่มใช้บังคับตั้งแต่ 27 ม.ค.2562 นี้

28 ธ.ค. 2561 | 09:32 น.
วันนี้ (28ธ.ค.2561) เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่พระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)ทรัพยากรน้ำ พ.ศ.2561 ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 135 ตอนที่ 112 ก ประจำวันที่ 25 ธันวาคม 2561 โดยพ.ร.บ.นี้ ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นก้าหนด 30 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป เว้นแต่บทบัญญัติในหมวด 4 การจัดสรรน้ำและการใช้น้ำ และมาตรา 104 ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 2 ปีนับแต่วันที่พ.ร.บ.นี้ ใช้บังคับเป็นต้นไป

water1 เหตุผลในการประกาศใช้ พ.ร.บ.ฉบับนี้ คือ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ประเทศไทยได้ประสบกับปัญหาการบริหารทรัพยากรน้้าในหลายด้าน โดยมีหน่วยงานเกี่ยวข้องที่มีหน้าที่และอำนาจตามกฎหมายหลายฉบับ ถึงแม้รัฐบาลจะได้แต่งตั้งให้มีคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติทำหน้าที่ในการบูรณาการ และบริหารทรัพยากรน้้าอย่างเป็นระบบในทุกมิติแล้วก็ตาม แต่ก็ยังคงมีความจำเป็นที่สมควรจะมีกฎหมายในการบูรณาการเกี่ยวกับการจัดสรร การใช้ การพัฒนา การบริหารจัดการ การบำรุงรักษา การฟื้นฟู การอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ และสิทธิในน้ำ เพื่อให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถบริหารทรัพยากรน้ำ ให้มีความประสานสอดคล้องกันในทุกมิติอย่างสมดุลและยั่งยืน S__18382851
รวมทั้งวางหลักเกณฑ์ในการประกันสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน ในการเข้าถึงทรัพยากรน้ำสาธารณะ ตลอดจนจัดให้มีองค์กรบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ทั้งในระดับชาติ ระดับลุ่มน้ำ และระดับองค์กรผู้ใช้น้ำ ซึ่งสะท้อนการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อร่วมกันบริหารทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 9 ของพ.ร.บ.นี้ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า“คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ” หรือกนช.ประกอบด้วย

(1) นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ
(2) รองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นรองประธานกรรมการ
(3) กรรมการโดยตำแหน่ง ได้แก่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) เลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ(กปร.) และผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
(4) กรรมการผู้แทนคณะกรรมการลุ่มน้ำจำนวน 6 คน ซึ่งได้รับการคัดเลือกมาจากกรรมการลุ่มน้ำ ผู้แทนองค์กรผู้ใช้น้ำ กรรมการลุ่มน้ำ ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และกรรมการลุ่มน้ำผู้ทรงคุณวุฒิ
(5) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 4 คน ซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ และผลงานเป็นที่ประจักษ์ไม่น้อยกว่า5ปี ในด้านการเกษตร ด้านทรัพยากรน้ำ ด้านผังเมือง ด้านสิ่งแวดล้อม หรือด้านอุตสาหกรรมให้เลขาธิการเป็นกรรมการและเลขานุการ และให้เลขาธิการแต่งตั้งข้าราชการของสำนักงานอีกไม่เกิน 2 คนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ TP-15-3297-5-503x468
พ.ร.บ.นี้จำแนกการใช้ทรัพยากรน้ำสาธารณะเป็น 3 ประเภท คือ (1) การใช้การทรัพยากรน้ำสาธารณะเพื่อการดำรงชีพ การอุปโภคบริโภคในครัวเรือน การเกษตรหรือการเลี้ยงสัตว์เพื่อยังชีพ การอุตสาหกรรมในครัวเรือน การรักษาระบบนิเวศ จารีตประเพณี การบรรเทาสาธารณภัย การคมนาคม และการใช้น้ำในปริมาณเล็กน้อย
(2) การใช้ทรัพยากรน้ำสาธารณะเพื่อการอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การผลิตพลังงานไฟฟ้า การประปาและกิจการอื่น และ(3) การใช้ทรัพยากรน้ำสาธารณะเพื่อกิจการขนาดใหญ่ ที่ใช้น้ำปริมาณมาก หรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบข้ามลุ่มน้ำ หรือครอบคลุมพื้นที่อย่างกว้างขวาง water2 โดยการใช้น้ำประเภทที่ 1 ไม่ต้องขอรับใบอนุญาตการใช้น้ำและไม่ต้องชำระค่าน้ำ ส่วนการใช้ประเภทที่ 2 และ 3 ต้องขอรับใบอนุญาตการใช้และต้องชำระค่าใช้น้ำ ตามอัตราที่กำหนด  children-1822704_1920
ตามพ.ร.บ.นี้ในมาตรา 60 ยังบัญญัติ ในกรณีที่เกิดภาวะน้ำแล้งอย่างรุนแรงในพื้นที่ใด ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งให้บุคคลซึ่งกักเก็บน้ำไว้ ต้องเฉลี่ยน้ำเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในการอุปโภคบริโภคของประชาชนในพื้นที่ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่นายกรัฐมนตรีประกาศกำหนด ในกรณีเช่นว่านี้ ให้ผู้กักเก็บน้ำดังกล่าว มีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากการที่ต้องสูญเสียน้ำที่กักเก็บไว้ นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการ สทนช.

ด้านนายสมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยว่า กฎหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายที่มีความสำคัญ และเป็นกฎหมายฉบับแรกในประเทศไทย ที่ได้ถูกตราขึ้นมาเพื่อใช้เป็นกฎหมายหลักในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำทั้งระบบของประเทศ เนื่องจากที่ผ่านมาประเทศไทยประสบปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำในหลายด้าน และมีการดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นโดยหลายหน่วยงาน ตามอำนาจหน้าที่ซึ่งกำหนดไว้ในกฎหมายหลายฉบับ ทำให้การดำเนินงานแก้ไขปัญหาขาดความเป็นเอกภาพ กฎหมายฉบับนี้จึงเป็นกฎหมายที่จะบูรณาการเกี่ยวกับการใช้ การพัฒนา การบริหารจัดการ การบำรุงรักษา การฟื้นฟู และการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำให้เกิดความเป็นเอกภาพ กำหนดมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาภาวะน้ำแล้งและภาวะน้ำท่วม วางหลักเกณฑ์ในการประกันสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนในการถึงทรัพยากรน้ำสาธารณะ ตลอดจนจัดให้มีองค์กรบริหารจัดการทรัพยากรน้ำทั้งในระดับชาติ ระดับลุ่มน้ำ และระดับองค์กรผู้ใช้น้ำ ซึ่งสะท้อนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการร่วมกันบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ กรมฝนหลวงฯ 29361_๑๘๑๒๒๘_0008
ทั้งนี้ พระราชบัญญัติ ทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 เป็น 1 ใน 3 เสาหลักที่เป็นกลไกในการแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการน้ำของประเทศ (เสาหลักที่ 1 แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เสาหลักที่ 2 มีองค์กรกลางที่เป็นหลักเขื่อมระหว่างระดับนโยบายระดับชาติ จนถึง ระดับท้องถิ่น และ เสาหลักที่ 3 พ.ร.บ. ทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561) โดยโครงสร้างของพระราชบัญญัติฉบับนี้ ประกอบด้วย 9 หมวด และบทเฉพาะกาล จำนวน 106 มาตรา ประกอบด้วย หมวด 1 ทรัพยากรน้ำ หมวด 2 สิทธิในน้ำ หมวด 3 องค์กรบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ สถานการณ์น้ำเพชรบุรี_๑๘๑๒๒๘_0010 หมวดที่ 4 การจัดสรรน้ำและการใช้น้ำ หมวดที่ 5 ภาวะน้ำแล้งและภาวะน้ำท่วม หมวด 6 การอนุรักษ์และการพัฒนาทรัพยากรน้ำสาธารณะ หมวด 7 พนักงานเจ้าหน้าที่ หมวด 8 ความผิดทางแพ่งในกรณีเกิดความเสียหายต่อทรัพยากรน้ำสาธารณะ หมวด 9 บทกำหนดโทษ และบทเฉพาะกาล ทั้งนี้ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป เว้นแต่บทบัญญัติในหมวด 4 การจัดสรรน้ำและการใช้น้ำ และมาตรา 104 ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสองปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเป็นต้นไป

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/A/112/T_0044.PDF

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว