ข้าพระบาท ทาสประชาชน : GPSC ซื้อ GLOW ใครได้ใครเสีย? ผูกขาดหรือแข่งขัน (1)

07 ก.ค. 2561 | 20:31 น.
256645965 GPSC หรือ บริษัท โกล บอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ ยี่ จํากัด (มหาชน) เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2557 โดยบริษัท ปตท จํากัด (มหาชน) และกลุ่มบริษัทในเครือ เพื่อให้ GPSC เป็นเครื่องมือในกลุ่มของบริษัทในเครือ ปตท.สําหรับการประกอบธุรกิจด้านพลังงานไฟฟ้าแข่งขันกับเอกชนในรูปแบบต่างๆ โดยปตท.มีสัดส่วนการลงทุนใน GPSC ทั้งในทางตรงและทางอ้อมรวมกันถึง 75% ดังนี้

บริษัท ปตท.ฯถือหุ้น 22.58%, PTTGC หรือ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จํากัด (มหาชน) 22.73%, บริษัท ไทยออยล์เพาเวอร์ จํากัด 20.79%, และบริษัท ไทย ออยล์ จํากัด (มหาชน) 8.91% ด้วยเหตุนี้้จึงทําให้ บริษัท ปตท.ฯ มีอํานาจควบคุมและครอบงํากิจการของ GSPC อย่างเบ็ดเสร็จตามนัยของ พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฯ มาตรา 247 ที่บัญญัติว่า “บุุคคลใดซื้อหรือได้มาไม่ว่าด้วย ตนเองหรือร่วมกับบุคคลอื่นหรือกระทําการอื่นใด อันเป็นผลหรือจะเป็นผลให้ตนหรือบุคคลอื่นเป็นผู้ถือหลักทรัพย์ในกิจการรวมกันถึง 25% ขึ้นไปของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการนั้น ให้ถือว่าเป็นการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ....”
TP6-3380-A การมีสัดส่วนการลงทุนเพียง 25% ก็ถือเป็นผู้มีอํานาจควบคุมและครอบงํากิจการแล้วตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว นอกจาก ปตท. และกลุ่มบริษัทในเครือจะเป็นผ้ถูือหุ้นใหญ่ที่สดุใน GPSC ดังกล่าวแล้ว ปตท.ยังได้ส่งผู้บริหารของตนมานั่งเป็นผ้บูริหารระดับสูงของ PTTGC, Thaioil, Thaioil Power ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของ GPSC และยิ่งไปกว่านั้น ผู้บริหารระดับสูงของ GPSC ในขณะเดียวกันก็ดํารงตําแหน่งเป็นรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ของบริษัท ปตท.ฯด้วย อันสะท้อนภาพให้เห็นชัดเจนว่า ปตท.ครอบงํากิจการของ GPSC เบ็ดเสร็จเด็ดขาดอย่างไร ทั้งนี้ดังปรากฏตามผังภาพที่แสดงให้เห็น ประกอบบทความนี้

GPSC ในการประกอบธุรกิจด้านไฟฟ้า กลับมิได้ดําเนินกิจการด้วยตนเอง หากแต่ทยอยเข้าซื้อหุ้นกิจการโรงไฟฟ้าจากบริษัทอื่นๆ เช่น โรงไฟฟ้าราชบรุี, โรงไฟฟ้า IRPC, โรงไฟฟ้านวนคร, โรงไฟฟ้าบางปะอิน เป็นต้น โดยมิได้ดําเนินกิจการเพื่อพัฒนากิจการของตนแต่อย่างใด จนกระทั่งต่อมาเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2561 ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จํากัด (มหาชน)หรือ GPSC ก็ได้มีมติให้ GPSC เข้าซื้อหุ้นของ บริษัท โกลว์ พลังงาน จํากัด (มหาชน) หรือ GLOW ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตไฟฟ้ารายใหญ่ รวมจํานวนทั้งสิ้น 1,010,976,033 หุ้น คิดเป็น 69.11% ของหุ้นที่ออกจําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของGLOW ในราคาซื้อขายหุ้นละ 96.50 บาท คิดเป็นเงิน 97,559 ล้านบาท เพื่อมุ่งสู่ธุรกิจแข่งขันด้านการผลิตไฟฟ้ากับเอกชนรายอื่นๆ ที่ดําเนินกิจการอยู่ก่อนตามนโยบายรัฐ

[caption id="attachment_296205" align="aligncenter" width="503"] นายเติมชัย บุนนาค กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC นายเติมชัย บุนนาค กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC[/caption]

นอกจากนี้ยังมีมติให้ทําคําเสนอเข้าซื้อหุ้นส่วนที่เหลือทั้งหมดใน GLOW เป็นจํานวนทั้งสิ้น 451,889,002 หุ้น คิดเป็น 30.89% ของหุ้นที่ออกจําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของ GLOW ในราคาเดียวกัน เรียกว่าเข้าซื้อหุ้น GLOW 100%

การเข้าเทกโอเวอร์บริษัท โกลว์ฯ ครั้งนี้ของ GPSC ภายใต้การครอบงํากิจการโดย ปตท. จึงเป็นกรณีที่น่าศึกษาอย่างยิ่งว่าการกระทําการดังกล่าวของ ปตท.เป็นการดําเนินกิจการตามวัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง ปตท.หรือไม่, เป็นการควบรวมกิจการที่ทําให้ ปตท.เป็นผู้ผูกขาดและมีอํานาจเหนือตลาดและครอบงํากิจการไฟฟ้าด้วยหรือไม่
shutterstock_10842496280fd นอกจากที่ผูกขาดกิจการก๊าซธรรมชาติและนํ้ามันอยู่แต่เดิม และการควบรวมกิจการดังกล่าว ถือเป็นการกระทําที่ชอบด้วยกฎหมายเกี่ยวกับการกํากับกิจการพลังงาน และรัฐธรรมนูญ มาตรา 75 หรือไม่ กรณีนี้จึงเป็นกรณีที่น่าศึกษาและมีข้อพิจารณาในหลายประเด็นสำหรับผู้ประกอบธุรกิจ และประชาชนโดยทั่วไป ในที่สุดหน่วยงานรัฐที่มีหน้าที่กํากับดูแลกิจการด้านพลังงาน คือ คณะกรรมการกํากับกิจการพลังงาน (กกพ.) ที่มีอํานาจ หน้าที่ ตาม พ.ร.บ.การประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ.2560 จะมีแนวทางและวินิจฉัยเรื่องนี้อย่างไร จะอนุญาตให้ ปตท. ดําเนินการดังกล่าวได้หรือไม่

ในมุมมองของผู้เขียนและในฐานะนักกฎหมายที่สนใจศึกษาเรื่องการผูกขาด การใช้อํานาจเหนือตลาด ที่ทําลายการแข่งขันทางการค้าอย่างไม่เป็นธรรม จึงขอเสนอมุมมองและประเด็นข้อพิจารณาต่อผู้อ่านและสังคมธุรกิจทั้งหลาย รวมถึงหน่วยงานรัฐและองค์กรผู้กำกับกิจการด้านนี้ ได้ร่วมกันโปรดพิจารณาเพื่อหลักการที่ถูกต้อง เหมาะสม เป็นธรรม อันจะเกิดประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจ และต่อประเทศชาติประชาชนโดยรวมต่อไป

| คอลัมน์ : ข้าพระบาท ทาสประชาชน
| โดย : ประพันธุ์ คูณมี
| หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3380 หน้า 6 ระหว่างวันที่ 5-7 ก.ค.2561
e-book-1-503x62