ทูตเกษตรถอดโมเดลตปท.ชง “กฤษฎา” หวังดึงไทยพ้นกับดักสินค้าเกษตรล้น

20 มิ.ย. 2561 | 10:38 น.
ทูตเกษตร ถอดโมเดลต่างประเทศ ส่งการบ้าน “กฤษฎา” หวัง ดึงไทยพ้นกับดักสินค้าเกษตรล้น

นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ ” ได้มีการสอบถามไป ถึงการบริหารจัดการภาคการเกษตรกรรมในต่างประเทศ ที่ทูตเกษตรไทยไปประจำอยู่นั้นว่า แต่ละประเทศที่เป็นคู่ค้านั้นมีการกำหนด ประกาศวางแผนการผลิตหรือไม่ มีตอบมา 3 ประเทศ ได้แก่ 1. ประเทศจีน ประสบปัญหาโครงสร้างอุปสงค์อุปทานผลผลิตทางการเกษตรที่ขาดความสมดุล กอร์ปกับการจัดสรรทรัพยากรไม่เหมาะสม ทำให้ในปี 2558 รัฐบาลได้มีประกาศแผนการปฏิรูปโครงสร้างอุปทานการเกษตรของจีน แต่เนื่องจากประเทศจีนเป็นประเทศแผ่นดินใหญ่ ทำให้แต่ละมณฑลในแต่ละภูมิภาคมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ค่อนข้างสูง ทำให้แผนการปฏิรูปโครงสร้างอุปทานการเกษตรของจีนที่ประกาศจากส่วนกลาง เป็นเพียงแนวทางปฏิบัติที่สำคัญเท่านั้น โดยให้แต่ละมณฑลนำไปประยุกต์ใช้จริงตามสถานการณ์ในท้องที่นั้นๆ พอสรุปได้สังเขปดังต่อไปนี้
kidda2 “อุตสาหกรรมการเพาะปลูก จีนต้องรักษาระดับความมั่นคงทางด้านอาหาร ดังนั้นจำเป็นต้องกำหนดพื้นที่การเพาะปลูกที่มั่นคง รัฐบาลยังคงมีมาตรการรับประกันราคาต่ำสุดของข้าวสาลีและธัญพืช ในขณะเดียวกันก็เร่งการประชาสัมพันธ์นโยบายชี้นำเกษตรกรให้จัดสรรพื้นที่เพาะปลูกให้สมเหตุสมผล เร่งพัฒนาข้าวพันธุ์ดีและข้าวสาลี พยายามรักษาพื้นที่การเพาะปลูกข้าวสาลี และธัญพืชให้อยู่ที่ประมาณ 300 ล้านไร่ โดยคัดเลือกพื้นที่ที่มีสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศน์ที่ดี ทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์ และเป็นพื้นที่ติดอยู่เป็นผืนเดียวกัน และมีโครงสร้างพื้นฐานที่ค่อนข้างจะสมบูรณ์ ประมาณ 375 ล้านไร่ เป็นพื้นที่ผลิตสินค้าเสบียงอาหาร และอีก 9.91 แสนไร่เป็นพื้นที่อนุรักษ์ในการเพาะปลูกผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่สำคัญ”

สำหรับการปรับโครงสร้างนั้น จีนมีการลดพื้นที่เพาะปลูกข้าวโดยปล่อยให้เป็นไปตามกลไกอุปสงค์อุปทานของตลาด การลดพื้นที่การเพาะปลูกข้าวเมล็ดสั้น ในเขตที่มีผลผลิตต่ำในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การลดพื้นที่เพาะปลูกข้าวเมล็ดยาวกลมในเขตเพาะปลูกสองฤดูในเขตลุ่มแม่น้ำฉางเจียง ลดพื้นที่เพาะปลูกข้าวให้เหลือเพียง 4.16 ล้านไร่ ลดการปลูกพืชที่ใช้น้ำและปุ๋ยมาก รวมถึงพืชเกิดโรคระบาดได้ง่าย โดยเฉพาะลดการเพาะปลูกข้าวสาลีในมณฑลซินเจียงและในพื้นที่ระบาดโรคเชื้อราได้ง่ายในทิศทางตะวันตกเฉียงเหนือ

นายกฤษฎา กล่าวอีกว่า รัฐบาลจีนเร่งพัฒนาข้าว ข้าวสาลี และถั่วเหลืองพันธุ์ดี ผักกาดฮ่องเต้ ฝ้าย อ้อย ที่ผลผลิตสูง และให้น้ำตาลสูง เป็นต้น กำหนดการพัฒนาพืชอาหารสัตว์ที่มีคุณภาพดี เช่น ข้าวโพด ของแต่ละท้องถิ่น เพื่อเป็นการสนับสนุนการผสมผสานการเกษตรและปศุสัตว์ สร้างโครงสร้างธัญพืช พืชเศรษฐกิจ และพืชอาหารสัตว์ขึ้น ในขณะเดียวกันสร้างความเข้มแข็งในโซนพื้นที่การผลิตหลักๆ พัฒนาพื้นที่ได้เปรียบในการเพาะปลูกธัญพืช พืชน้ำมัน ฝ้ายและน้ำตาล และพัฒนากำลังการผลิตอย่างมั่นคง แล้วก็ยังเน้นการสร้างโซนการผลิตที่มีเอกลักษณ์ เร่งการพัฒนา สมุนไพรจีน เห็ด ชา ผลไม้ พืชผลที่โดดเด่นประจำท้องถิ่นอื่นๆ เพื่อเป็นการรับประกันอุปทานที่สมดุลของผลไม้และพืชสมุนไพรจีน
Wheat1

“ผลักดันการพัฒนาให้มันฝรั่งเป็นอาหารหลัก จะทำการคัดเลือกพันธุ์ที่มีคุณภาพพิเศษที่จะใช้ในการส่งเสริมการปลูกมันฝรั่ง จัดตั้งฐานการเพาะปลูก เพื่อให้การแปรรูปอาหารหลัก มีวัตถุดิบที่มีคุณภาพรองรับ ส่งเสริมเทคโนโลยีที่ใช้ในการรองรับผลิตภัณฑ์ ลดต้นทุนการผลิตค่อยๆ เพิ่มสัดส่วนแป้งมันฝรั่งให้สูงกว่า 50% เร่งเผยแพร่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ให้เกษตรกรได้รู้จักและนิยมมันฝรั่งเพิ่มมากขึ้น การขยายตลาดของผลิตภัณฑ์อาหารหลักมันฝรั่ง เปิดช่องทางการบริโภคให้มันฝรั่งเป็นอาหารหลักมากขึ้นโดยเร่งการเข้าไปจำหน่ายในซุปเปอร์มาร์เก็ต ในชุมชน ในโรงอาหารและขยายกลุ่มผู้บริโภค โดยมีจุดประสงค์ที่ในปี 2020 มันฝรั่ง ครองสัดส่วนพื้นที่ตลาดอาหารหลักสูงกว่า 30%

นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้มีการเพาะปลูกและการเลี้ยงปศุสัตว์แบบผสมผสาน โดยให้การเลี้ยงปศุสัตว์ชี้นำการเพาะปลูกและให้การเพาะปลูกเป็นการช่วยส่งเสริมการเลี้ยงปศุสัตว์ ให้อุตสาหกรรมการเพาะปลูกเป็นแหล่งรองรับมูลปฏิกูลจากสัตว์ปีกและปศุสัตว์ เป็นการเร่งความสมบูรณ์ให้กับดินและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เร่งสนับสนุนการผสมผสานระหว่างการผลิตและจำหน่าย โดยอาศัยสหกรณ์ และบริษัทแนวหน้าในการสั่งออเดอร์การผลิต และมีการส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางการเกษตร อาทิ สวนชา แหล่งท่องเที่ยวชมการปลูกผักกาดฮ่องเต้ และแหล่งท่องเที่ยวที่สามารถเก็บผลไม้ได้ เป็นต้น เร่งค้นหาศักยภาพการสร้างรายได้เสริมจากอุตสาหกรรมการเพาะปลูก ยึดห่วงโซ่อาหารเพื่อเพิ่มมูลค่าการผลิตในแต่ละช่วงของห่วงโซ่อาหาร และทำการขยายห่วงโซ่อาหารในช่วงที่มูลค่าเพิ่มสูง

ในส่วนอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ ให้ทำวิจัยแผนการพัฒนาอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของแต่ละพื้นที่ อาทิ การเลี้ยงม้า ลา กระต่าย ผึ้ง แพะให้นม เป็นต้น จัดการอบอรมหลักสูตรการพัฒนาอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะพื้นที่ต่างๆ เพื่อร่วมกันค้นหาการเลี้ยงสัตว์ในรูปแบบใหม่ๆ โดยให้มีการผสมผสานระหว่างอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ วัฒนธรรม และการท่องเที่ยวเข้าด้วยกัน

“ส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ให้เป็นช่องทางการแก้ไขปัญหาความยากจน โดย เร่งสร้างระบบ รูปแบบ การแก้ไขปัญหาความยากจนในรูปแบบใหม่ๆ รวมถึงการโยกย้าย การปรับโครงการต่างๆ จากงบประมาณที่มีอยู่แล้ว โดยความร่วมมือกับสถาบันการเงินและองค์กรประกันภัย ในการรับประกันการเลี้ยงสัตว์ รับประกันราคา เป็นต้น”
corn รัฐบาลจีนมีนโยบายสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมนม มีการผลิตน้ำนมดิบคุณภาพสูง โดยให้มีฐานการผลิตหญ้าที่มีคุณภาพสูงกว่า 2 แสนกว่าไร่ สนับสนุนการอัพเกรดฟาร์มการเลี้ยงโคนมและการเลี้ยงสัตว์ตามบ้าน จัดระเบียบการรับซื้อน้ำนมดิบ ตรวจสอบและลงโทษตามกฎหมายในกรณีไม่ปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายน้ำนมดิบ รวมถึงการใช้สัญญาซื้อขายน้ำนมดิบเป็นข้อผูกขาดในการบังคับซื้อขายยาสัตว์ และอาหารสัตว์ เร่งสร้างแบรนด์ผลิตภัณฑ์นมของท้องถิ่นเอง และส่งเสริมให้ความรู้ในการบริโภคผลิตภัณฑ์นม เพื่อเป็นการสร้างตลาดรองรับผลิตภัณฑ์ต่อไป

นายกฤษฎา กล่าวต่อว่า ส่วนประเทศอินโดนีเซีย รัฐบาลมีนโยบายการพัฒนาการเกษตรที่ขัดเจน และกำหนดเป้าหมายในการเป็นแหล่งผลิตอาหารของโลกในปี 2588 ในการพัฒนาผลผลิตให้สูงขึ้น เพิ่มรายได้เกษตรกร และลดการพึ่งพานำเข้าสินค้าต่างประเทศ เพื่อปกป้องเกษตรกรและลดการขาดดุลการค้า รัฐบาลคาดการณ์ว่าจะสามารถผลิตข้าวโพด ถั่วเหลือง น้ำตาล เนื้อวัว และกระเทียม ได้พอเพียงกับความต้องการบริโภคในปี 2560,2563,2568,2569 และ 2575 ตามลำดับ

“มีการส่งเสริมการเกษตรแบบกลุ่มหรือคลัสเตอร์ ซึ่งเน้นการปลูกสินค้าเกษตรตามภูมิอากาศของแต่ละพื้นที่ รวมทั้งการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนเพื่อสนับสนุนภาคเกษตรด้วย ในปี 2561 กำหนดเป้าหมายการผลิตพืชอาหารหลัก 7 ชนิด ได้แก่ 1. ข้าว 80.08 ล้านตัน 2.ข้าวโพด 23.48 ล้านตัน 3.ถั่วเหลือง 2.34 ล้านตัน 4.อ้อย ผลิตน้ำตาล 3.30 ล้านตัน 5.พริก 2.23 ล้านตัน 6.หอมแดง 1.37 ล้านตัน และ 7.เนื้อวัว 0.69 ล้านตัน และพืชเศรษฐกิจหลัก 4 ชนิด ได้แก่ 1.น้ำมันปาล์มดิบ 34.52 ล้านตัน 2.ยางพารา 3.69 ล้านตัน 3.กาแฟ 0.76 ล้านตัน และ 4.โกโก้ 0.92 ล้านตัน (เมล็ดแห้ง) ทั้งนี้เป้าหมายการเติบโตจีดีพีเกษตร 3.79% และมีการจ้างงาน 34.7 ล้านคน”

"อินโดนีเซีย" มีกฎหมายคุ้มครองเกษตรกร ซึ่งระบุว่า รัฐจะคุ้มครองเกษตรกรด้วยการให้เงินอุดหนุน การสมทบและขจัดข้อจำกัดในการนำเข้าผลิตผลการเกษตร กฎหมายฉบับนี้ประกันให้เกษตรกรได้รับความช่วยเหลือและการสนับสนุนด้านการสมทุน เพราะปลูก และจำหน่ายตามที่กฎหมายระบุ รัฐบาลมีภาระหน้าที่ที่จะให้หลักประกันด้านเกษตรกรรม แก่เกษตรกร และชดเชยความเสียหายที่เกิดจากภัยธรรมชาติ ภัยจากโรคแมลงศัตรูพืชและภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง
web-01-ad ขณะนี้รัฐบาลใช้วิธีการให้เมล็ดพันธุ์พืชและปุ๋ยเคมีชดเชยความเสียหายจากการเก็บเกี่ยวของเกษตรกร กฎหมายคุ้มครองเกษตรกรระบุว่าจะปรับการนำเข้าผลิตผลเกษตร เพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ของเกษตกรและบังคับให้รัฐบาลสั่งการให้ด่านศุลกากรคุ้มครองผลิตผลเกษตรภายในประเทศ โดยให้ด่านนำเข้าสินค้าเกษตรต้องอยู่ห่างไกลลากเขตเกษตรกรรมหลักๆของอินโดนีเซีย ถ้าผู้นำเข้ากระทำผิดกฎหมายฉบับนี้ก็จะลงโทษด้วยการปรับเงิน 6 แสนดอลล่าร์สหรัฐ และติดคุก 6 ปี กฎหมายฉบับนี้ยังสั่งห้ามผู้ประกอบการนำเข้าผลิตผลในฤดูการเก็บเกี่ยวและในกรณีอุปทานของตลาดภายในประเทศเพียงพอ หากฝ่าฝืนจะถูกจำคุก 2 ปีและเสียค่าปรับ 2 แสนดอลล่าร์สหรัฐ นอกจากนี้รัฐบาลสนับสนุนต่อการสมทบทุนของเกษตรกรด้วย โดยมอบหมายให้ธนาคารภาครัฐบาลแห่งหนึ่งและองค์กรทางการเงินทางการเกษตรให้เงินสนับสนุน และลดเงื่อนไขของเงินกู้ของเกษตรกรและทำให้ขั้นตอนปฎิบัติง่ายขึ้น

ส่วนประเทศอิตาลี ไม่มีการกำหนดหรือจัดทำแผนการผลิตทางการเกษตร เนื่องจากเกษตรกรมีสถานะเป็นผู้ประกอบการ มีอำนาจในการตัดสินใจการผลิตด้วยตัวเอง ขึ้นอยู่กำลังการผลิตและใช้ข้อมูลด้านราคาตลาดในการตัดสินใจการผลิตแต่ละปี ซึ่งรัฐไม่เข้าไปก้าวก่าย ปี 2543 อิตาลีมีปัญหาสินค้าล้นตลาด จึงได้เปลี่ยนเป็นการจำกัดจำนวนการผลิตแทน และตั้ง subsid on production method เพื่อสนับสนุนการผลิตแบบยั่งยืน เช่น สินค้าออร์แกนิค และการแปรรูปสินค้าเกษตรที่มีมูลค่าเพิ่มและการผลิตผลิตภัณฑ์จีไอในพื้นที่เฉพาะ เป็นต้น ปัจจุบันการใช้ในพื้นที่เกษตรในที่ที่ไม่เหมาะสมยังคงเป็นปัญหาสำคัญของอิตาลี

e-book-1-503x62