ก.ม.คุ้มครองสัญญาขายฝาก ปกป้องที่ดินผืนสุดท้าย

02 พ.ค. 2561 | 09:24 น.
คุ้มครองงง ก.ม.คุ้มครองสัญญาขายฝาก ปกป้องที่ดินผืนสุดท้าย คณะกรรมการขับเคลื่อนและเร่งรัดการดําเนิน งานตามนโยบายรัฐบาล (กขร.) เห็นชอบร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองสัญญาขายฝากที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือที่อยู่ อาศัย กฎหมายฉบับนี้เป็นหนึ่งในกฎหมายที่คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกฎหมายที่มี บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นประธานให้ความสําคัญใน 3 กลุ่มที่ต้องปฏิรูป ประกอบด้วยกลุ่มกฎหมายที่ล้าหลังไม่ทันสมัย กลุ่มกฎหมายที่แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคม กลุ่มกฎหมายทางด้านเศรษฐกิจ สาระของกฎหมายที่ต้องแก้ไข

เพราะที่ผ่านมาเกษตรกรเจ้าของที่ดินเข้าไม่ถึงแหล่งทุนสถาบันการเงิน ต้องพึ่งพาเงินกู้นอกระบบ นายทุนเงินกู้ ด้วยการนํา เอกสารโฉนดที่ดินไปขายฝากไว้แทนการจํานอง เมื่อครบกําหนดไม่มีเงินไปคืนหนี้หรือกระทั่งนายทุนเงินกู้ อาจใช้วิธีบ่ายเบี่ยงไม่รับคืนหนี้เมื่อครบกําหนดเวลา เช่น อ้างว่าไปต่างประเทศ เพื่อหวังยึดที่ดิน ทําให้ที่ดิน ที่เกษตรกรถือครอง ต้องตกเป็นกรรมสิทธิ์ของนายทุน
30441084_2062647863754758_512897066280657138_n ร่างพ.ร.บ.คุ้มครองสัญญาขายฝากที่ดิน ต้องแยกขายฝากอสังหาริมทรัพย์ออกจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เป็นกฎหมายใหม่ สัญญาขายฝากต้อง เขียนพิเศษ มีกระบวนการคุมสัญญาโดยหน่วยงานรัฐอย่างสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) การขายฝากต้องมีนิติกร เจ้าหน้าที่กรมที่ดินช่วยดูแลสัญญา กําหนดให้ชัดเจนทั้งวันไถ่ถอน แหล่งที่อยู่ ระยะ เวลากําหนดไถ่ถอน 1 ปี ถึง 1 ปี 6 เดือน หากเจ้าหน้าที่ ไม่อยู่เมื่อครบกําหนด ให้นําเงินไปแจ้งต่อ อบต.ในพื้นที่ ระบุในเอกสารว่าเตรียมพร้อมชําระไม่ได้ผิดนัด

ปัจจุบันไทยมีพื้นที่เกษตรกรรมจํานวน 150 ล้านไร่ ครึ่งหนึ่งจํานวน 70 ล้านไร่ เกษตรกรต้องเช่า ทํากิน และจํานวน ที่ดินมีสัดส่วนสูง 30 ล้านไร่ อยู่ ระหว่างจํานองกับเจ้าหนี้นอกระบบ ในจํานวนนี้มีนับแสนไร่ได้ขายฝาก ซึ่งสุ่มเสี่ยงหลุดมือถูกยึดที่ดินสูงมาก โดยอาศัยช่องโหว่กฎหมาย ความยากจน ความจําเป็นทางการเงิน ความไม่รู้กฎหมาย
ปัญหาความเหลื่อมล้้ำที่เกิดขึ้นในสังคมไทย ช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนที่ถ่างออกมากขึ้นทุกที่ จนกระทั่งไทยติดอันดับต้นๆของความเหลื่อมล้ำในโลกไปแล้ว

ซึ่งการสูญเสียที่ดินทํากิน เป็นปัญหาสําคัญ ประการหนึ่งที่สะสมความไม่พอใจอยู่ในห้วงลึก ทั้งนายทุนผู้ยึดครองและการคุ้มครองจากอํานาจรัฐ การออกกฎหมายใหม่หรือโละทิ้งอันเดิมทั้งฉบับ จึงมีความจําเป็น เร่งด่วน พร้อมมาตรการเสริมให้คนจนมีโอกาสเข้าถึง แหล่งทุนแน่นอนกฎหมายอาจไม่ตอบโจทย์ได้ทั้งหมด แต่ถ้าสามารถรักษาที่ดินผืนสุดท้ายไว้ไม่ให้หลุดมือ ย่อมยังดีกว่าปล่อยให้เชื้อไฟที่สุมไว้ระเบิดออกมา

.....................
บทบรรณาธิการ หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ|ฉบับ 3362 หน้า 17 ระหว่างวันที่ 3-5 พ.ค.2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง .....


[caption id="attachment_278397" align="aligncenter" width="503"] รื้อกฎหมาย‘ขายฝาก’ คุมเข้มสัญญาสกัดนายทุนฮุบที่ดิน รื้อกฎหมาย‘ขายฝาก’ คุมเข้มสัญญาสกัดนายทุนฮุบที่ดิน[/caption]