กสทช. เอื้อ 'AIS-ทรู' ผูกขาดธุรกิจมือถือ

05 เม.ย. 2561 | 11:37 น.
050461-1735

นักวิชาการ-นักวิเคราะห์ ฟันธง! ‘ทรูมูฟเอช’ จ่ายค่าคลื่น 900 พร้อมแบงก์การันตี 6.4 หมื่นล้าน สะท้อนความมั่งคั่ง ไม่จำเป็นต้องใช้มาตรา 44 ยืดชำระค่างวด ... องค์กรต่อต้านคอร์รัปชันอัดข้อเสนอ กสทช. ปลดล็อกทางการเงิน เปิดทาง 2 รายใหญ่ ผูกขาด

นายพิภพ อุดร คณบดี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ”
ว่า กรณีที่บริษัท ทรูมูฟเอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด หรือ ทียูซี ในเครือ ‘ทรู’ ได้ชำระค่าประมูลคลื่น 900 ในงวดที่ 2 จำนวน 4,301.40 ล้านบาท พร้อมกับหนังสือค้ำประกันจากสถาบันการเงิน เพื่อค้ำประกันการชำระเงินประมูลคลื่นความถี่ในส่วนที่เหลือ วงเงิน 64,433.26 ล้านบาท สะท้อนให้เห็นว่า วงเงินที่นำมาค้ำประกัน แสดงว่าไม่มีการยื้อค่างวดอีกต่อไป แปลว่า ทรูมูฟเอชยอมจ่ายตามกระบวนปฏิบัติตามสัญญา เพราะกลัวเสียค่าปรับ

 

[caption id="attachment_274106" align="aligncenter" width="503"] "ทรู มูฟฯ" ชำระเงินค่าประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz งวด 2 กว่า 4.3 พันล้าน "ทรู มูฟฯ" ชำระเงินค่าประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz งวด 2 กว่า 4.3 พันล้าน[/caption]

“เอกชนน่าจะได้สัญญาณอะไรมา ถึงยอมปฏิบัติตามเงื่อนไขเดิม และรัฐเองก็ไม่มีเหตุผลสนับสนุน เพราะทรูมูฟเอชมีสถานะการเงินที่ดี ถ้ารัฐบาลทำตาม ก็เท่ากับเอื้อประโยชน์”


‘ทรู’ ไม่มีปัญหาหนี้
ด้าน นายสุวัฒน์ วัฒนพรพรหม ผู้จัดการสายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เอเชียพลัสฯ ให้ความเห็นว่า ปัจจุบันระดับหนี้สินต่อทุน (D/E) ของทรู ไม่ได้สูงมาก อยู่ที่ระดับ 0.8 เท่า หากในปี 2563 ต้องก่อหนี้ 60,000 ล้านบาท เพื่อมาชำระค่าคลื่นความถี่ ก็จะทำให้สัดส่วนหนี้สินต่อทุนเพิ่มเป็นประมาณ 1.2-1.3 เท่า ซึ่งเป็นระดับที่ยอมรับได้ แต่หากได้รับการผ่อนผันให้ทยอยชำระค่าคลื่นไป 5 ปี ก็จะเป็นปัจจัยบวกที่ทำให้มีสภาพคล่องมากขึ้น การระดมทุนโดยการออกหุ้นกู้ก็สามารถทำได้คล่องขึ้น


BannerPromiseKrungthai

สำหรับเรื่องศักยภาพในการเข้าร่วมประมูลคลื่นรอบใหม่ ก็เชื่อว่า ทรูมีศักยภาพเข้าร่วมประมูล เพราะประเมินค่าใบอนุญาตใหม่ประมาณ 30,000 ล้านบาท หากจะก่อหนี้เพิ่มสำหรับค่าใบอนุญาตนี้ ก็จะทำให้อัตราส่วนหนี้สินต่อทุนเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 0.5 เท่า แม้หลาย ๆ คนจะมองว่า ระยะสั้นแล้วทรูมีคลื่นความถี่ในมือมากพอ แต่ต้องมองในระยะยาว ที่คลื่นความถี่มีความจำเป็นในการประกอบธุรกิจ ที่ในอนาคตจะมีบริการทางดิจิตอลที่มากมายหลากหลายยิ่งขึ้นกว่าในปัจจุบัน

“ถ้าทรูมีกำลังจะชำระหนี้ 60,000 ล้านบาทได้ การลงทุนก่อหนี้เพิ่มอีกเพื่อใบอนุญาตใหม่ ก็ไม่ใช่เรื่องที่หนักหนาอะไร” นายสุวัฒน์ กล่าว


01-3354

เปิดทางประมูลคลื่น 1800
ขณะที่ นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ กล่าวถึงกรณีการช่วยเหลือผู้ประกอบการโทรคมนาคม ว่า เนื่องจากมีภาระเงินกู้เพื่อนำมาชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาต หากไม่ขยายเวลาชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตผู้ประกอบการ จะไม่สามารถเข้าร่วมประมูลคลื่น 900 และ 1800 เมกะเฮิรตซ์ เนื่องจากมีภาระเงินกู้ประมาณ 120,000 ล้านบาท เพราะวงเงินกู้เต็มกรอบวงเงิน

 

[caption id="attachment_274118" align="aligncenter" width="320"] ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ฐากร ตัณฑสิทธิ์
เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ[/caption]

หาก กสทช. เปิดประมูลคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ในปีนี้ ทั้ง ‘ทียูซี’ และบริษัท แอดวานซ์ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด หรือ เอดับบลิวเอ็น บริษัทในเครือ ‘เอไอเอส’ หรือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) รวมทั้งบริษัท ดีแทค ไตรเนต เน็ตเวิร์กฯ หรือ ดีทีเอ็น ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ ‘ดีแทค’ หรือ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) จะเข้าร่วมประมูลด้วย จำทำให้เกิดการแข่งขันมากขึ้น รัฐมีรายได้เพิ่มมากขึ้น


โปรโมทแทรกอีบุ๊ก

อย่างไรก็ตาม กสทช. ประเมินว่า หากประมูลคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ได้ทั้ง 3 ใบอนุญาต รัฐจะได้เงิน 120,477.72 ล้านบาท คิดจากราคาเริ่มต้น ถ้าประมูล 2 ใบอนุญาต รัฐมีรายได้ 80,318.48 ล้านบาท ประมูล 1 ใบอนุญาต รัฐมีรายได้ 40,159.24 ล้านบาท


ครม. ต้องร่วมรับผิดชอบ
นายมานะ นิมิตมงคล เลขาธิการองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ให้ความเห็นกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ประเด็นที่ กสทช. นำเสนอเป็นการให้ความสำคัญในการวิเคราะห์ทางด้านการเงินกับเรื่องการฟ้องร้อง แต่ไม่ได้ตอบโจทย์ในสิ่งที่เป็นผลประโยชน์ของประเทศว่า ประชาชนได้อะไร และในทางตรงกันข้าม คือ มีประเด็นที่ประชาชนและประเทศเสียประโยชน์เช่นกัน เพราะสิ่งที่สังคมตั้งคำถาม คือ ถ้าทำอย่างนั้นเป็นการเอื้อเอกชน 2 ราย ให้มีความเข้มแข็งทางการเงินกลับมา เป็นการสร้างโอกาสให้ 2 ราย ผูกขาดตลาดในอนาคตหรือไม่


appMP24-3139-A

“ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงกติกากันหลังจากประมูล ก็จะเหมือนกับคนเวลาไปประมูลงานก่อสร้าง เขาจะทำแบบนี้ คือ ไปประมูลให้ได้งานไว้ก่อน และเปลี่ยนแบบแก้สเปก เพิ่มวงเงินช่วยเหลือกัน ก็ไม่แตกต่างกัน และน่ากังวลว่า ต่อไปนักลงทุนต่างชาติใหญ่ ๆ เขาจะมาก็ต้องเรียนรู้ที่จะเข้าหาผู้มีอำนาจ เพื่อให้คอยช่วยเหลือ หรือ ให้การคุ้มครอง ถ้าเป็นแบบนี้ความน่าเชื่อถือของประเทศก็จะหมดไป”

อย่างไรก็ตาม หาก กสทช. ยังดึงดันที่จะทำเรื่องนี้ ก็ขอให้เป็นไปตามกระบวนการและขั้นตอนของคณะรัฐมนตรีเป็นผู้พิจารณา ไม่ใช่คณะรักษาความสงบแห่งชาติเป็นผู้พิจารณา เพื่อให้ ครม. ทั้งหมด ร่วมรับผิดชอบความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย คุณจะทำยังไงก็ได้ แต่หากจะมีการฟ้องร้องเกิดขึ้นควรจะมีผู้รับผิดชอบ เพราะว่าการใช้อำนาจออกมาตรา 44 คือ การตัดตอน ไม่มีใครต้องรับผิดชอบเลย แบบนี้มันไม่เพียงพอ และไม่ยุติธรรมกับประเทศ”


HONDACIVIC_300x250

นายกฯ ย้ำ! รัฐต้องไม่เสียหาย
พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการเรื่องทีวีดิจิตอลและค่ายโทรศัพท์มือถือ ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเร่งรัดการแก้ไขปัญหาโดยคำนึง 2 เรื่อง คือ 1.การแก้ปัญหาเชิงธุรกิจ จากตรรกะที่แท้จริง และ 2.ต้องไม่มีผลกระทบทำให้รัฐเสียหายรายได้จากประโยชน์ที่ควรจะเป็น


……………….
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,354 วันที่ 5-7 เม.ย. 2561 หน้า 15
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
“วิษณุ” งง! “ไก่อู” ขอใช้ ม.44 ปลดล็อกกรมประชาสัมพันธ์ “หารายได้จากโฆษณา” เเนะให้ไปคุยกับกสทช.ก่อน
เตือนวิกฤติศรัทธารัฐ เดินตามกสทช.อุ้มมือถือ


e-book-1-503x62