"อย.-ประมง" เปิดทางนำเข้า 'ปลาฟุกุชิมะ'

01 เม.ย. 2561 | 11:49 น.
หน่วยงานทั้งไทยและญี่ปุ่น ยืนยัน ปลาสดนำเข้าจาก จ.ฟุกุชิมะ ผ่านการตรวจสอบเกณฑ์มาตรฐานความปลอดภัย

จากการรายงานข่าวของสื่อญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 1 มี.ค. ที่ผ่านมา ว่า ปลาสดล็อตแรก ซึ่งเป็นปลาในกลุ่มปลาตัวแบน (Flatfish) หรือ ปลาซีกเดียว (ปลาตาเดียว ปลาลิ้นหมา ฯลฯ ก็อยู่ในกลุ่มตระกูลนี้) ปริมาณรวม 110 กิโลกรัม ที่ส่งออกจาก จ.ฟุกุชิมะ ออกจากท่าเรือโซมะ ประเทศญี่ปุ่น มาถึงประเทศไทยในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา นับเป็นการส่งออกปลาทะเลครั้งแรกของฟุกุชิมะ นับตั้งแต่เกิดวิกฤติกัมมันตรังสีรั่วไหล เมื่อปี 2554 สะท้อนความหวังและความมั่นใจของอุตสาหกรรมประมง ว่า จะกลับฟื้นชีพอีกครั้งและกลับมาขับเคลื่อนเศรษฐกิจในพื้นที่




แบนเนอร์รายการฐานยานยนต์

แต่เมื่อข่าวดังกล่าวปรากฏออกมา กลับก่อให้เกิดความวิตกกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัย จากการนำเข้าอาหารทะเลจากฟุกุชิมะ ที่ระบุว่า มีการจัดส่งให้กับลูกค้าร้านอาหารญี่ปุ่นในกรุงเทพฯ 12 ร้าน จนมีการถามหาว่า เป็นร้านอะไร ที่ไหนก็ขายปลาจากฟุกุชิมะ

หน่วยงานของฟุกุชิมะ ชี้แจงว่า นับตั้งแต่เดือน เม.ย. 2558 เป็นต้นมา การสุ่มตรวจตัวอย่างอาหารทะเลของจังหวัด พบว่า ซีเซียม (Cesium) ซึ่งเป็นสารกัมมันตรังสี ไม่เกินค่ามาตรฐานความปลอดภัยของญี่ปุ่น คือ ไม่เกิน 100 เบกเคอเรลต่อกิโลกรัม


TP10-3351-1A

นอกจากนี้ จ.ฟุกุชิมะ ยังตั้งมาตรฐานของตัวเองไว้สูงกว่ามาตรฐานข้างต้น เพราะเพียงแค่ตรวจพบซีเซียมในอาหารทะเลเกิน 50 เบกเคอเรลต่อกิโลกรัม ก็จะงดส่งออกในทันที

แบนเนอร์ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ

นางอุมาพร พิมลบุตร รองอธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า ขณะนี้ ได้รับรายงานว่า มีการตรวจสอบการนำเข้าสินค้าชุดดังกล่าวแล้ว โดยมาตรฐานในการตรวจสอบการนำเข้าอาหารจากต่างประเทศนั้น สำนักงานคณะกรรมการการอาหารและยา (อย.) เป็นผู้รับผิดชอบติดตามตรวจสอบเรื่องปริมาณสารกัมมันตรังสีในอาหาร ขอยืนยันว่า การนำเข้าปลาจากทุกประเทศ เจ้าหน้าที่ด่านตรวจประมงตรวจสอบเข้มงวดอยู่แล้ว

ด้าน น.พ.วันชัย ลัดยาวุฒิพงศ์ เลขาธิการ คณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ชี้แจงว่า ทาง อย. ได้ถ่ายโอนภารกิจการตรวจสอบการนำเข้าสินค้าเกษตรที่ยังไม่แปรรูปให้กระทรวงเกษตรฯ ได้แก่ สินค้าประมง เนื้อสัตว์ ปศุสัตว์ อาหารทะเล ถั่วธัญพืช เครื่องเทศ มีผลตั้งแต่วันที่ 15 พ.ค. 2549 โดยมาตรการควบคุมอาหารที่ปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสี มี 2 มาตรการ ได้แก่ 1.กำหนดปริมาณการปนเปื้อน เช่น ให้ปนเปื้อนไอโอดีน -131 ไม่เกิน 100 เบกเคอเรลต่อกิโลกรัม ซีเซียม -134 และซีเซียม -137 รวมกันไม่เกิน 500 เบกเคอเรลต่อกิโลกรัม 2.กำหนดชนิดอาหารและพื้นที่เสี่ยงในการนำเข้าจะต้องมีหลักฐานในการระบุประเภทปริมาณอาหารจากประเทศต้นทาง แสดงที่ด่านนำเข้าทุกครั้ง


app39-3201-6

น.ส.สารี อ่องสมหวัง เลขาธิการ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า กรมประมงอนุญาตให้นำเข้าเพียงแค่ดูใบการันตี โดยไม่ต้องรับผิดชอบอะไรใช่ไหม จึงเรียกร้องให้รัฐบาลเข้ามาดูแลอาหารนำเข้า


……………….
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,346 วันที่ 8-10 มี.ค. 2561 หน้า 15
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
ญี่ปุ่นยันตรวจเข้มปลาฟุกุชิมะ เตรียมส่งออกทั่วอาเซียน
อย. ลุยตรวจสอบร้านอาหาร 5 แห่ง ใน กทม. หาสีและเชื้อก่อโรคที่ผสมในปลาดิบ
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว