BDMS แพ้อีกคดีแพ่ง สั่งคืนสัญญาไลฟ์พริวิเลจ

25 ม.ค. 2561 | 10:42 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

ศาลแพ่งพิพากษา BDMS คืนสิทธิ์โครงการเอกสิทธิ์ของคุณภาพชีวิตและเปิดสโมสรไลฟ์  พริวิเลจ พร้อมปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับของสโมสร

วันนี้ศาลแพ่งได้อ่านคำพากษาคดีระหว่างนางพิสิฏฐา เหล่ากุลวานิช ที่ 1 กับพวกรวม 3 คน  โจทก์  บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการจำกัด มหาชน จำเลย

คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยประการแอรกว่า สัญญาตามฟ้องมีผลใช้บังคับและจำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาหรือไม่ เห็นว่า สิทธิในการบอกเลิกสัญญาต้องเป็นไปตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญา หรือโดยบทบัญญัติของ กฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 386 วรรคหนึ่ง ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มาตรา 861 บัญญัติว่า “อันว่าสัญญาประกันภัยนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งตกลงจะใช้ค่าสินไหม ทดแทน หรือใช้เงินจํานวนหนึ่งให้ในกรณีวินาศภัยหากมีขึ้น หรือในเหตุอย่างอื่นในอนาคตดังได้ระบุไว้ใน สัญญา และในการนี้บุคคลอีกคนหนึ่งตกลงจะส่งเงินซึ่งเรียกว่า เบี้ยประกันภัย”  แต่ตามข้อตกลงของโครงการ ปรากฏว่าจำเลยให้บริการสมาชิกโดยการรักษาพยาบาล ตรวจสุขภาพ และการส่งเสริมสุขภาพ ซึ่งตรงตาม วัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจของจำเลยและยังตรงตามเจตนาของโจทก์ทั้งสามที่มุ่งผูกนิติสัมพันธ์เพื่อ ได้รับการบริการดังกล่าวด้วยการสมัครเป็นสมาชิก

ไม่ได้มีข้อตกลงหรือโจทก์ทั้งสามกับจำเลยมุ่งผูกนิติสัมพันธ์ เพื่อให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในกรณีที่วินาศภัยเกิดขึ้นแก่สมาชิกแทนการให้บริการดังกล่าวของจำเลย แต่อย่างใดส่วนที่สมาชิกบางส่วนได้รับการรักษาพยาบาลที่สถานพยาบาลอื่นแล้ว จำเลยชำระค่ารักษาพยาบาล ให้สถานพยาบาลอื่นแทนสมาชิก หรือสมาชิกทดรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลไปก่อนแล้วมาเรียกเก็บเงินจากจำเลยนั้น  สถานพยาบาลอื่นก็ประกอบธุรกิจโรงพยาบาลและสถานพยาบาลเช่นเดียวกับจำเลย

การรักษาพยาบาลของสถานพยาบาลอื่นเป็นเพียงการส่งเสริมให้การดำเนินการตามโครงการของจำเลยเป็นไปตาม วัตถุประสงค์ ซึ่งไม่ว่าจะรักษาพยาบาลที่สถานพยาบาลของจำเลย หรือสถานพยาบาลอื่นก็ย่อมเกิดค่าใช้จ่ายอยู่แล้ว  การที่จำเลยจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้แก่สถานพยาบาลอื่น จึงไม่ใช่การชดใช้ค่าสินไหมทดแทน หากแต่เป็นวิธีการบริหารงานภายในโครงการและเป็นความรับผิดชอบของจำเลยในการดำเนินตามโครงการนั้นเอง

บาร์ไลน์ฐาน นอกจากนี้หลักการสำคัญของการประกันภัยอย่างหนึ่ง คือ จำนวนเงินค่าสินไหมทดแทน ดังจะเห็นได้จาก ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 877 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “ผู้รับประกันภัยจําต้องใช้ค่าสินไหม ทดแทนดังจะกล่าวต่อไปนี้ คือ (1) เพื่อจํานวนวินาศภัยอันแท้จริง...” และวรรคสุดท้ายบัญญัติว่า “ท่านห้ามมิ ให้คิดค่าสินไหมทดแทนเกินไปกว่าจํานวนเงินซึ่งเอาประกันภัยไว้” แต่ตามข้อตกลงของโครงการไม่ได้คำนึงถึง จำนวนค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเลยว่าจะมีมากหรือน้อยกว่าเงินค่าสมาชิกหรือไม่เพียงใด  อันแสดงให้ เห็นว่า โครงการดังกล่าวไม่มีการกำหนดวงเงินค่ารักษาพยาบาลเหมือนกับการรับประกันภัย และค่าใช้จ่าย 100 บาทต่อครั้ง ก็เป็นค่าใช้จ่ายตายตัวไม่ได้สะท้อนความเป็นจริงของค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลในแต่ละ ครั้ง  ข้อตกลงตามโครงการของจำาเลยจึงไม่เข้าลักษณะเป็นการประกันภัย

แต่เป็นสัญญาให้บริการอีกรูปแบบ หนึ่งที่ใช้บังคับกันได้ เมื่อไม่มีเหตุให้เลิกสัญญาตามข้อตกลงของโครงการหรือบทบัญญัติแห่งกฎหมาย การบอก เลิกสัญญาจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย สัญญาตามฟ้องจึงมีผลใช้บังคับ และจำเลยไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา

มีปัญหาต้องวินิจฉัยประการสุดท้ายว่าจำเลยต้องรับผิดชอบต่อโจทก์ทั้งสามหรือไม่เพียงใด   เห็นว่า เมื่อไม่มีเหตุตามข้อตกลงของโครงการหรือโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายให้สิทธิจำเลยบอกเลิกสัญญาได้ จำเลยจึงต้องปฏิบัติตามข้อตกลงของโครงการต่อไป

ส่วนค่าใช้จ่ายในการจัดหายาและเวชภัณฑ์ ต่างๆ เพื่อใช้ในการบำบัดรักษาตัวของโจทก์ที่ 1 จำนวน 15,000 บาท นั้น มีนายทรงพล อันนานนท์   เบิกความว่า โจทก์ที่ 1 ป่วยเป็นมะเร็งลำไส้ในระยะ 3ปี จึงได้ใช้บริการโครงการด้านสุขภาพ แต่หลังจำเลยปิดโครงการ โจทก์ที่ 1 ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจัดหายาและเวชภัณฑ์ต่างๆ โดยเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2560 โจทก์ที่ 1 เข้ารับการผ่าตัดลำไส้เลื่อน แม้ไม่มีหลักฐานแสดงค่าใช้จ่าย แต่โจทก์ที่ 1 มีสำเนารายงานการรักษา ว่า เข้ารับการผ่าตัดลำไส้เลื่อน ประกอบกับนายอังกูร จิรกิตยางกูร เป็นพยานเบิกความว่า จำเลยจะรับผิดชอบ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นกรณีสมาชิกของโครงการไปรักษา ทั้งในโรงพยาบาลในเครือและโรงพยาบาลอื่นที่ไม่ใช่ โรงพยาบาลในเครือ ซึ่งเป็นไปตามข้อตกลงและเงื่อนไขของโครงการ เมื่อจำเลยไม่มีพยานสืบหักล้างให้เป็นอย่างอื่น และฟังได้ว่าโจทก์ที่ 1 ป่วยตามรายงานทางการแพทย์จริง  เมื่อค่าใช้จ่ายในการจัดหายาและ เวชภัณฑ์ที่โจทก์ที่ 1 เรียกร้องมานั้นเป็นเงินพอสมควร จึงกำหนดให้ตามที่ขอมา ดอกเบี้ยตามที่ขอมานับจาก วันที่ 20 มกราคม 2560 เห็นว่า เป็นหนี้เงินและไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 ได้ทวงถามให้จำเลยชำระ จึงไม่มีสิทธิ เรียกดอกเบี้ยผิดนัดในวันเกิดค่าใช้จ่าย วันที่ฟ้องเป็นวันเรียกให้จำเลยใช้เงิน เมื่อไม่ใช้เงินจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัด ต้องเสียดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 นับแต่วันฟ้อง

โปรโมทแทรกอีบุ๊ก-6-15 ส่วนที่โจทก์ทั้งสามเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน หากเป็นการพ้นวิสัยที่จำเลยจะกำเนินการตามโครงการ ได้นั้น  เห็นว่า ปรากฏในทางน าสืบของโจทก์ทั้งสามและจำเลยว่า จำเลยยังคงประกอบธุรกิจโรงพยาบาล อีกทั้งไม่ได้เกิดปัญหาทางการเงินที่จะไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ จึงยังไม่เป็นการพ้นวิสัยที่จะปฏิบัติตามคำพิพากษาได้  ในชั้นนี้จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยเรื่องค่าสินไหมทดแทน

ส่วนที่โจทก์ทั้งสามนนำสืบว่า หากใน อนาคตจำเลยยุติโครงการอีกหรือให้บริการต่ำกว่ามาตรฐาน  ขอให้ศาลใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติวิธี พิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 40 ด้วยการสงวนสิทธิที่จะแก้ไขคำพิพากษาให้จำชำระค่าเสียหาย ตามข้อบังคับหรือให้คู่ความนำสืบพยานเพิ่มเติมนั้น เห็นว่า มาตราดังกล่าวบัญญัติว่า “ในกรณีที่ความเสียหาย เกิดขึ้นแก่ร่างกาย สุขภาพ หรืออนามัยและในเวลาที่พิพากษาคดี เป็นการพ้นวิสัยจะหยั่งรู้ได้แน่ว่าความ เสียหายนั้น  มีแท้จริงเพียงใด ศาลอาจกล่าวในคําพิพากษาหรือคําสั่งว่ายังสงวนไว้ซึ่งสิทธิที่จะแก้ไขคําพิพากษา หรือคําสั่งนั้นอีกภายในระยะเวลาที่ศาลกําหนด ทั้งนี้ ต้องไม่เกินสิบปีนับแต่วันที่ศาลมีคําพิพากษาหรือคําสั่ง...”  การสงวนไว้ซึ่งสิทธินั้น จึงเป็นกรณีที่ต้องมีความเสียหายเกิดขึ้นแก่ร่างกาย สุขภาพ หรืออนามัย แต่ในกรณีนี้ เป็นการฟ้องบังคับให้ปฏิบัติตามสัญญา ไม่ใช่การฟ้องเรียกค่าเสียหายที่เกิดแก่ร่างกาย สุขภาพ หรืออนามัย    ทั้งหากจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาในส่วนหนี้การกระทำ  พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2560  ลักษณะที่ 2  การบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งก็ได้บัญญัติถึง วิธีการบังคับคดีไว้อยู่แล้ว  ในชั้นพิจารณาพิพากษาในกรณีนี้  จึงไม่อาจนำบทบัญญัติดังกล่าวมาบังคับได้

ส่วนที่ โจทก์ทั้งสามขอให้จำเลยชำระค่าเสียหายเพื่อการลงโทษนั้น เห็นว่า พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 42 ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ผู้ประกอบธุรกิจจ่ายค่าเสียหาย เพื่อการลงโทษเพิ่มขึ้นจากจำนวน ค่าเสียหายที่แท้จริง  แต่ในกรณีนี้มิได้มีคำพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าเสียหาย ส่วนค่าใช้จ่ายในการจัดหายาและเวชภัณฑ์เพื่อใช้ในการบำบัดรักษาโจทก์ที่ 1ชำระหลังยุติโครงการ เป็นความรับผิดชอบของจำเลย มิใช่ความ เสียหายอันเกิดจากการบอกเลิกสัญญาจึงนำบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับไม่ได้

พิพากษาให้จำเลยปฏิบัติตามข้อตกลงของโครงการเอกสิทธิ์ของคุณภาพชีวิต และเปิดสโมสรไลฟ์  พริวิเลจ  กับปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับของสโมสรดังกล่าว ตามแผ่นพับหมาย จ.9 และให้จำเลยชำระเงิน จำนวน 15,000 บาท แก่โจทก์ที่ 1 พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตั้งแต่วันฟ้อง (24 กุมภาพันธ์ 2560)  เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ กับให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ทั้งสาม
728x90-03-3-503x62-3-503x62