10 ความล้มเหลว” ของ COP26 และอาเซียน ลดโลกร้อนแค่เคลียร์ของเก่า

11 ธ.ค. 2564 | 01:50 น.

นับตั้งแต่มีการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Conference of Parties : COP) ครั้งที่ 1 ในปี 1995 ที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมันเป็นต้นมา COP26 ถือว่ามีการตื่นตัวมากที่สุด

 

10 ความล้มเหลว” ของ COP26 และอาเซียน ลดโลกร้อนแค่เคลียร์ของเก่า

 

เห็นได้จากการเสนอข่าวทั่วโลก และจากคำพูดของผู้นำประเทศ เช่น นายกรัฐมนตรีอังกฤษ (Boris Johnson) “If we don’t get serious about climate change it will be too late for our children to do so tomorrow” ในขณะที่ ประธานาธิดีไบเดน “ขอให้พระเจ้ากอบกู้โลก” ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป อัวร์ซูลา แกร์ทรูท ฟ็อน แดร์ ไลเอิน (Ursula Gertrud von der Leyen) “สายตาของโลกอยู่ที่พวกเรา” ส่วนเลขาธิการยูเอ็น (Antonio Guteres)  “เรากำลังขุดหลุมฝังศพเราเอง (we are digging our own graves)”

 

การตื่นตัวส่วนหนึ่งน่าจะมาจาก “เกรต้า ธัญเบิรก์ (Greta Thunberg)” ที่รณรงค์โลกร้อนมา 3 ปี  เกรต้าบอกว่า Cop26 ล้มเหลว และได้กลายเป็นที่ประชาสัมพันธ์ของผู้นำด้วยคำพูดสวยหรูเท่านั้น เป็นเพียง “PR Event” เกรต้าเป็นผู้ก่อตั้ง “Friday for Future (FFF) ที่มีสมาชิก  4 ล้านคนใน 170 ประเทศ” ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักเรียน และเป็นเจ้าของหนังสือ “No one is too small for make a difference (2019)” และเจ้าของวลี “Net Zero is blah blah blah”

 

ทำไมเกรต้าจึงบอกว่า COP26 ล้มเหลวก็เพราะแต่ละประเทศไม่ได้ทำทันทีและขาดมาตรการที่เข้มข้น  COP 26 มีการประชุม 13 วัน (31 ต.ค.2564-12 พ.ย. 2564) ปี 2020 ก๊าซเรือนกระจกโลก (Greenhouse Gas : GHG) อยู่ที่ 50 พันล้านตัน มาจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลสัดส่วน 60% (ปล่อยคาร์บอนฯ) ตัดไม้และเผาสัดส่วน 10% (ปล่อยคาร์บอนและมีเทน) ทำการเกษตร (ปล่อยมีเทนและไนตรัลออกไซด์) สัดส่วน 20% และอุตสาหกรรม 6% (ปล่อยคาร์บอนฯ) เป็นต้น โดยชั้นบรรยากาศจะมีคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) สัดส่วน 76% ก๊าซมีเทน (Methane : CH4) 16% ไนตรัลออกไซด์ 6% (Nitrous Oxide : N2O) และอื่น ๆโดยศักยภาพในการทำให้เกิดโลกร้อน (The Global Warming Potential : GWP) ซึ่งมีเทนจะทำให้โลกร้อนกว่า CO2 ถึง 25 เท่า และไนตรัลออกไซด์มากกว่า CO2 ถึง 300 เท่า (Kyoto Gases, IPCC 2007)

 

 

10 ความล้มเหลว” ของ COP26 และอาเซียน ลดโลกร้อนแค่เคลียร์ของเก่า

 

ผมสามารถสรุป COP 26 ว่าเป็น  “เคลียร์ของเก่า” ที่ให้มีความชัดเจนมากขึ้น คือ 1.“ข้อตกลงปารีส (Paris Agreement)” ของการประชุม COP21 (2015) ที่มี 195 ประเทศลงนามไม่ให้อุณหภูมิโลกเกิน 2 องศาและ 1.5 องศา เมื่อเทียบกับก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม หรือเมื่อ 170 ปีที่แล้ว (ปี 1850 – 1900) ซึ่งเป็นปีที่โลกเริ่มใช้พลังงานจากฟอสซิลและทำให้คาร์บอนไดออกไซด์ ปี 2021 อุณหภูมิโลกเฉลี่ย 1.09 องศา (world meteorological organization report 2021) สูงกว่าอุณหภูมิของปี 1850-1900 ที่เพิ่มเพียง 0.6 องศา ซึ่ง COP26 สรุปกันที่ “1.5 องศา”

 

2."พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol)” ของการประชุม COP3 (1997) ตั้งเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง (Greenhouse Gases : GHG) ให้ได้ 5% เมื่อเทียบกับปี 1990 ภายในปี 2008-2012 ซึ่ง COP26 ก็สรุปว่า ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 45% ในปี 2030 และแต่ละประเทศส่วนใหญ่มีแผนจะลดก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ในปี 2050 ยกเว้นจีนในปี 2060 และอินเดียในปี 2070 3."การตัดต้นไม้เป็นศูนย์ (Zero Deforestation)” ในปี 2030  ลงนาม 133 ประเทศ (ครอบคลุม 85% ของโลก) อาเซียนที่ลงนามคือ ฟิลิปปินส์ บรูไน อินโดนีเซีย (รัฐมนตรีอินโดนีเซียไม่เห็นด้วย) และเวียดนาม  

 

10 ความล้มเหลว” ของ COP26 และอาเซียน ลดโลกร้อนแค่เคลียร์ของเก่า

 

4. “เลิกใช้ถ่านหิน”  40 ประเทศลงนาม จีน สหรัฐฯ อินเดีย ไม่ลงนาม ในอาเซียนมี บรูไน อินโดนีเซีย ฟิลิปฟินส์และเวียดนาม  ประเทศพัฒนาเลิกใช้ถ่านหินในปี 2030 และกำลังพัฒนาในปี 2040 5. ลดมีเทน 30% ลงนาม 105 ประเทศเพื่อลดก๊าซมีเทนลดลง 30% ในปี 2030 จากปี 2020 โดยจีน อินเดีย ออสเตรเลีย และรัสเซียไม่ลงนาม สำหรับอาเซียนปี 2018 ปล่อย GHG  5% ของโลก (ร้อยละ 60 จากใช้พลังงาน 40% มาจากการรุกป่าและการเกษตร) GHG จากพลังงานมาจากสิงคโปร์ ไทย มาเลเซีย และเวียดนามมากสุดส่วน GHG จากทำลายป่ามาจากอินโดนีเซีย ตามด้วยเมียนมา

 

อาเซียนตั้งเป้า Net Zero Co2 ปี 2050 และ Net Zero GHG ปี 2065 ระหว่างปี 2009-2020 ประชากรอาเซียนได้รับผลกระทบ 222 ล้านคน GDP หายไป 97 พันล้านเหรียญ ฟิลิปปินส์ ไทย และเวียดนาม ได้รับผลกระทบมากสุด รายงานของอาเซียน (2021) คาดว่าอาเซียนจะมีคนจนมากขึ้น ภาคเกษตรได้รับผลกระทบ และเศรษฐกิจชายฝั่งทะเลได้รับผลกระทบ ประชากรอาเซียน 70% อาศัยชายฝั่งทะเลและ GDP ร้อยละ 60 มาจากชายฝั่งทะเล

 

ผมมี “10 ความล้มเหลว” ของ COP26 และอาเซียนดังนี้ 1.ประเทศปล่อย GHG สูงอย่าง จีน และรัสเซียไม่เข้าร่วมประชุม 2.ปี 2050 เป็นระยะเวลานานเกินไปที่จะแก้ปัญหา ไม่มีรายละเอียดรายปี 3.ตัวแทนบริษัทน้ำมัน 500 คนอยู่ในที่ประชุมทำให้ข้อตกลงจึงอ่อนลงไป 4.จีน สหรัฐและอินเดีย ไม่ลงนามข้อตกลงบางฉบับ  5. แผนการลดแต่ละประเทศทำรวมแล้วไม่สามารถลดได้ 1.5 องศา แต่อุณหภูมิจะเพิ่มขึ้น 2.4 องศา

 

6.กติกาอาเซียนยังไม่เพียงพอที่จะทำให้อาเซียนบรรลุเป้าหมาย 7.อาเซียนต้องแบ่งภาระ GHG ของแต่ละประเทศตามกิจกรรมการผลิต 8.อาเซียนไม่มีกฏหมายของแต่ละประเทศในการแก้ปัญหา GHG 9.นโยบายการแก้ปัญหาอาเซียนต่างคนต่างทำ 10. กองทุน 100 พันล้านเหรียญ ยังไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ในปี 2020 ผมขอจบด้วย “วิกฤติโลกร้อนคือวิกฤติของมนุษย์”