เรียนรู้ “ติดกับดักหนี้” ประเทศจีน เจ้าหนี้เบอร์ 1 โลก ต้องคืนด้วยอะไรบ้าง

29 ต.ค. 2564 | 04:26 น.

นโยบายการลงทุนไปในต่างประเทศของจีน (Outward Foreign Direct Investment : OFDI) สามารถแบ่งออกเป็น 3 ช่วงคือก่อนปี 1990 ช่วงปี 1991-2013 และช่วงหลังปี 2013 ทั้ง 3 ช่วงเวลามีความสัมพันธ์เสมือนเป็น “การส่งไม้ต่อซึ่งกันและกัน"

 

เรียนรู้ “ติดกับดักหนี้” ประเทศจีน เจ้าหนี้เบอร์ 1 โลก ต้องคืนด้วยอะไรบ้าง

 

ก่อนปี 1990 จีนออกไปลงทุนต่างประเทศด้วยวัตถุ ประสงค์ “3 น” คือ นำเทคโนโลยีเข้าประเทศ นำวัตถุดิบเข้าประเทศ และนำเงินตราเข้าประเทศ รวมไปถึงการขายเครื่องจักรและสินค้าจีน ต่อมาจีนออกนโยบายออกไป (Go Out Policy)

 

ในปี 1991 เพื่อออกไปลงทุนในต่างประเทศอย่างจริงจังและเพื่อประกาศเปลี่ยนสถานะจากประเทศรับเงินทุนต่างชาติเป็นเป็นประเทศออกไปลงทุนแทน เพราะในขณะนั้นจีนมีเงินทุนสำรองต่างประเทศมหาศาล(ปี 1990 เงินทุนสำรองระหว่างประเทศจีนอยู่ที่ 34 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ปี 2020 เพิ่มเป็น 3.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯโดยเงินทุนสำรองไปถึงระดับ 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตั้งแต่ปี 2006)

 

นอกจากนี้ Go Out Policy ในช่วงปี 1990  นั้นก็เพื่อกระจายสินค้าจีนอีกด้วย ผลของ Go Out Policy ทำให้เงินลงทุนไปต่างประเทศของจีนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว สูงสุดที่ 196 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯในปี 2016 โดยทั้งสองช่วงเวลาแรก เงินทุนจีน 50% ไปลงทุนในเอเชียตามด้วยยุโรปและอเมริกาเหนือ(The Pattern and Magnitude of China’s Outward FDI in Asia, Shaoming Cheng)

 

ต่อมาในปี 2013 จีนก็มี นโยบายข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (BRI) ในปี 2013 หรืออาจจะเรียกว่า “Go Out 2.0 Policy” ก็น่าจะได้ มีวัตถุประเทศเพื่อเชื่อมการค้าและการลงทุนผ่านทางโครงสร้างพื้นฐานคือทางบกและทางนํ้า ส่งผลทำให้เงินลงทุนในหลายรูปแบบของจีนทั้ง เงินลงทุนต่างประเทศ (FDI) เงินให้กู้โดยตรง การให้เครดิตการค้า และเงินซื้อพันธบัตรรัฐบาลในตลาดต่างประเทศ ทำให้จีนจีงกลายเป็น “เจ้าหนี้เบอร์หนึ่งของโลก” ตั้งแต่ปี 2013 เป็นต้นมา แซงหน้าองค์กรระดับโลกใหญ่ ๆ ที่ให้กู้เงินยืม ทั้ง IMF ธนาคารโลก  Paris Club

 

เรียนรู้ “ติดกับดักหนี้” ประเทศจีน เจ้าหนี้เบอร์ 1 โลก ต้องคืนด้วยอะไรบ้าง

 

นโยบายการลงทุนจีนช่วงที่ 1 และ 2 มีลักษณะเหมือนกัน แต่นโยบาย BRI มึความแตกต่างเพราะเน้นการลงทุนเพื่อเชื่อมโยงในโครงสร้างพื้นฐานเป็นหลักและให้จีนเป็นศูนย์  กลางการเชื่อมโยง ซึ่งเราพอจะ “เรียนรู้” การลงทุนของจีนในต่างประเทศได้ ดังนี้

 

1.เงินปล่อยกู้และเงื่อนไขไม่เปิดเผย จีนไม่เปิดเผยข้อมูลธนาคารกลางจีนก็ไม่มีการเปิดเผยสู่สาธารณะ รายงานของ Sebastian Horn และ คณะ (2019) เรื่อง “CHINA’S OVERSEAS LENDING” บอกว่า ปี 2017 จีนปล่อยกู้คิดเป็น 15% ของ GDP โลก มูลค่า 12 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แต่หากคำนวนจากดุล การชำระเงิน (BOP) เงินปล่อยกู้จีนมีเพียง 2% ของ GDP โลก (2018) และตัวเลขของธนาคารโลกยังมี “สินเชื่อซ่อนเร้น (Hidden Lending)” มากถึง 200 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ยังไม่รวมถึงการไปซื้อพันธ์บัตรรัฐบาลและหุ้นในบริษัทของประเทศพัฒนาแล้ว เช่น จีนไปซื้อหุ้นในสหรัฐฯ มูลค่า 10% ของ GDP สหรัฐฯ “Horn” ยังสรุปว่ามีอีก 50% ของเงินกู้ที่จีนยังไม่ได้เปิดเผย จึงไม่มีใครรู้ว่าเงินทุนจีนที่ให้กู้ยืมในต่างประเทศเป็นเท่าไรกันแน่ และที่สำคัญเงื่อนไขในสัญญาไม่มีใครรู้ว่าระบุว่าอย่างไร 

 

  เรียนรู้ “ติดกับดักหนี้” ประเทศจีน เจ้าหนี้เบอร์ 1 โลก ต้องคืนด้วยอะไรบ้าง

 

2.ประเทศลูกหนี้ไม่ใช่เอเชีย ช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ประเทศลูกหนี้ของจีนได้เปลี่ยนไป ไม่ใช่เอเชียแต่เป็นประเทศในแอฟริกา 47% ตามด้วยลาตินอเมริกา 27% ยุโรปตะวันออก 11% และเอเชียเหลือ 10% (How China Lends, Anna Gelpern และคณะ, 2021) ซึ่งต่างกับช่วงระยะช่วงแรกที่ลูกหนี้เป็นแถบเอเชีย

 

3.ให้กู้แบบปลอดดอกเบี้ย (ผ่านทาง ก.พาณิชย์จีน) กู้แบบคิดดอกเบี้ย 2-3% (สัดส่วน 16%) และกู้แบบ LIBOR+ (สัดส่วน 60%) ซึ่งทั้ง 3 กรณีจะต้องพ่วงด้วยการซื้อสินค้าของจีน และส่วนใหญ่ให้กู้เป็นแบบรัฐต่อรัฐ หรือ รัฐบาลจีนต่อวิสาหกิจประเทศที่กู้ ในขณะที่การกู้ยืมระหว่างบริษัทต่อบริษัทไม่มีข้อมูล การปล่อยกู้ในประเทศที่มีรายตํ่าจะปล่อยกู้ไปสู่บริษัทจีนในประเทศนั้นเพื่อให้มั่นใจว่าเงินไปใช้ตรงตามวัตถุประสงค์

 

4.การทูตแบบติดกับดักหนี้ (Debt Trap Diplomacy) รองประธานาธิบดี Mike Pence และหนังสือพิมพ์สหรัฐฯ เรียกกรณีของท่าเรือ Hambantota ของศรีลังกา เมื่อปี 2018 ว่าเป็นการทูตแบบติดกับดักหนี้ ประเทศจีน เพราะศรีลังกาไม่สามารถจ่ายเงินกู้คืนจีน จึงต้องให้จีนเข้ามาถือหุ้น 70% และบริหาร 99 ปี (Jhoomar Mehta, Mint, 17 Jun 2020)

 

นอกจากนี้ต้องในหลายประเทศระบุให้ใช้คืนหนี้ด้วยทรัพยากรธรรมชาติแทน ความกังวลเกิดขึ้นในมาลเซียเมื่ออดีตนายกรัฐมนตรีมหาเธ่ของมาเลเซียได้ยกเลิกโครงการลงทุนของจีนตามระเบียงเศรษฐกิจทั้งรถไฟและท่อแก๊สในมาเลเซียเมื่อปี 2018  สำหรับอาเซียน กัมพูชาเป็นหนี้จีน 30% ของ GDP เป็นหนี้จีนสูงอันดับที่ 6 ของประเทศลูกหนี้จีน ลาวเป็นหนี้ 25% ลำดับที่ 8 ตามด้วยเมียนมา ทุนจีนเข้ามาลงทุนใน 3 ประเทศในทุกกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งโครงสร้างพื้นฐาน เหมืองแร่ นํ้ามัน เกษตรอุตสาหกรรมและภาคบริการ

 

อีกทั้งเวียดนาม มาเลเซียอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ก็เป็นหนี้จีนเช่นกัน กรณีรถไฟลาว-จีน มูลค่าโครงการ 5.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลาวเป็น หนี้ 60% อัตราดอกเบี้ย 2.3% ต่อปีที่เหลือร่วมทุน และรถไฟอินโดนีเซีย-จีน (6.07 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) ดอกเบี้ย 2% เป็นหนี้ 75% และปากีสถานจึงเป็นกรณีที่น่าติดตามว่าจะซํ้ารอยศรีลังกาหรือไม่

 

หน้า 8 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 3727 วันที่ 31 ต.ค. - 3 พ.ย. 2564