ประกาศหลักเกณฑ์การแบ่งแยก-โอนสิทธิในที่ดิน ส.ป.ก. ให้แก่ทายาทโดยธรรม

17 มี.ค. 2567 | 09:47 น.

ราชกิจจาฯ ประกาศหลักเกณฑ์การแบ่งแยก หรือ โอนสิทธิในที่ดิน ส.ป.ก. ให้แก่ทายาทโดยธรรม รวมถึงหลักเกณฑ์การโอนให้แก่สถาบันเกษตรกรเฉพาะเพื่อทำการชําระหนี้

วันนี้ (๑๗ มี.ค. ๒๕๖๗) เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ กฎกระทรวงการแบ่งแยกหรือโอนสิทธิในที่ดินของผู้ได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๖๗ ที่ลงนามโดย ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมว.เกษตรและสหกรณ์ และให้ไว้ ณ วันที่ 28 กุมพาธันธ์ 2567 

สำหรับกฎกระทรวงดังกล่าว มีสาระสำคัญ อาทิ เรื่องการตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรม โดยระบุว่า เมื่อผู้ได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมถึงแก่ความตายหรือศาลมีคําสั่งให้เป็นคนสาบสูญ ให้สิทธิในที่ดินดังกล่าวตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิได้รับมรดกตามลําดับญาติ ที่กําหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 

                          ประกาศหลักเกณฑ์การแบ่งแยก-โอนสิทธิในที่ดิน ส.ป.ก. ให้แก่ทายาทโดยธรรม

โดยการแบ่งสิทธิในที่ดินให้แก่ทายาทโดยธรรมดังกล่าว ให้อยู่ภายใต้บังคับบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้

(๑) กรณีไม่มีทายาทโดยธรรม หรือ มีทายาทโดยธรรม แต่ทายาทโดยธรรมทุกคนไม่ประสงค์ จะรับสิทธิในที่ดิน ให้สิทธิในที่ดินตกเป็นของ ส.ป.ก.

                       ประกาศหลักเกณฑ์การแบ่งแยก-โอนสิทธิในที่ดิน ส.ป.ก. ให้แก่ทายาทโดยธรรม

(๒) กรณีมีทายาทโดยธรรมเพียงคนเดียว ให้สิทธิในที่ดินตกเป็นของทายาทโดยธรรมผู้นั้นทั้งหมด

(๓) กรณีมีทายาทโดยธรรมหลายคน ให้แบ่งสิทธิในที่ดินแก่ทายาทโดยธรรมทุกคนตามสิทธิ ที่พึงมีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เว้นแต่ทายาทโดยธรรมจะตกลงแบ่งกันเองเป็นอย่างอื่น คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ถือเป็นทายาทโดยธรรม

                      ประกาศหลักเกณฑ์การแบ่งแยก-โอนสิทธิในที่ดิน ส.ป.ก. ให้แก่ทายาทโดยธรรม

ข้อ ๔ ทายาทโดยธรรมหรือผู้จัดการมรดกผู้ใดประสงค์จะแบ่งแยกหรือโอนสิทธิในที่ดิน มรดกตามข้อ ๓ ให้มีหนังสือแจ้งให้ ส.ป.ก.จังหวัดแห่งท้องที่ ทราบตามวิธีการที่ เมื่อ ส.ป.ก.จังหวัดแห่งท้องที่เห็นว่าการแบ่งแยก หรือ โอนสิทธิในที่ดินถูกต้องตรงตามข้อ ๓ ให้มีหนังสือรับรองการโอนสิทธิในที่ดินไว้เป็นหลักฐานเพื่อใช้ประกอบการแบ่งแยกหรือโอนดังกล่าว ณ สํานักงานที่ดิน

ข้อ ๕ ทายาทโดยธรรมที่ได้รับที่ดินมรดกตามข้อ ๓ ต้องใช้ที่ดินที่ได้มาจากการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเพื่อประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม หากใช้ที่ดินโดยฝ่าฝืน ให้ ส.ป.ก. แจ้งเตือน และเมื่อพ้นระยะเวลาดังกล่าวแล้ว หากไม่แก้ไขให้ถูกต้อง ให้ ส.ป.ก. มีคําสั่งให้ทายาทโดยธรรมผู้รับที่ดินมรดกนั้นโอนสิทธิในที่ดินคืนให้ ส.ป.ก.

                     ประกาศหลักเกณฑ์การแบ่งแยก-โอนสิทธิในที่ดิน ส.ป.ก. ให้แก่ทายาทโดยธรรม

ส่วนการแบ่งแยกหรือโอนสิทธิในที่ดินไปยังสถาบันเกษตรกรนั้น 
ผู้ได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม อาจแบ่งแยกหรือโอนสิทธิในที่ดินบางส่วน หรือทั้งหมด ให้แก่สถาบันเกษตรกรได้เฉพาะเพื่อชําระหนี้แก่สถาบันเกษตรกรตามที่ตกลงกัน
ขณะที่สถาบันเกษตรกรที่รับโอนสิทธิในที่ดินจากผู้ได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ต้องใช้ที่ดินนั้นเพื่อดําเนินการ ดังต่อไปนี้

(๑) ประกอบเกษตรกรรม

(๒) จะทําการแบ่งแยก หรือ โอนสิทธิในที่ดินไปยังผู้อื่นมิได้ เว้นแต่ให้เจ้าของเดิมหรือทายาทโดยธรรมของเจ้าของเดิม ซื้อคืนเพื่อประกอบเกษตรกรรมตามที่ตกลงกันได้ แต่ทั้งนี้ ไม่เป็นการห้าม สถาบันเกษตรกรที่จะนําที่ดินไปให้เจ้าของเดิม ทายาทโดยธรรมของเจ้าของเดิม หรือเกษตรกรอื่น ตามลําดับ เช่าเพื่อประกอบเกษตรกรรม

                            ประกาศหลักเกณฑ์การแบ่งแยก-โอนสิทธิในที่ดิน ส.ป.ก. ให้แก่ทายาทโดยธรรม

นอกจากนี้ ยังกำหนด การแบ่งแยก หรือ โอนสิทธิในที่ดินไปยัง ส.ป.ก.

คลิกดูจากราชกิจจานุเบกษา