"ธรรมนัส“ ควง ”อนุชา“ พบปะฟังเสียงสะท้อนชาวนาชัยนาท ลุยแก้ภัยแล้ง

25 ก.พ. 2567 | 11:02 น.

สมาคมชาวนาฯ เทียบเชิญ 2 รัฐมนตรีเกษตรฯ “ธรรมนัส-อนุชา” ลงพื้นที่ชัยนาท รับฟังปัญหาชาวนา สั่งลุยแก้แล้ง เล็งสร้างอาคารบังคับน้ำช่วยพื้นที่กว่า 1 หมื่นไร่ ขณะที่นายกฯ ชาวนา แจ้ง 27 ก.พ. กรมการข้าว แย้มข่าวดี มีพันธุ์ข้าวใหม่ 10 สายพันธุ์ ผลผลิตไม่ต่ำกว่า 1.3 ตัน/ไร่ อายุสั้น

\"ธรรมนัส“ ควง ”อนุชา“ พบปะฟังเสียงสะท้อนชาวนาชัยนาท ลุยแก้ภัยแล้ง

 

วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2567 ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่รับฟังปัญหาของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวจังหวัดชัยนาท ซึ่งประสบปัญหาแหล่งน้ำในพื้นที่การเพาะปลูกข้าวไม่เพียงพอ ณ หนองชะโด ต.สรรพยา อ.สรรพยา จ.ชัยนาท โดยมี นายวิทยา ชพานนท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายมณเฑียร สงฆ์ประชา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชัยนาท เขต 2 นายโชติวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสิงห์บุรี นายอนุสรณ์ นาคาศัย นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยนาท นายปราโมทย์ เจริญศิลป์ นายกสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย ผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำท้องถิ่น และเกษตรกรชาวนา เข้าร่วม
 

\"ธรรมนัส“ ควง ”อนุชา“ พบปะฟังเสียงสะท้อนชาวนาชัยนาท ลุยแก้ภัยแล้ง

ร้อยเอกธรรมนัส เปิดเผยระหว่างการการลงพื้นที่ในครั้งนี้ว่า วัตถุประสงค์ เพื่อรับฟังประเด็นปัญหาของเกษตรกรผู้ทํานาในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสรรคบุรี และอำเภอสรรพยา โดยตําบลห้วยกรด ตําบลห้วยกรดพัฒนา ตําบลเที่ยงแท้ อําเภอสรรคบุรี ตําบลบางหลวง ตําบลสรรพยา ตําบลตลุก อําเภอสรรพยา ได้รับความเดือดร้อนในช่วงฤดูแล้ง ปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการเกษตร จึงต้องอาศัยน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ บ่อบาดาล และในช่วงฤดูน้ำหลากจะมีการระบายน้ำในที่ลุ่มต่ำ ทําให้ดึงน้ำในที่ดอนไปด้วย ซึ่งเป็นปัญหาในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่

\"ธรรมนัส“ ควง ”อนุชา“ พบปะฟังเสียงสะท้อนชาวนาชัยนาท ลุยแก้ภัยแล้ง

ดังนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมชลประทาน จึงได้มีแนวทางช่วยเหลือ โดยเห็นชอบให้เร่งดำเนินการก่อสร้างอาคารบังคับน้ำ 3 จุด วงเงินงบประมาณ 40 ล้านบาท โดยใช้งบเหลือจ่าย ปี 2567 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการน้ำช่วยเหลือพื้นที่การเกษตร ดังนี้ จุดที่ 1 ก่อสร้างอาคารบังคับน้ำกลางคลองระบาย (คลองทิ้งน้ำหนองชะโด) วงเงินงบประมาณ 20 ล้านบาท พื้นที่รับประโยชน์ 4,000 ไร่ เพื่อให้ราษฎรที่อาศัยในบริเวณโครงการและใกล้เคียงมีน้ำอุปโภค-บริโภคทําการเกษตร จุดที่ 2 ก่อสร้างอาคารบังคับน้ำคลองระบาย (หนองน้ำร้อน) วงเงินงบประมาณ 10 ล้านบาท พื้นที่รับประโยชน์ประมาณ 3,800 ไร่ 200 ครัวเรือน จุดที่ 3 ก่อสร้างอาคารบังคับน้ำคลองระบาย (คลองทิ้งน้ำทุ่งหนองบัว) วงเงินงบประมาณ 10 ล้านบาท (อยู่ในแผนงบกลางภัยแล้ง 67) พื้นที่รับประโยชน์ 4,800 ไร่ 250 ครัวเรือน

\"ธรรมนัส“ ควง ”อนุชา“ พบปะฟังเสียงสะท้อนชาวนาชัยนาท ลุยแก้ภัยแล้ง

สำหรับโครงการอื่นๆ ที่กลุ่มเกษตรกรได้นำเสนอ เช่น ขุดลอกคลองท่าหมาดอนงู การจัดทําโครงการบ่อบาดาลโซลาเซลล์ เพื่อเติมน้ำในสระไว้ใช้ในฤดูแล้ง การขุดลอกคลองลําน้ำบ้านหนองนั้น ได้มอบหมายให้กรมชลประทาน ลงพื้นที่สำรวจความพร้อมร่วมกับผู้นำท้องถิ่น และให้เร่งนำเข้าแผนของบประมาณปี 2568 ต่อไป

\"ธรรมนัส“ ควง ”อนุชา“ พบปะฟังเสียงสะท้อนชาวนาชัยนาท ลุยแก้ภัยแล้ง

\"ธรรมนัส“ ควง ”อนุชา“ พบปะฟังเสียงสะท้อนชาวนาชัยนาท ลุยแก้ภัยแล้ง

“รัฐบาล โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้ความสำคัญกับปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องเกษตรกร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัญหาภัยแล้งที่ประสบทุกปีของชาวนาผู้ปลูกข้าวจังหวัดชัยนาท ซึ่งเปรียบเสมือนกระดูกสันหลังของประเทศ โดยเขื่อนเจ้าพระยาถือเป็นหัวใจสําคัญของโครงการชลประทานพัฒนาลุ่มน้ำเจ้าพระยา เพื่อการเพาะปลูกสําหรับพื้นที่ราบภาคกลาง จึงได้กำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ปัญหาเร่งด่วนเพื่อให้ชาวนาได้มีน้ำใช้เพื่อการทำเกษตร อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรฯ ยังคงเดินหน้าขับเคลื่อนนโยบายที่สำคัญ เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับพี่น้องเกษตรกร เช่น นโยบายลดต้นทุนการผลิต ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญ และนโยบายปุ๋ยคนละครึ่ง ที่กำลังจะดำเนินการ เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของเกษตรกร“ รมว.เกษตรฯ กล่าว

\"ธรรมนัส“ ควง ”อนุชา“ พบปะฟังเสียงสะท้อนชาวนาชัยนาท ลุยแก้ภัยแล้ง

”ขอขอบคุณรัฐมนตรีว่าการฯ ที่ได้ให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาความเดือดร้อนของชาวนาจังหวัดชัยนาท และได้ลงพื้นที่ในครั้งนี้เพื่อรับฟังเสียงสะท้อนจากชาวนาโดยตรง โดยโครงการต่าง ๆ ที่กลุ่มเกษตรกรได้นำเสนอน้้น ทำให้เกษตรกรทำนาในพื้นที่อำเภอสรรคบุรี และอำเภอสรรพยา พื้นที่กว่า 10,000 ไร่ ได้มีน้ำทำการเกษตรอย่างทั่วถึงและเพียงพอ เกิดประโยชน์สูงสุดกับเกษตรกร เกษตรกรมีต้นทุนการทำนาลดลง มีรายได้เพิ่มขึ้น ตลอดจนทำให้เกษตรกรสามารถพัฒนาต่อยอดจากแหล่งน้ำเป็นการท่องเที่ยวทำให้มีรายได้เพิ่มนอกจากการทำนาได้อีกด้วย ทั้งนี้ ผมในฐานะกำกับดูแลกรมการข้าว พร้อมขับเคลื่อนนโยบายสำคัญ ที่ รมว.เกษตรฯ ได้เน้นย้ำ และจะเร่งหาแนวทางที่หลากหลายมิติ เพื่อนำพาพี่น้องเกษตรกรให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน“ รมช.อนุชา กล่าวย้ำ

\"ธรรมนัส“ ควง ”อนุชา“ พบปะฟังเสียงสะท้อนชาวนาชัยนาท ลุยแก้ภัยแล้ง


ด้านนายปราโมทย์ เจริญศิลป์ นายกสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย เผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ นี้ ทางกรมการข้าว จะมีพันธุ์ข้าวรับรองใหม่ 10 สายพันธุ์ ประกอบด้วยข้าวขาวพื้นแข็ง ข้าวขาวพื้นนุ่ม ข้าวหอมไทย ข้าวเหนียว ข้าวญี่ปุ่น และข้าวสาลี โดยกรมการข้าวแจ้งว่าเป็นพันธุ์ข้าวที่มีผลผลิตไม่ต่ำกว่า 1,300 กิโลกรัมต่อไร่ และอายุสั้น ก็ต้องติดตามกันว่าจะตอบโจทย์ชาวนาหรือไม่ ก็ขอให้ชาวนาติดตามตอนต่อไป

"โรงสีฝากแจ้งเตือนชาวนาให้พิจารณาในการเลือกพันธุ์ข้าวมาเพาะปลูกชาวนา ที่จะเพาะปลูกข้าว เบอร์20 และเบอร์80 ถ้าจะปลูกต้องเช็คข้อมูล เรื่องแหล่งรับซื้อให้ดีก่อนเพาะปลูก เท่าที่ทราบ โรงสี ในหลายพื้นที่เริ่ม ปฏิเสธการรับซื้อ เนื่องจาก คุณภาพของข้าวเปลือก เป็นข้าวที่เปลือกหนา เมล็ดสั้น ท้องไข่เยอะ และ เมื่อนำมาหุงคุณภาพ ความนุ่มด้อยกว่า ข้าวนุ่มพันธุ์อื่นๆ"

\"ธรรมนัส“ ควง ”อนุชา“ พบปะฟังเสียงสะท้อนชาวนาชัยนาท ลุยแก้ภัยแล้ง

นายปราโมทย์ กล่าวว่า เริ่มไม่เป็นที่ยอมรับของตลาดข้าวสารในกลุ่มข้าวพื้นนุ่ม และกลุ่มข้าวพื้นแข็งก็กังวลว่าจะมีข้าวพื้นนุ่มผสมปนมา โดยเฉพาะด้านการส่งออกก็เริ่มมีการ สะท้อนปัญหากลับมาจึงขอเตือน มายังชาวนาผู้ที่จะปลูกข้าว เบอร์20 และ เบอร์80 ควรพิจารณา ศึกษาตลาด แหล่งรับซื้อ ให้ดีก่อนที่จะตัดสินใจปลูก เพราะจะหาที่ขายข้าวเปลือกยากลำบาก และถึงขายได้ก็จะเสี่ยงที่จะได้ราคาต่ำ บ้างพื้นอาจขายได้ บ้างพื้นขายยาก ตลาดเริ่มแคบลง ก็พิจารณาให้ดีก่อนตัดสินใจเพาะปลูกในฤดูกาลต่อไป
\"ธรรมนัส“ ควง ”อนุชา“ พบปะฟังเสียงสะท้อนชาวนาชัยนาท ลุยแก้ภัยแล้ง