เช็ค “เงินประกันรายได้ยางพารา” เงินไม่เข้า จะทำไงดี

31 ก.ค. 2566 | 10:00 น.

กยท.อัพเดทตรวจสอบสิทธิ์ผ่าน chongkho.inbaac.com “เงินประกันรายได้ยางพารา” เงินไม่เข้า ย้ำอย่าเพิ่งตื่นตระหนก ไม่ต้องตกใจ ให้อุทธรณ์ได้ไม่ยาก ติดต่อ ธ.ก.ส. สาขาใกลับ้าน ธ.ก.ส.ทยอยโอนไปเรื่อยๆ มี 16 รอบ รอบที่ 2 คาดโอนในวันที่ 21 เม.ย. 66

 “ฐานเศรษฐกิจ” ยังติดตามความคืบหน้าโครงการประกันรายได้เกษตรกร “ประกันราคายางพารา” เฟส 4 อย่างต่อเนื่อง โดย ล็อตแรก ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ (ธ.ก.ส.) ได้แจ้งโอนให้กับเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา หรือชาวสวนยาง กับคนกรีดยางไปแล้ว จำนวน 1.9 หมื่นคน เกษตรกรสามารถตรวจสอบเงินเข้าได้ที่ลิงค์ https://chongkho.inbaac.com ในเว็บไซต์ ธ.ก.ส. หรือ ไปปรับปรุงหน้าบัญชีธนาคาร ธ.ก.ส. ได้ตามเวลาราชการ

 

โอน ล็อตแรก "ประกันรายได้ยางพารา" เฟส 4

ส่วนเกษตรกรที่เงินไม่เข้า แหล่งข่าวการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) แจ้งว่าไม่ต้องตกใจ หากตรวจสอบสิทธิ์เงินประกันรายได้ยางพารา แล้วเงินไม่เข้า อย่าเพิ่งตื่นตระหนก ไม่ต้องตกใจ ให้อุทธรณ์ได้ในสาขาใกล้บ้าน  เนื่องจากการดำเนินการนั้นจะมีการทำงานร่วมกันกับผู้นำชุมชนทั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ตัวแทน อบต. ดังนั้นการอุทธรณ์หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงต่างๆ ค่อยๆทยอยไปแก้ไขกันนะ อย่าไปพร้อมไปกันเยอะๆ เดี๋ยวขัดใจเองเปล่าๆ

ขึ้นทะเบียน กยท.

สำหรับขั้นตอน “ประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยางพารา เฟส 4"  ต้องเป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนและแจ้งข้อมูลปลูกยาง กับ กยท.  เกษตรกรสามารถตรวจสอบข้อมูลเกษตรกร เบื้องต้นผ่านสแกน QRcode หรือ ผ่านลิงค์  https://www.raot.co.th/gir/index/ และมีบัญชีเงินฝากออมทรัพย์กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)

วิธีการคำนวณราคากลางอ้างอิง และการคำนวณรายได้การชดเชยส่วนต่างประกันรายได้เกษตรกรยางพารา

1.กำหนดปริมาณผลผลิตยางที่จะประกันรายได้ (ยางแห้ง) 240 กิโลกรัม/ไร่/ปี หรือ 20 กิโลกรัม/ไร่/เดือน

เช็ค “เงินประกันรายได้ยางพารา” เงินไม่เข้า จะทำไงดี

2.กำหนดเงินค่าประกันรายได้ในแต่ละเดือน = (ราคายางที่ประกันรายได้ –ราคากลางอ้างอิงการขาย) x ปริมาณผลผลิตยางตามเนื้อที่กรีดยาง  

 

- ราคายางที่ประกันรายได้ โดยกำหนดให้ 

1.ยางแผ่นดิบคุณภาพดี          60 บาท/กิโลกรัม

2.น้ำยางสด (DRC 100%)       57 บาท/กิโลกรัม

3.ยางก้อนถ้วย (DRC 50%)      23 บาท/กิโลกรัม

เคาะทีเดียว 2 งวด

-ราคากลางอ้างอิงการขาย หมายถึง ราคาที่คณะทำงานกำหนดราคากลางอ้างอิง (บาท/กิโลกรัม) โดยพิจารณาจากราคาตลาดกลางยางพารา,SICOM,TOCOM และปัจจัยอื่นๆ

-ปริมาณผลผลิตยางตามเนื้อที่กรีดยาง หมายถึง ผลผลิตยาง จำนวน 20 กิโลกรัม (ผลผลิตยางแห้ง/ไร่/เดือน)x จำนวนไร่ (รายละไม่เกิน 25 ไร่)

-แบ่งสัดส่วนรายได้เจ้าของสวน 60% และคนกรีด 40% ของรายได้ทั้งหมด โดยการรับเงินส่วนต่างจากการประกันรายได้ โดย ธ.ก.ส.โอนเงินเข้าบัญชีเกษตรกร

หลักเกณฑ์การพิจารณาก่อนโอนเงินชดเชยส่วนต่างให้เกษตรกรชาวสวนยาง ของ ธ.ก.ส. มีหลักเกณฑ์ ดังนี้

เช็ค “เงินประกันรายได้ยางพารา” เงินไม่เข้า จะทำไงดี

1.เกษตรกรชาวสวนยางรายละ 1 สิทธิ์ ไม่เกิน 25 ไร่

2. ประมวลผลหาบัญชีเงินฝากสำหรับโอนเงินให้เกษตรกรที่ได้รับสิทธิและจะต้องปรากฏเพียงชื่อเดียวเท่านั้น

      2.1  เจ้าของบัญชีเงินฝากมีอำนาจถอนเงินแต่เพียงผู้เดียว

      2.2  เจ้าของบัญชีเงินฝากมีอำนาจถอนเงินแต่เพียงผู้เดียว

      2.3 ชื่อ-นามสกุล หมายเลขประจำตัวประชาชนเจ้าของบัญชีเงินฝากจะต้องตรงกับชื่อ-นามสกุล เกษตรกรผู้รับสิทธิตามโครงการฯ

      2.4  ไม่ติดสถานะอายัดบัญชี เช่น อายัดตามตามคำสั่งศาล บุคคลล้มละลาย เป็นต้น

หลักเกณฑ์ ก่อนโอนเงินชดเชยส่วนต่างให้เกษตรกรชาวสวนยาง

     

สำหรัยพื้นที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ เคยได้รับเงินระยะที่ 1-2-3 แต่ไม่ได้ขึ้นปรับปรุงขึ้นทะเบียนก่อน 30 มิถุนายน 2565 ก็ไม่อยู่ในเงื่อนไขประกันรายได้ยางพาราระยะที่ 4 ตรวจสอบสิทธิ https://www.raot.co.th/gir/index/

เช็ค “เงินประกันรายได้ยางพารา” เงินไม่เข้า จะทำไงดี

 

เกษตรกรชาวสวนยาง สามารถตรวจตรวจสอบสถานะการโอนเงินได้ ลิงค์ ของ ธ.ก.สhttps://chongkho.inbaac.com/ ตลอด 24 ชั่วโมง เงินเข้าหรือยัง แต่ถ้ามีปัญหาขอให้สอบถามได้ที่ กยท. หรือ ธ.ก.ส. สาขาใกล้บ้าน รอบที่ 2 คาดโอนในวันที่ 21 เม.ย. 66