‘ป้อม-ตู่’ส่งท้ายลงระนอง แก้ปัญหานํ้าปลดล็อกที่ป่าชายเลน

17 มี.ค. 2566 | 03:09 น.

ส่งท้ายปลายสมัยรัฐบาล “ประยุทธ์ 3” บรรดาแกนนำพรรค และรัฐมนตรี ต่างเร่งลงพื้นที่ไม่เว้นวัน จังหวัดระนองมีคณะใหญ่จากทำเนียบลงพื้นที่ต่อเนื่อง รวมทั้งที่ระนอง 

ต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี นำคณะมาติดตามสถานการณ์นํ้า และความคืบหน้าการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองหาดส้มแป้น ปลายสัปดาห์ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มาตามเรื่องการแก้ปัญหาที่ดินป่าชายเลนชุมชนเมือง ที่ยืดเยื้อกว่า 20 ปี

ระนองเฮปลดล็อก “ป่าชายเลน”

วันที่ 16 มี.ค. 2566 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี นำคณะ ลงพื้นที่ตรวจราชการจังหวัดระนอง โดยมีวาระสำคัญคือ การติดตามผลการดำเนินงานการแก้ไขปัญหาการใช้ประโยชน์ที่ดินป่าชายเลนชุมชนเมือง จังหวัดระนอง ที่บริเวณลานอเนกประสงค์หน้าเทศบาลเมืองระนอง ที่ยืดเยื้อมากว่า 20 ปี 

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ประชุมวาระแก้ปัญหาที่ดินป่าชายเลนชุมชนเมืองระนอง(ภาพจากแฟัมทำเนียบรัฐบาล)

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯมอบหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตป่า

ที่ดินดังกล่าวเดิมเป็นเหมืองแร่ ทำให้สิ้นสภาพป่าชายเลน และราษฎรเข้าจับจองทำประโยชน์จำนวนมาก เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ระนอง และเทศบาลเมืองระนอง จึงขออนุญาตใช้ประโยชน์พื้นที่จากกรมป่าไม้

เนื่องจากที่ดินดัง กล่าวอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าคลองหัวเขียวและป่าคลองเกาะสุย มาให้ราษฎรเช่าอยู่อาศัย จนเป็นชุมชน ย่านการค้าและอุตสาหกรรมของเมืองระนอง รวม 3 แปลง

‘ป้อม-ตู่’ส่งท้ายลงระนอง แก้ปัญหานํ้าปลดล็อกที่ป่าชายเลน

‘ป้อม-ตู่’ส่งท้ายลงระนอง แก้ปัญหานํ้าปลดล็อกที่ป่าชายเลน

แปลง A บริเวณหมู่ที่ 5 ตำบลบางริ้น อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง เนื้อที่ 242 ไร่ 2 งาน ระยะเวลาการอนุญาต 15 ปี ตั้งแต่วันที่ 22 มิ.ย. 2525 - 21 มิ.ย. 2540

แปลง B เนื้อที่ 224 ไร่ ระยะเวลาการอนุญาต 30 ปี ตั้งแต่วัน 1 พ.ค. 2529 ถึงวันที่ 30 เม.ย. 2559 และ แปลงที่ C เนื้อที่ 17 ไร่ 2 งาน ระยะเวลาอนุญาต 10 ปี หมดอายุ 29 กันยายน 2539

เมื่อหมดอายุกรมป่าไม้ไม่ต่อใบอนุญาต ทำให้ประชาชนที่อยู่อาศัยและประกอบกิจการต่างๆ ในพื้นที่กลายเป็นผู้บุกรุกป่า ไม่สามารถทำนิติกรรมใดๆ ก่อให้ เกิดความเดือดร้อนและส่งผลต่อ การดำรงชีวิตของประชาชนจำนวนมาก และมีปัญหายืดเยื้อมาตลอด

20 ส.ค. 2561 พล.อ. ประยุทธ์ ลงตรวจราชการระนอง รับฟังความเดือดร้อนชาวบ้าน จึงมอบกระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไปแก้ปัญหา ซึ่งอนุกรรมการจัดหาที่ดิน เห็นชอบให้เพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติป่าคลองหัวเขียว และป่าคลองเกาะสุย (บางส่วน) พร้อมส่งมอบกรมธนารักษ์นำพื้นที่ไปดำเนินการบริหารจัดการตามกฎหมาย

‘ป้อม-ตู่’ส่งท้ายลงระนอง แก้ปัญหานํ้าปลดล็อกที่ป่าชายเลน

จากการสำรวจจัดทำข้อมูลอย่างละเอียด รังวัดพื้นที่ 3 แปลง มีเนื้อที่จำนวน 520.86 ไร่ ผู้ครอบครอง 900 ราย กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เสนอเพิกถอนพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ (บางส่วน) เนื้อที่ 502.74 ไร่

วันที่ 8 มีนาคม 2566 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เสนอเรื่องร่างกฎกระทรวงเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติ ป่าคลองหัวเขียวและป่าคลองเกาะสุย (บางส่วน) ในท้องที่ตำบลเขานิเวศน์ และ ตำบลบางริ้น อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง พ.ศ. ... ให้รองนายกรัฐมนตรี (พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ) ให้ความเห็นชอบ เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ

เป็นการทำให้ชุมชนอยู่ทำประโยชน์ในพื้นที่ได้อย่างถูกต้องอีกครั้ง ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการขับเคลื่อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ตลอดจนยกระดับคุณภาพชีวิตชาวระนอง จากที่สั่นคลอนมากว่า 20 ปีให้ยุติลง

“คลองหาดส้มแป้น” แลนด์มาร์คใหม่

ขณะที่เมื่อวันที่ 13 มี.ค. 2566 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ และประธานกรรมการทรัพยากรนํ้าแห่งชาติ ก็นำคณะลงพื้นที่จังหวัดระนอง เพื่อตรวจราชการติดตามการดำเนินงานโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองหาดส้มแป้น และสถานการณ์ นํ้าในพื้นที่จังหวัดระนอง ที่ลานอเนกประสงค์หน้าเทศบาลเมืองระนอง อำเภอเมืองระนอง

‘ป้อม-ตู่’ส่งท้ายลงระนอง แก้ปัญหานํ้าปลดล็อกที่ป่าชายเลน

ทั้งนี้ จังหวัดระนอง ตั้งอยู่ชายฝั่งทะเลอันดามัน ลักษณะอากาศมีฝนตกชุกเกือบตลอดปี แต่จากภูมิประเทศที่เป็นเทือกเขาสูง เกิดนํ้าป่าไหลหลาก ไม่สามารถเก็บสำรองไว้ใช้ในหน้าแล้งได้ รัฐบาลจึงให้แก้ปัญหานํ้าควบคู่กับการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองหาดส้มแป้น

กรมโยธาธิการและผังเมือง สนับสนุนงบ 49.46 ล้าน บาท ให้จังหวัดทำโครงการปรับ ปรุงภูมิทัศน์คลองหาดส้มแป้น ดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563-2566 ในพื้นที่ต่อเนื่องจาก บ่อนํ้าแร่ร้อนรักษะวาริน โดยทำเขื่อนป้องกันตลิ่งยาว 902 เมตร บนสันเขื่อนมีทางเดิน-ทางวิ่ง เพื่อสันทนาการและออกกำลังกาย ความกว้าง 2 เมตร ตลอดแนว พร้อมราวกันตกและไฟส่องสว่าง

โครงการนี้เชื่อมต่อกับทางเดิน-ทางวิ่ง ของโครงการพัฒนาบ่อนํ้าแร่ร้อนรักษาะวาริน รวมระยะทาง 2,000 เมตร ด้านหลังสันเขื่อนมีทางจักรยานกว้าง 2 เมตร คู่ขนานกับทางเดินทางวิ่ง ซึ่ง ดำเนินการแล้วเสร็จเมื่อปีงบ ประมาณ พ.ศ. 2565 ด้วยงบประมาณ 80 ล้านบาท

‘ป้อม-ตู่’ส่งท้ายลงระนอง แก้ปัญหานํ้าปลดล็อกที่ป่าชายเลน

ส่วนบริเวณลานอเนก ประสงค์ของเทศบาลเมืองระนอง ได้ดำเนินการก่อสร้างลานกิจกรรมริมนํ้า ทดแทนลานเดิมที่ชำรุดทรุดโทรม ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ชาวระนองใช้พักผ่อนหย่อนใจ เพื่อสันทนาการเป็นประจำทุกวัน และเป็นสถานที่จัดกิจกรรมงานประจำปีอย่างต่อเนื่อง 

 

บุญเลื่อน พรหมประทานกุล/รายงาน
หน้า 10 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 43 ฉบับที่ 3,871 วันที่ 19-22 มีนาคม พ.ศ.2566