"สรรเสริญ"จับมือลาวผลิตสื่อร่วมฟื้นเศรษฐกิจสองฝั่งโขง

23 ก.ย. 2565 | 03:52 น.

 “สรรเสริญ” นำทีมกรม ปชส. เยือนลาวใต้ ฟื้นความร่วมมือเสริมสร้างทักษะการผลิตสื่อร่วม 2 ฝั่งโขง จับมือแผนกแถลงข่าว วัฒนธรรม และท่องเที่ยว แขวงจำปาสัก หนุนการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติและวัฒนธรรม ฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 17-18 ก.ย.2565  พลโท สรรเสริญ แก้วกำเนิด อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ นำคณะ เดินทางเข้าพบท่านโสม บุดตะกุน รองเจ้าแขวงจําปาสัก ณ แขวงจําปาสัก สปป.ลาว เพื่อพบปะเยี่ยมเยือนและหารืออย่างไม่เป็นทางการ หลังสถานการณ์โควิด-19 ได้ผ่อนคลาย เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และผลิตรายการร่วมทาง NBT ทีวีอีสาน 

 

การเดินทางครั้งนี้มีนางทัศนีย์ ผลชานิโก รองอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ นายดุสิต สิงห์คีรี ผู้อำนวยการสำนักประชาสัมพันธ์ เขต 2 พร้อมด้วย ผอ.สทท.อุบลประชาสัมพันธ์จังหวัด และ ผอ.สวท. ในพื้นที่จังหวัดชายแดนไทย- ลาว ได้แก่ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ มุกดาหาร และนครพนม ร่วมคณะ

"สรรเสริญ"จับมือลาวผลิตสื่อร่วมฟื้นเศรษฐกิจสองฝั่งโขง

"สรรเสริญ"จับมือลาวผลิตสื่อร่วมฟื้นเศรษฐกิจสองฝั่งโขง
พลโท สรรเสริญ แก้วกำเนิด กล่าวว่า ที่ผ่านมาสื่อมวลชนแขวงจำปาสัก และอุบลราชธานี โดย สมาคมนักข่าวแขวงจําปาสัก กับ สมาคมสื่อมวลชนจังหวัดอุบลราชธานี ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ร่วมกันมาเป็นเวลาหลายปี แต่เมื่อมีการแพร่ระบาดของ Covid-19 ทำให้กิจกรรมต่างๆ ตามความร่วมมือขาดการดำเนินการต่อเนื่อง แต่หลังจากมีการเปิดด่านขายแดน ทำให้เกิดการสานสัมพันธ์ความร่วมมือกันอีกครั้ง เพื่อขยายความร่วมมือ เช่น การแลกเปลี่ยนข้อมูลโครงสร้างพื้นฐาน กิจกรรมทางเทคนิคและวิชาการ ซึ่งกรมประชาสัมพันธ์ยินดีให้ความร่วมมือ ในการยกระดับการทํางานด้านสื่อมวลชน และสนับสนุนการอบรม ณ สถาบันการประชาสัมพันธ์

 

ทางด้าน ท่านโสม บุดตะกุน รองเจ้าแขวงจําปาสัก รองเจ้าแขวงจําปาสัก กล่าวว่า ที่ผ่านมาสถานการณ์เศรษฐกิจ-สังคม ของแขวงจําปาสัก  โดยเฉพาะด้านวัฒนธรรม การท่องเที่ยว และความร่วมมือของสื่อมวลชน  ซึ่งที่ผ่านมา ชาวลาว-ไทย โดยเฉพาะแขวงจําปาสัก และจังหวัดอุบลราชธานี  ที่มีพื้นที่ชายแดนติดกัน ได้มีการส่งเสริมด้านการท่องเที่ยว และด้านเศรษฐกิจ ด้วยกันตลอดมา 

"สรรเสริญ"จับมือลาวผลิตสื่อร่วมฟื้นเศรษฐกิจสองฝั่งโขง

"สรรเสริญ"จับมือลาวผลิตสื่อร่วมฟื้นเศรษฐกิจสองฝั่งโขง
โดยเฉพาะความร่วมมือของสมาคมนักข่าวแขวงจําปาสัก กับ สมาคมสื่อมวลชนจังหวัดอุบลราชธานี ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ร่วมกันเป็นเวลาหลายปี แต่เนื่องจากการแพร่ระบาดของ Covid-19 มีการล็อกดาวน์ใน 2 ประเทศ ทําให้กิจกรรมต่าง ๆ ขาดการต่อเนื่อง

 

แต่หลังจาก มีการเปิดประเทศแล้ว ทั้ง 2 แขวง คือ จำปาสัก หับ จังหวัดอุบลราชธานี ก็เห็นว่าควรมีการขยายความร่วมมือ เช่น การแลกเปลี่ยนข้อมูล โครงสร้างพื้นฐาน กิจกรรมทางเทคนิคและวิชาการ ซึ่งทางอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ประเทศไทย ได้การยกระดับความร่วมมือ โดยพร้อมต้อนรับคณะสื่อมวลชนจาก สปป.ลาว  ทั้งจากแขวงจำปาสัก และแขวงอื่น ๆ เข้าไปอบรมที่กรมประชาสัมพันธ์ ส่วนกลาง โดยไม่คิดค่าอบรมหลักสูตร ซึ่งเป็นหลักการที่ทั้งสองประเทศเห็นด้วยร่วมกัน

 

จากนั้น พลโท สรรเสริญ แก้วกำเนิด อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ และคณะ พร้อมด้วย นายชลธิษ จันทร์สิงห์ นายกสมาคมสื่อมวลชนอุบลราชธานี ได้ประชุมร่วมกับทางแผนกแถลงข่าว วัฒนธรรม และท่องเที่ยว แขวงจำปาสัก โดยมีท่านคำเพ็ด เทพไกสอน รองหัวหน้าแผนกแถลงข่าวฯ พร้อมคณะ ประกอบด้วย ทางสมาคมนักข่าวแขวงจำปาสัก ท่านคำใบ แก้วสุพัน, สื่อมวลชนด้าน วิทยุ-โทรทัศน์-หนังสือพิมพ์  แขวงจำปาสัก ประชุม เพื่อหารือ แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นอย่างไม่เป็นทางการ ในการแลกเปลี่ยนมูลข่าวสาร การร่วมผลิตรายการ โทรทัศน์ –วิทยุ ของบุคลากรทั้งสองฝ่าย 

"สรรเสริญ"จับมือลาวผลิตสื่อร่วมฟื้นเศรษฐกิจสองฝั่งโขง

โดยเน้นเนื้อหาด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรม เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ ผ่านสื่อของแต่ละฝ่าย เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ หลังจากที่ได้รับผลกระทบอย่างหนัก กับการแพร่ระบาดของเชื้อ covid-19 ที่ผ่านมา  พร้อมทั้งเป็นการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ด้านเทคนิคต่างๆในการผลิตรายการ 

 

นอกจากนั้น ทางกรมประชาสัมพันธ์ จะสนับสนุนในด้านการอบรมทางวิชาการ โดยเชิญบุคคลากร ในสายบริหารและสายปฎิบัติการ เข้าไปอบรมรมหลักสูตรของทางกรมประชุมชาสัมพันธ์ ที่กรุงเทพฯ  

 

ในช่วงท้าย ทางคณะได้เดินทางเข้าเยี่ยมชมสถานีวิทยุ-โทรทัศน์ แขวงจำปาสัก   จากนั้นทางคณะ ได้เดินทางไปเที่ยวชมแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ 2 แห่ง ของแขวงจำปาสัก คือ น้ำตกตาดฟาน และน้ำตกตาดเยือง เพื่อเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจด้านการท่องที่ยวอีกด้วย

"สรรเสริญ"จับมือลาวผลิตสื่อร่วมฟื้นเศรษฐกิจสองฝั่งโขง

น้ำตกตาดฟาน (Tad Fane Waterfall)   เป็นน้ำตกที่สูงที่สุดในแขวงจำปาสัก  ใช้ทางหลวงหมายเลข 23 เส้นทางไปปากซอง หลักกิโลเมตรที่ 38   เป็นน้ำตกที่ลำน้ำ 2 สาย ไหลลงจากหน้าผาสูงราว 120 เมตร   มีจุดชมวิวที่ตั้งอยู่คนละฟากเขากับตัวน้ำตก ในระดับความสูงเท่า ๆ กัน 

 

นอกจากจะมีความสวยงามทางธรรมชาติแล้ว จุดไฮไลท์ อีกอย่างที่ท้าทายทดสอบจิตใจกับนักท่องเที่ยวคือ Zip Line  เป็นกิจกรรมสายแอดเวนเจอร์  ซึ่งทางเจ้าหน้าที่จะมีอุปกรณ์เซฟตี้และให้ความรู้กับนักท่องเที่ยวก่อนที่จะทำการเล่น  

"สรรเสริญ"จับมือลาวผลิตสื่อร่วมฟื้นเศรษฐกิจสองฝั่งโขง

สำหรับ Zip Line ข้ามน้ำตกตาดฟาน  ระยะทาง 450 เมตร สูงจากพื้นดินประมาณ 500 เมตร การเล่นไม่มีเพียงเฉพาะการโหนแบบธรรมดา แต่ยังมีทั้งแบบ นอนเปล และ จิบกาแฟบน Zip Line ชมวิว ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก อีกด้วย  

 

 

ถัดไปอีก 2 ก.ม. ก็จะถึง  “น้ำตกตาดเยือง” (Tad Ngeuang Waterfall)   เป็น 1 ใน 2 สถานที่ท่องเที่ยวของ สปป. ลาว ที่ได้รับรางวัลท่องเที่ยวแบบยั่งยืนอาเซียน ปี ค.ศ. 2022 (ASEAN Sustainable Tourism Awards 2022) ปัจจุบันบริษัท พัฒนาแหล่งท่องเที่ยว น้ำตกตาดเยือง จำกัด (Phathana Tad Ngeuang Waterfall Company) เป็นผู้พัฒนาน้ำตกตาดเยือง โดยมีนางสอนทิดา อุนาพม ผู้อำนวยการบริษัทฯ เข้ามาพัฒนาน้ำตกตาดเยืองต่อจากกลุ่มผู้ลงทุนเดิมเมื่อปี 2555 

"สรรเสริญ"จับมือลาวผลิตสื่อร่วมฟื้นเศรษฐกิจสองฝั่งโขง

โดยได้ลงทุนปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งถนน ไฟฟ้า และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ และร่วมกับประชาชนบ้านหลัก 40 ก่อตั้งกลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ เพื่อตอบสนองให้แก่แหล่งท่องเที่ยวน้ำตกตาดเยือง ส่งเสริมทักษะการทำงาน สร้างตลาดชุมชนให้ประชาชนมีส่วนร่วม สร้างรายได้เพิ่มในรูปแบบเศรษฐกิจภายในครอบครัว รวมทั้งส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรมท้องถิ่นควบคู่กันไปด้วย

 

รางวัลการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนอาเซียนปี ค.ศ. 2022 จัดขึ้นภายใต้หัวข้อ “การท่องเที่ยวปลอดภัย” ซึ่งให้ความสำคัญกับมาตรการสกัดกั้นและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙ ซึ่งในส่วนของ สปป. ลาว มีสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับรางวัล 2 แห่งคือ น้ำตกตาดเยือง แขวงจำปาสัก ซึ่งได้รับรางวัลภายใต้การท่องเที่ยวในเขตเมือง และน้ำตกตาดกวางสี แขวงหลวงพระบาง ซึ่งได้รับรางวัลภายใต้การท่องเที่ยวในเขตชนบท  

 

น้ำตกตาดเยืองเป็นน้ำตกที่มีความสูงประมาณ 50 เมตร มีต้นกำเนิดจากสายน้ำห้วยบังเลียง เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อว่ามีทิวทัศน์ที่สวยงาม มีความอุดมสมบูรณ์และอากาศเย็นตลอดทั้งปี อีกทั้งสามารถเดินทางได้โดยสะดวก จึงเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวทั้งภายในและต่างประเทศ 

 

ความโดดเด่นอีกประการของน้ำตกตาดเยืองคือ นักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสกับวิถีการดำรงชีวิตของชนเผ่าดั้งเดิมที่อาศัยอยู่บริเวณนี้ ซึ่งยังคงรักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมไว้จนถึงทุกวันนี้ ส่งผลให้น้ำตกตาดเยือง เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับการยอมรับ และได้รับหลายรางวัลด้านการท่องเที่ยว ทั้งในระดับท้องถิ่นและอาเซียน อีกด้วย

"สรรเสริญ"จับมือลาวผลิตสื่อร่วมฟื้นเศรษฐกิจสองฝั่งโขง


ชลธิษ จันทร์สิงห์/รายงาน