ผู้นำของครอบครัว จัดการความขัดแย้ง ในธุรกิจครอบครัวอย่างไร (จบ)

07 ก.ค. 2566 | 22:09 น.

ผู้นำของครอบครัว จัดการความขัดแย้ง ในธุรกิจครอบครัวอย่างไร (จบ) คอลัมน์ Designing Your Family Business โดย รศ.ดร.เอกชัย อภิศักดิ์กุล คณบดีคณะวิทยพัฒน์ และผู้อำนวยการศูนย์ธุรกิจครอบครัว มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย [email protected]

2.ดำเนินการค้นหาข้อเท็จจริง หลังจากนั้นที่ปรึกษาควรทำการพบปะกับทุกฝ่ายอย่างอิสระ เพื่อทำความเข้าใจสาเหตุของความขัดแย้ง มุมมองของทั้งสองฝ่าย และข้อเท็จจริงทั้งหมด รวมถึงควรพยายามทำความเข้าใจความต้องการและผลลัพธ์ตามประสงค์ของแต่ละฝ่าย ทั้งประเด็นด้านอารมณ์ความรู้สึกและด้านข้อเท็จจริงไปพร้อมกัน

3.รวบรวม จัดระเบียบ และตรวจสอบสิ่งที่ค้นพบ ทำการวิเคราะห์และจัดระเบียบข้อมูลที่รวบรวมมาทั้งหมด และสามารถแบ่งปันผลลัพธ์ที่ได้กับผู้มีส่วนร่วมในแนวทางที่เป็นการให้ข้อเท็จจริงและเที่ยงตรง ควรมีการบันทึกประเด็นความขัดแย้งและข้อโต้แย้งเพิ่มเติม รวมถึงประเด็นของข้อตกลงหรือการประนีประนอมด้วย

ผู้นำของครอบครัว จัดการความขัดแย้ง ในธุรกิจครอบครัวอย่างไร (จบ)

4.จัดอันดับข้อขัดแย้ง นำประเด็นปัญหาในข้างต้นมาจัดลำดับความสำคัญตามความเห็นของแต่ละฝ่าย โดยแยกเป็นกลุ่มดังนี้ 1. Must have 2. Nice to have 3. Not important และเมื่อจัดลำดับประเด็นปัญหาแล้ว ให้หาข้อตกลงจากแต่ละฝ่ายด้วยวิธีการประนีประนอม การแลกเปลี่ยนประโยชน์ซึ่งกันและกัน หรือการปรับเปลี่ยนความต้องการ เป็นต้น โดยเริ่มจากปัญหาที่ไม่สำคัญหรือง่ายที่สุดก่อน โปรดตระหนักว่าความขัดแย้งจะไม่สามารถเจรจาได้ จนกว่าทุกคนจะเข้าใจทั้งในแง่ของข้อเท็จจริงและความรู้สึกเสียก่อน

5.จัดทำข้อตกลง นำทั้งสองฝ่ายเข้าสู่การหาข้อตกลงอย่างเป็นทางการและจัดทำข้อตกลง เริ่มต้นด้วยการทบทวนการเปลี่ยนแปลงที่ตกลงกันว่าจะทำขึ้นและยืนยันว่ายังคงยอมรับการประนีประนอมได้ ทั้งนี้พันธะสัญญาในข้อตกลงสามารถยืนยันได้ผ่านสัญญาที่เป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ นโยบายใหม่ หรือการจับมือกัน เป็นต้น

6.สื่อสารข้อตกลงออกไป ขั้นตอนสุดท้ายคือการสื่อสารข้อตกลงไปยังบุคคลภายในครอบครัวหรือธุรกิจครอบครัวที่ต้องรับทราบผลลัพธ์ด้วยวิธีที่เหมาะสม อาทิ บางครั้งอาจจำเป็นต้องมีการสื่อสารอย่างเป็นทางการ หรือบางครั้งการประกาศด้วยวาจาในการประชุมครอบครัวหรืออาหารค่ำอาจเหมาะสมมากกว่า

อย่างไรก็ตามแนวทางการจัดการความขัดแย้งจะไม่มีความหมายมากนักในระยะยาว หากสมาชิกในครอบครัวไม่สามารถให้อภัยซึ่งกันและกันในความขัดแย้งและความไม่ลงรอยกันที่เกิดขึ้นในอดีต เนื่องจากความไม่พอใจความไม่ลงรอยกัน และการดูถูกกันเป็นเวลานานจะสร้างความขมขื่นและความขุ่นเคืองใจมากมาย

ดังนั้นกระบวนการจัดการความขัดแย้งในธุรกิจครอบครัวต้องไม่เพียงจัดการกับความขัดแย้งที่มองเห็นชัดเจนและนำเสนอปัญหาเท่านั้น แต่ยังต้องจัดการกับปัญหาการให้อภัยภายในครอบครัวด้วย โปรดจำไว้เสมอว่าธุรกิจครอบครัวอาจไม่สามารถคงอยู่ตลอดไป แต่ครอบครัวสามารถทำได้

ที่มา: Plaster, G.A. Jan 06, 2023. Managing conflict in a family-owned business. Available:

https://www.bakertilly.com/insights/managing-conflict-in-a-family-owned-business

หน้า 17 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 43 ฉบับที่ 3,902 วันที่ 6 - 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2566