"รัสเซีย" เอาชนะวิกฤตเศรษฐกิจท่ามกลางสงครามยูเครน

17 เม.ย. 2567 | 22:00 น.

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เผยแพร่รายงานการคาดการณ์เศรษฐกิจโลกฉบับล่าสุด ชี้ เศรษฐกิจของรัสเซีย มีแนวโน้มจะขยายตัวเร็วกว่า “ประเทศเศรษฐกิจพัฒนาแล้ว” ทั้งหมดภายในปี 2567

กว่า 2 ปีหลังจากการรุกรานยูเครนอย่างเต็มรูปแบบ "รัสเซีย" ยังคงเผชิญกับการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน โดยถูกแยกออกจากบริการทางการเงินที่สำคัญระดับโลก และสินทรัพย์ของธนาคารกลางประมาณ 260 พันล้านยูโร (222 พันล้านปอนด์) ถูกระงับ

รัสเซียไม่ให้เครื่องบินทางตะวันตก 36 ประเทศใช้น่านฟ้า เพื่อเป็นการตอบโต้ต่อชาติตะวันตกที่ได้คว่ำบาตร ขณะที่ท่าเรือทางตะวันตกก็ห้ามเรือขนส่งสินค้าที่เป็นเรือสัญชาติรัสเซียหรือเกี่ยวข้องกับเรือสัญชาติรัสเซียใช้ท่าเรือ จากข้อมูลของ IMF ระบุว่า การคว่ำบาตรมีผลกระทบบางอย่างต่อ GDP ของรัสเซีย ซึ่งต่ำกว่าการคาดการณ์ก่อนสงครามประมาณ 7%

อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจของรัสเซียยังไม่ตกต่ำ แต่ดูแตกต่างออกไปมาก และมุ่งความสนใจไปที่สงครามอันยาวนานในยูเครน เเละกำลังขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ ? 

เศรษฐกิจรัสเซียมีเเนวโน้มแซงหน้าประเทศพัฒนาแล้วทั้งหมด

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ระบุว่า เศรษฐกิจของรัสเซียมีแนวโน้มจะขยายตัวเร็วกว่าประเทศเศรษฐกิจพัฒนาแล้วทั้งหมดในปีนี้

IMF ระบุในรายงานการคาดการณ์เศรษฐกิจโลกฉบับล่าสุดที่เผยแพร่เมื่อวันอังคาร (16 เม.ย.67) ว่า เศรษฐกิจรัสเซียมีแนวโน้มขยายตัว 3.2% ในปี 2567 เร็วกว่าตัวเลขคาดการณ์สำหรับ สหรัฐ คาดว่าจะขยายตัว 2.7% ในปีนี้ ส่วนอังกฤษ คาดว่าจะขยายตัว 0.5% ในปีนี้ ด้านเยอรมนี คาดว่าจะขยายตัว 0.2% ในปีนี้ และฝรั่งเศส คาดว่าจะขยายตัว 0.7% ในปีนี้

การคาดการณ์ดังกล่าวอาจสร้างความกังวลให้กับชาติตะวันตกที่พยายามแยกตัวและคว่ำบาตรรัสเซียในเชิงเศรษฐกิจสำหรับการรุกรานยูเครนในปี 2565

รัสเซีย กล่าวว่า การคว่ำบาตรของชาติตะวันตกต่ออุตสาหกรรมสำคัญทำให้สามารถพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น การบริโภคภาคเอกชนและการลงทุนในประเทศยังคงมีความยืดหยุ่น ขณะเดียวกัน การส่งออกน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ไปยังอินเดียและจีนอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการหลีกเลี่ยงมาตรการคว่ำบาตรและราคาน้ำมันที่สูง ทำให้รัสเซียสามารถรักษารายได้จากการส่งออกน้ำมันที่แข็งแกร่ง

เหตุผลหนึ่งที่ทำให้เกิดความยืดหยุ่นก็คือ "ธนาคารกลางรัสเซีย" ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยสู่ระดับ 20% ใน เดือน ก.พ. 2565 เพื่อพยุงค่าเงินรูเบิล หลังเผชิญการคว่ำบาตรจากชาติตะวันตก ก่อนจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเวลาต่อมาสู่ระดับ 7.5% แต่ก็ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในเดือน ก.ค.2566 ก่อนที่จะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 16% ในเดือน ก.พ.2567  

เมื่อสัปดาห์ที่เเล้ว ธนาคารกลางรัส มีความเห็นเชิงบวกต่อ อัตราเงินเฟ้อของรัสเซีย (ที่ 7.7% ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา) โดยเชื่อว่าจุดสูงสุดได้ผ่านไปแล้ว แม้ว่าจะยังเร็วเกินไปที่จะเริ่มลดอัตราดอกเบี้ยก็ตาม

ขณะที่กลุ่มอุตสาหกรรม-การทหารของรัสเซียขยายตัวอย่างมีนัยสำคัญในช่วงสงครามเนื่องจากการใช้จ่ายและการผลิตด้านกลาโหมพุ่งสูงขึ้น สะท้อนว่ารัสเซียได้ปรับตัวเนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศตกอยู่ในภาวะสงคราม

เศรษฐกิจรัสเซียยังเผชิญกับความท้าทาย

CNBC รายงาน ความเห็นจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ระบุว่า เศรษฐกิจรัสเซียยังคงเผชิญอุปสรรคสำคัญ แม้ว่ากองทุนจะคาดการณ์ไว้อย่างสดใส ไม่ว่าจะเป็นความท้าทายที่เกี่ยวข้องกับการอพยพของแรงงานที่มีทักษะ เนื่องจากการที่การเข้าถึงเทคโนโลยีลดลงซึ่งมาพร้อมกับการคว่ำบาตร

อย่างไรก็ตาม หลังจากเริ่มดำรงตำแหน่งสมัยที่ 5 ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ปูตินแห่งรัสเซียให้คำมั่น จะยกระดับมาตรฐานการครองชีพในรัสเซียด้วยการใช้จ่ายด้านการศึกษา การดูแลสุขภาพ และโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังส่งสัญญาณว่าภาษีของบริษัทขนาดใหญ่และบุคคลที่ร่ำรวยจะเพิ่มขึ้น

ที่มา

The Bank of Russia keeps the key rate at 16.00% p.a.

Global recovery is steady but slow and differs by region

Russia’s domestic investment grows, conditions created for future development

Phase Two of the Price Cap on Russian Oil: Two Years After Putin’s Invasion

Russia's military-industrial complex grows by 30-40% in 2023 compared to 2021

Consumer price growth slows down in March