svasdssvasds
logo-pwa

เพิ่ม thansettakij

ลงในหน้าจอหลักของคุณ

ติดตั้ง
ปิด
thansettakij

กทม. หนุน “LGBTQIAN+” ปักธงสีรุ้ง เมืองน่าอยู่สำหรับทุกคน

04 มิถุนายน 2566

กทม. หนุน “LGBTQIAN+” ปักธงสีรุ้ง เมืองน่าอยู่โอบกอดทุกคน จับตา กลุ่ม สีรุ้ง เค้กก้อนโต ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจหมุนเวียนทั้งไทยและต่างชาติ

 

เริ่มต้น"เดือนสีรุ้ง" (มิถุนายน)ของกลุ่ม LGBTQIAN+ กรุงเทพมหานครเปิดเมืองสร้างความเท่าเทียม ในเทศกาล Pride Month แคมเปญ Connecting Pride เชื่อมทุกความหลากหลาย ทางเพศที่ สามารถอยู่ร่วมกันได้ในทุกกิจกรรมทุกสังคมที่นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ผู้ว่าฯกทม.) สะท้อนหัวใจสำคัญคือ ภาครัฐต้องร่วมมือกับภาคเอกชน เพราะสำหรับงานด้าน LGBTQIAN+ นั้น ภาคเอกชนมีความเข้าใจ ทั้งในแง่เนื้อหาและมีความพร้อมมากกว่า

โดยกทม.ทำหน้าที่เป็นผู้สนับสนุนและคอยอำนวยความสะดวก สำหรับงาน THAILAND’S PRIDE CELEBRATION 2023 หรืองาน Pride อื่น ๆ ที่จัดนั้น กทม.มองว่ามีมิติที่ลึกกว่าคำว่า Pride   มองว่านอกจากการรวมตัวสร้างความเท่าเทียมแล้วคนกลุ่มนี้มีกำลังซื้อสูงช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศทั้งไทยและต่างชาติได้เป็นอย่างดี

สอดรับนโยบายของกรุงเทพมหานคร  การเป็นเมืองที่น่าอยู่สำหรับทุกคน คำว่าทุกคนคือรวมเอาทุกความแตกต่างหลากหลายเข้าด้วยกันโดยไม่ได้จำกัดเพียงแค่เรื่องเพศ ในมิติเชิงลึกของงาน Pride คือการเข้าใจและยอมรับความแตกต่างของคนในสังคม มนุษย์ไม่ใช่ Binary ที่มีแค่ 0 กับ 1 แต่คือสเปคตรัมที่มีเฉดสีหลากหลายสวยงาม

ที่กรุงเทพมหานครพร้อมโอบกอดทุกคนไปด้วยกัน ให้เมืองนี้เป็นเมืองที่น่าอยู่สำหรับทุกคน และพร้อมมุ่งสู่การพากรุงเทพมหานครเป็นเจ้าภาพการจัดงาน World Pride ที่จะมาถึงในปี 2028 นี้

งาน THAILAND’S PRIDE CELEBRATION 2023 จัดขึ้นเพื่อฉลองเทศกาล Pride Month โดย บริษัท เซ็นทรัล พัฒนา จำกัด (มหาชน) ผนึกพันธมิตรหน่วยงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ หรือ UNDP ประจำประเทศไทย และภาครัฐ-เอกชน นำโดย กรุงเทพมหานคร บริษัท กัลเดอร์มา (ประเทศไทย) จำกัด Muse by Metinee บางกอกไพรด์ และ บริษัท ทิฟฟานี่โชว์ พัทยา จำกัด จัดงานภายใต้คอนเซ็ป "PRIDE FOR ALL"

เพื่อยกระดับ Pride ประเทศไทยเป็นหนึ่งใน Pride Celebration Landmark Destination ระดับโลก ของการฉลองเทศกาลแห่งความเท่าทียม เมื่อ "คิดถึง Pride Month ต้องคิดถึงประเทศไทย" เป็นจุดหมายปลายทางที่ LGBTQIAN+ ทั่วโลกต้องมาเยือน และยังเป็นการขานรับนโยบาย "เศรษฐกิจดี" ของกรุงเทพมหานคร มุ่งปั้นเศรษฐกิจสร้างสรรค์ กระตุ้นเศรษฐกิจประเทศให้คึกคัก โดยงานจะจัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 1-30 มิถุนายน 2566 ร่วมฉลอง Pride Month พร้อมกันที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ และเซ็นทรัลทั่วประเทศ

 

สอดคล้องนายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานเปิดงานและเยี่ยมชมงานเทศกาล Pride Month ภายใต้แคมเปญ Connecting Pride เชื่อมทุกความหลากหลาย ณ ศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ เขตปทุมวัน

มีกิจกรรม ภายใต้แคมเปญ Connecting Pride เชื่อมทุกความหลากหลาย ทั้งนี้ สามย่านมิตรทาวน์และสีลมเอจ ได้จัดกิจกรรมสุดพิเศษ ร่วมฉลองเดือนแห่งความภาคภูมิใจของเหล่า LGBTQIA+ ตลอดเดือนมิถุนายน  อาทิ PRIDE VIBES บรรยากาศการตกแต่ง ที่ตอกย้ำการเป็นเช็คอินเดสติเนชั่น LGBTQIA+ ในประเทศไทยที่เปิดรับทุกความหลากหลายให้เป็นตัวเองอย่างสร้างสรรค์  

RAINBOW SPACE พื้นที่รวมคอมมูนิตี้ไพรด์ และเชื่อมต่อสีสันความสนุกด้วยพลังแห่งเสียงดนตรีแบบไร้ขีดจำกัดในการแบ่งค่าย

PRIDE MUSIC SPACE สามย่านมิตรทาวน์ ชวนมาคอนเนคความเป็นตัวเองให้เต็มที่ไปกับทัพกิจกรรมจากค่ายเพลงดังพร้อมมูฟไปกับทุกความรู้สึกจากกิจกรรมถ่ายรูปกรอบโฟโต้ศิลปินคนโปรดสุดคิ้วท์

PRIDE FILM FEST สามย่านมิตรทาวน์ ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย และโรงภาพยนตร์เฮ้าส์ สามย่าน เติมเต็มสาระบันเทิงด้วยภาพยนตร์ LGBTQIA+เรื่องดังที่เป็นกระแสทอล์ก ออฟ เดอะทาวน์

ข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ระบุว่า  กลุ่มสีรุ้งหรือเพศหลากหลายขยายวงมากขึ้นเรื่อยๆ เริ่มจาก แอลจีบีที ( LGBT)  เป็นอักษรย่อที่มาจากคำว่า เลสเบียน ( Lesbian), เกย์ ( Gay), ไบเซ็กชวล ( Bisexual) และ ทรานส์เจนเดอร์ (Transgender) ปรากฏการใช้มาตั้งแต่ทศวรรษที่ 1990 และเป็นการดัดแปลงมาจากอักษรย่อ แอลจีบี ( LGB) ที่ซึ่งนำมาใช้ทดแทนคำว่า เกย์ เพื่อสื่อถึงชุมชนแอลจีบีทีในมุมกว้างขึ้น เริ่มตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1980ทั้งอักษรย่อ แอลจีบีที และรูปแบบอื่น ๆ ใช้เป็นคำกว้าง ๆ เพื่อสื่อถึงเพศวิถีและอัตลักษณ์ทางเพศของบุคคล ในภาษาไทยอาจเรียกว่ากลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ

แอลจีบีทีอาจหมายถึงบุคคลที่ไม่ได้รักต่างเพศ หรือไม่เป็นเพศซิส มากกว่าที่จะหมายถึงเฉพาะกลุ่มเลสเบียน เกย์ ไบเซ็กชวล และทรานส์เจนเดอร์ โดยเฉพาะเพื่อให้เป็นการครอบคลุมกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายมากขึ้น จึงนิยมใช้อักษรย่อ แอลจีบีทีคิว ( LGBTQ) ซึ่งเป็นรูปแบบที่นิยมกว่า โดยการเพิ่มอักษร คิว (Q) เพื่อสื่อถึงบุคคลที่นิยามตนเองว่าเป็นเควียร์ ( Queer) หรือ เควชชันนิง (Questioning; ยังไม่ชัดเจน) บางทีมีการเพิ่มกลุ่มอินเตอร์เซ็กซ์ ( Intersex) เข้าไป เป็นอักษรย่อ แอลจีบีทีไอ ( LGBTI)และบางครั้งพบนำทั้งสองรูปแบบมารวมกันเป็น แอลจีบีทีไอคิว ( LGBTIQ)

นอกจากนี้ยังปรากฏอักษรย่อในรูป แอลจีบีที+ (LGBT+) เพื่อรวมสเปกตรัมของเพศวิถีและอัตลักษณ์ทางเพศอันหลากหลายของมนุษย์ทั้งหมด รูปแบบอื่น ๆ ที่พบไม่บ่อย เช่น แอลจีบีทีคิวไอเอ+ ( LGBTQIA) โดยอักษร เอ (A) มาจาก "อะเซ็กชวล" ( Asexual), "อะโรแมนติก" ( Aromantic) หรือ "ออลลี" ( Ally) ส่วนตัวย่อรูปแบบอื่น ๆ ซึ่งในบางรูปแบบมีความยาวมากกว่าสองเท่าของ แอลจีบีที ก่อให้การวิพากษ์วิจารณ์ขึ้น  และการตีความว่าตัวย่อนี้เป็นการหมายถึงชุมชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นเฉพาะก็ยังคงเป็นที่ถกเถียงอยู่

 

ไม่ว่าจะเพิ่มตัวอักษามากมาย  แต่การให้ความสำคัญกับคนทุนกลุ่มทุกเพศวัยให้อยู่ในสังคมเดียวกันได้อย่างสมดุล ยั่งยืนนอกจากช่วยให้เกิดความอบอุ่นแล้วยังช่วยสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนให้เติบโตไปข้างหน้าจากคนกลุ่มนี้อีกด้วย!!