“Future Food” เทรนด์อาหารแห่งอนาคตที่กำลังมาแรง

28 ก.พ. 2566 | 04:17 น.

Future Food กำลังมาแรง โลกเปลี่ยนการค้าเปลี่ยน นายกสมาคมการค้าอาหารอนาคตไทย ชี้ Future Food จะเข้ามาตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงอาหารแบบเดิม มั่นใจตลาดอาหารแห่งอนาคตปีนี้โตไม่ต่ำกว่า 23% จากปี 65

นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานกรรมการหอการค้าไทย นายกสมาคมการค้าอาหารอนาคตไทย และนายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ถึงแนวโน้มอาหารอนาคตในปี 2566 ว่า โลกและการค้ามีการเปลี่ยนแปลง จากหลายปัจจัยเช่น สภาวะโลกร้อน (Global Warming) ที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ จากกิจกรรมปล่อยก๊าซเรือนกระจก ส่งผลให้สภาพอากาศแปรปรวน กระทบต่อผลผลิต และสะท้อนถึงความมั่นคงทางอาหาร

นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานกรรมการหอการค้าไทย นายกสมาคมการค้าอาหารอนาคตไทย

ดังนั้น อาหารแห่งอนาคต (Future Food) จึงเข้ามาตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงนี้เพิ่มเติมจากอาหารแบบเดิมทั่วโลก โดย Forbes นิตยสารธุรกิจการเงินชั้นนำในสหรัฐฯ คาด Future Food ของโลกในปี 2568 จะมีมูลค่าถึง 3.1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือมากกว่า 10 ล้านล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้น 51% เมื่อเทียบกับปี 2563 โดยในอนาคตคาดว่าจะมีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาสร้างสรรค์อาหารอนาคตให้ตอบโจทย์ผู้บริโภค และเทรนด์การบริโภคอาหารปี 2566

 

“Future Food” เทรนด์อาหารแห่งอนาคตที่กำลังมาแรง

โดยพบว่า Future Food ที่จะมากำลังจะเป็นที่นิยมของผู้บริโภค เช่นผลิตภัณฑ์พรีไบโอติกส์ (Prebiotics) และโพรไบโอติกส์ (Probiotics) มักพบในอาหารหมักดอง เช่น นัตโตะ กิมจิ นอกจากนี้โปรตีนเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้บริโภคเข้าใจและรับรู้ถึงความสำคัญนี้มากขึ้น ทั้งโปรตีนจากเนื้อสัตว์ อาหารทะเล และ โปรตีนทางเลือกจากพืช (Plat-Base Protein) โปรตีนจากแมลง (Insect - Based Protein) เป็นต้น เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายมากขึ้นเพราะผู้บริโภคหันมาให้ความสำคัญกับสุขภาพ และและผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่ระบุผลข้อมูลเชิงสิ่งแวดล้อมบนผลิตภัณฑ์

“Future Food” เทรนด์อาหารแห่งอนาคตที่กำลังมาแรง

สำหรับสถานการณ์การส่งออกอาหารอนาคตปี 2566 ประเทศไทยเป็นประเทศที่หนึ่งส่งเสริมและผลักดันอาหารแห่งอนาคตไทยเนื่องจากสอดคล้องกับเทรนด์โลกเป็น อาหารรักษ์โลก รักษ์สิ่งแวดล้อม โดยตัวเลขการส่งออกอาหารอนาคตไทยปี 2565มีมูลค่าประมาณ 1.29 แสนล้านบาท เติบโต 23 % คิดเป็นสัดส่วน 10% ของอาหารทั้งหมด

ปัจจุบันประเทศไทยมีผลิตภัณฑ์อาหารแห่งอนาคตที่หลากหลายทยอยออกสู่ตลาด ซึ่งวางจำหน่ายทั้งในประเทศ และต่างประเทศ โดยสามารถจัดเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้ทั้งหมด 4 กลุ่ม ได้แก่ 1. อาหารและเครื่องดื่มสุขภาพ (functional foods and drink) เป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถทำหน้าที่ให้คุณค่าอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย เช่น ปรับปรุงระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ชะลอการเสื่อมโทรมของอวัยวะต่าง ๆ ซึ่งจะไม่อยู่ในรูปแบบแคปซูล เม็ดยา แต่จะหน้าตาเหมือนอาหารทั่วไป ซึ่งเป็นการส่งออกในหมวดนี้มากที่สุดที่สัดส่วน 97% มี การเติบโตปี 2565 เทียบกับปี 2564 ที่ 22%

“Future Food” เทรนด์อาหารแห่งอนาคตที่กำลังมาแรง

2.อาหารเกษตรอินทรีย์ (organic foods) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากผลิตผลทางการเกษตรที่ปลอดภัยจากสารเคมีโดยมี การส่งออกที่สัดส่วน 1.6% และมีการเติบโต 2565 เทียบกับปี 2564ที่ สูงสุดในกลุ่มอาหารอนาคตที่80 %

3.อาหารกลุ่มที่ผลิตขึ้นมาใหม่ทางนวัตกรรม (novel foods) หมายถึงอาหารรูปแบบใหม่ที่มีความเป็นนวัตกรรมสูงมาก เป็นอาหารที่ใช้ขั้นตอนการผลิตแบบใหม่ ไม่เคยมีการผลิตมาก่อน การเติบโตปี 2565 เทียบกับปี 2564 ที่ 26%

“Future Food” เทรนด์อาหารแห่งอนาคตที่กำลังมาแรง

 4.อาหารทางการแพทย์ (medical foods) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่ยาหรืออาหารเสริม เป็นอาหารที่ออกแบบมาเพื่อใช้บำบัดรักษาผู้ป่วยเฉพาะโรค หรือผู้ที่ไม่สามารถทานอาหารปกติได้ โดยมีการส่งออกที่สัดส่วน 0.2% การเติบโต ปี 2565 เทียบกับปี 2564 ที่ 40%

สำหรับตลาดอาหารอนาคตไทย ปี 2565  คือ กลุ่มประเทศอาเซียน ส่งออกมากได้แก่ เวียดนาม กัมพูชา เมียนมา ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ มาเลเซีย ลาว อินโดนีเซีย บรูไน  สหรัฐอเมริกา  จีน  ยุโรป (27) และญี่ปุ่น

“Future Food” เทรนด์อาหารแห่งอนาคตที่กำลังมาแรง

อย่างไรก็ตามคาดว่าการส่งออก Future Food จะเท่ากับปี 2565 หรืออาจเติบโตเล็กน้อยโดยมีสัดส่วนการเติบโตชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับปี 2565 เทียบกับปี 2564เนื่องจากมีสถานการณ์ที่ยังต้องติดตาม เช่น ภาวะเงินเฟ้อที่ส่งผลต่อกำลังซื้อ และ เศรษฐกิจเริ่ม ชะลอตัวในหลายคู่ค้าเศรษฐกิจ เช่น คู่ค้าสำคัญของสินค้าอาหารอนาคตอย่างสหรัฐอเมริกาและยุโรป