“ตราด”ปั้นผังเมืองรวมใหม่  บูมศก.เชื่อมเพื่อนบ้าน

13 ต.ค. 2565 | 23:15 น.

ตราดเปิดวงประชาพิจารณ์ทำผัง เมืองรวม ขอเดิน 2 ขามุ่ง “ท่องเที่ยวอนุรักษ์-ค้าชายแดนเชื่อมโยงกัมพูชา” เป็นกรอบกำกับทิศการพัฒนาเมืองในอนาคต ผ่านการจัดทำผังเมืองรวมฉบับปรับปรุงใหม่ของกรมโยธาฯ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 6 ตุลาคม 2565 ที่ห้องประชุมโรงแรมตราดซิตี้ ตำบลวังกระแจะ อำเภอเมืองตราด นายชำนาญวิทย์ เตรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด เป็นประธานเปิดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ก่อนจัดทำร่างผังเมืองรวม
ครั้งที่ 2 ผังเมืองรวมเมืองตราด (ปรับปรุงครั้งที่ 3) ซึ่งกรมโยธาธิการและผังเมือง โดยส่วนผังเมืองรวมที่ 1 สำนักผังเมือง ร่วมกับบริษัทที่ปรึกษาฯ จัดขึ้น โดยมีหน่วยภาครัฐ เอกชน และประชาชนเข้าร่วม

 

นางสาววิยะดา ทรงเกียรติภักดี ตัวแทนบริษัท แพลนเนอร์ 26 จำกัด กล่าวว่า กรมโยธาธิการ และผังเมือง กระทรวงมหาดไทย ได้ดำเนินการโครงการวางและจัดทำผังเมืองรวมเมืองตราด โดยกรมฯได้ว่าจ้างบริษัท แพลนเนอร์ 26 จำกัด เป็นบริษัทที่ปรึกษา ในการดำเนินการตามขั้นตอน ที่กำหนดตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 ซึ่งให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน จึงได้จัดเวทีประชุมครั้งนี้ขึ้น โดยเป็นการประชุมกลุ่มย่อยครั้งที่ 2 (กลุ่มพื้นที่ เทศบาลเมืองตราด เทศบาลตำบลท่าพริกเนินทราย องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) วังกระแจะ อบต.ห้วยแร้ง และอบต.เนินทราย เข้าร่วม

“ตราด”ปั้นผังเมืองรวมใหม่  บูมศก.เชื่อมเพื่อนบ้าน

“ตราด”ปั้นผังเมืองรวมใหม่  บูมศก.เชื่อมเพื่อนบ้าน

บริษัทฯได้เสนอแนวทางการพัฒนาจังหวัดตราด ตามที่รับฟังความคิดเห็นมา โดยสรุปเป็น 2 แนวทางคือ 1.แนวทางด้านการรองรับการท่องเที่ยว ที่จะมุ่งการพัฒนาไปในพื้นที่อำเภอแหลมงอบ และอำเภอเขาสมิง ซึ่งเป็นประตูผ่านไปยังอำเภอเกาะช้าง และมีศูนย์กลางการรองรับการท่องเที่ยวชายฝั่งทะเล

 

แนวทางนี้จะมีความเป็นไปมาก เนื่องจากมีงบประมาณรองรับ ไม่กระทบในเรื่องวิถีชีวิต แต่ปัญหาคือ เรื่องการไม่มีศูนย์กลางระดับรองรองรับ

“ตราด”ปั้นผังเมืองรวมใหม่  บูมศก.เชื่อมเพื่อนบ้าน

“ตราด”ปั้นผังเมืองรวมใหม่  บูมศก.เชื่อมเพื่อนบ้าน

2. แนวทางการพัฒนาไปตามแนวโครงข่ายคมนาคมสายหลัก เชื่อมพื้นที่อีอีซี.ไปทางตะวันออกถึงพรมแดนต่อกับประเทศกัมพูชา ซึ่งเป็นแนวเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ สามารถต่อ ยอดโครงการขนาดใหญ่ของจังหวัดตราด และระบบโลจิสติกส์ กระจายการพัฒนาสู่พื้นที่ฝั่งตะวันออกได้ แต่มีข้อเสียคือ ยังไม่มีนโยบายที่แน่นอนและกรอบเวลาการพัฒนาที่ชัดเจน

 

จากนั้นผู้เข้าร่วมประชุมได้เสนอความคิดเห็น สรุปได้ว่าควรจะใช้ร่วมกันทั้งสองแนวทาง เพราะเศรษฐกิจของจังหวัดตราดอาศัยภาคบริการกว่า 47% ขณะที่การค้าชายแดน และภาคเกษตรกรรม ก็เป็นพื้นฐานที่มีความสำคัญ หากจะเลือกแนวใดแนวหนึ่งอาจจะเกิดปัญหาไม่สมดุลทางเศรษฐกิจของจังหวัดตราดได้

“ตราด”ปั้นผังเมืองรวมใหม่  บูมศก.เชื่อมเพื่อนบ้าน

ขณะเดียวกันการผลักดันให้มีการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะถนนที่จะเชื่อมโยงในเรื่องการท่องเที่ยวและการค้าชายแดน ไปเชื่อม ต่อกับฝั่งกัมพูชา เพื่อดึงนักท่องเที่ยวจากกัมพูชาเข้าไทยโดย ผ่านจ.ตราด จะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของจังหวัดตราดด้วย

 

นอกจากนี้ต้องผลักดันการเปิดด่านชายแดนไทยกัมพูชาเพิ่มที่ด้านอำเภอบ่อไร่ และอำเภอเมืองตราด เพื่อเชื่อมกับพระตะบอง และโพธิสัต เพื่อขยายการค้าชายแดนและดึงนักท่องเที่ยวกัมพูชาที่มีกำลังซื้อเข้ามา

“ตราด”ปั้นผังเมืองรวมใหม่  บูมศก.เชื่อมเพื่อนบ้าน

ขณะที่นายชำนาญวิทย์ กล่าวว่า จังหวัดตราดต้องเน้นในเรื่องการท่องเที่ยว เพราะถ้าเน้นอุตสาหกรรมหรือด้านการ เกษตรกรรม จะไม่สามารถสู้จังหวัดอื่นๆ ได้ ขณะที่ตามแนวชายแดนจะต้องผลักดันให้สร้างถนนเชื่อมกับ 2 จังหวัดของกัมพูชาเข้ามา และการค้าชาย แดนจะต้องเริ่มจากการส่งเสริมให้ผลิตสินค้า ส่งไปยัง 2 จังหวัดนี้ ซึ่งการท่องเที่ยวของตราดมีศักยภาพมากต้องเน้นแบบเชิงอนุรักษ์ รวมทั้งเรื่องการพัฒนาสนามบิน ที่จะต้องมองในเรื่องการรองรับการเดินทางมาของนักท่องเที่ยว หรือสถานีขนส่งจะต้องพัฒนาและยกระดับ ให้เป็นสถานีขนส่งอินเตอร์ จะสามารถเชื่อมต่อไปยังกัมพูชาได้ด้วย

 

การเปิดเวทีประชาพิจารณ์ครั้งนี้ เพื่อรับฟังความคิดเห็น และนำเสนอผลการเปลี่ยนแปลง แนวโน้มการขยายตัวของเมือง ประชาสัมพันธ์โครงการ และเปิดโอกาสให้ประชาชน และหน่วยงานทุกภาคส่วน มีส่วนร่วมต่อการกำหนดทิศทางพัฒนาเมืองตราดในอนาคต

 

ตลอดจนรับฟังศักยภาพ ปัญหา ข้อจำกัด และแนวทางการพัฒนาพื้นที่เมืองตราด โดยข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากการประชุม กรมโยธาธิการและผังเมือง จะนำไปเป็นกรอบแนวทางในการวางและจัดทำผังเมืองรวมจังหวัดตราดต่อไป

“ตราด”ปั้นผังเมืองรวมใหม่  บูมศก.เชื่อมเพื่อนบ้าน

ทั้งนี้ ที่ผ่านมาจังหวัดตราดส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ อาทิ ส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาะกูด-เกาะหมาก ให้เป็นการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ เพิ่มเติมจากการท่องเที่ยวเกาะช้าง ซึ่งเป็นจุดหมายการท่องเที่ยวที่ได้รับนิยมสูงจากนักท่องเที่ยว ดังจะเห็นได้จากหลังโควิดคลี่คลาย มีนักท่องเที่ยวเดินทางไปเกาะช้าง จนการจราจรที่ท่าเรือเฟอรี่และบนเกาะติดขัด

 

ควบคู่กับการผลักดันเปิดด่านเพิ่มเติม นอกจากจุดผ่านแดนถาวรบ้านหาดเล็ก ต. หาดเล็ก อ.คลองใหญ่ จ.ตราด ที่เป็นด่านหลักไปเชื่อมกับเกาะกง ของกัมพูชาแล้ว ทางจังหวัดตราดผลักดันเพิ่มความสะดวกการค้า-การเดินทางเชื่อมกัมพูชา ทั้งที่จุดผ่อนปรนการค้าชายแดนบ้านมะม่วง (เนิน 400) อ.บ่อไร่ จ.ตราด ที่ต่อกับบ้านฉอระกา อ.สํารูด จ.พระตะบอง และด่านบ้านท่าเส้น อ.เมืองตราด จ.ตราด ที่ต่อกับบ้านหมอดา ต.เวียงเวล อ.เวียงเวล จ. โพธิสัต อยู่ระหว่างเจรจาเพื่อ ยกระดับเป็นด่านถาวร คาดเปิดได้ปลายปี 2565 นี้ 

“ตราด”ปั้นผังเมืองรวมใหม่  บูมศก.เชื่อมเพื่อนบ้าน

จักรกฤชณ์ แววคล้ายหงษ์/รายงาน

หน้า 10 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 42 ฉบับที่ 3,826 วันที่ 13-15 ตุลาคม พ.ศ.2565