หัวเว่ย จับมือกฟภ. จัดงานประชุมโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ

15 ก.ค. 2559 | 07:55 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

หัวเว่ย ผู้จัดหาโซลูชั่นไอซีทีชั้นนำระดับโลก ร่วมกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) จัดงานประชุมระดับซัมมิทด้านโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ "The Intelligent Power Grid Summit 2016" ขึ้นภายใต้ธีม "Leading New ICT, Building a Better Connected Intelligent Grid" โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐของไทย และผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมพลังงานจากทั่วโลกกว่า 300 คนเข้าร่วมงาน เพื่อช่วยให้การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของบริษัทพลังงานมีความก้าวหน้าด้วยนวัตกรรมไอซีที เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดประสิทธิผล และเติบโตอย่างยั่งยืน

หัวเว่ยจับมือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ประกาศความร่วมมือในการศึกษาแนวทางการจัดตั้งศูนย์นวัตกรรม

นายเสริมสกุล คล้ายแก้ว ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กล่าวว่า การเป็นเจ้าภาพร่วมกับ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ จำกัด จัดงาน The Intelligent Power Grid Summit 2016 เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เชี่ยวชาญในวงการอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้าและเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้มีโอกาสเสริมสร้างและเพิ่มพูนความรู้ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีโครงข่ายไฟฟ้า นอกจากนี้ ยังเป็นการบูรณาการในอุตสาหกรรมพลังงาน และขีดความสามารถในงานวิจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการพัฒนาผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือในเทคนิควิจัยและการพัฒนาอุตสาหกรรม

มร. จาง หลิน ประธานบริหาร กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ ของหัวเว่ย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า "เพื่อตอบสนองต่อความต้องการพลังงานที่กำลังเพิ่มขึ้นและความจำเป็นที่ต้องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก บริษัทพลังงานต่างมองหาการผลิตและรูปแบบธุรกิจด้านพลังงานใหม่ ๆ เพื่อตอบโจทย์สิ่งท้าทายเหล่านี้ด้วยวิธีที่ประหยัด เชื่อถือได้และยั่งยืน การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลจึงกลายเป็นสิ่งจำเป็นที่จะทำให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้ หัวเว่ยมีความมุ่งมั่นที่จะช่วยให้บริษัทพลังงานทั่วโลกเติบโตต่อไปในยุคใหม่ ด้วยการใช้ประสบการณ์จากทั่วโลก นวัตกรรมด้านไอซีที และศูนย์นวัตกรรมความร่วมมือของบริษัท เพื่อให้การเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัลก้าวรุดไปข้างหน้า"

เชื่อมพลังไอซีที สร้างโครงข่ายไฟฟ้าที่เชื่อมโยงสื่อสารได้ดียิ่งขึ้น

ผู้เข้าร่วมงานประชุมได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาอุตสาหกรรมพลังงานในอนาคต โดยเฉพาะการจัดรูปแบบอุตสาหกรรมพลังงานใหม่ผ่านการสร้างระบบพลังงานไฟฟ้าที่เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายซับซ้อน (Energy Internet) บนเทคโนโลยีไอซีทีใหม่ๆ อาทิ อินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ เพื่อเปลี่ยนแปลงโครงข่ายไฟฟ้าทั่วโลกให้เป็นโครงข่ายของการแบ่งปันพลังงาน (Energy-sharing Network)

มร. จี้ เสียง ประธานบริหาร กลุ่มพลังงาน ของหัวเว่ย เอ็นเตอร์ไพรส์ กล่าวว่า "การพัฒนา Energy Internet ที่เชื่อมโยงทั่วถึงจะช่วยเพิ่มศักยภาพและคุณค่าของอุปกรณ์ไฟฟ้า Energy Internet จะช่วยให้เมืองต่างๆ สามารถคาดการณ์การบริโภคไฟฟ้า การเปลี่ยนแปลงช่วงพีคโหลด และการวิเคราะห์การรั่วไหลของไฟฟ้า ในขณะเดียวกันผู้บริโภคก็สามารถปรับการใช้ไฟฟ้าตามข้อมูลราคาไฟฟ้าแบบเรียลไทม์ โดยหัวเว่ยจะใช้กลยุทธ "1-2-1" เพื่อเร่งให้อุตสาหกรรมพลังงานเกิดการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล และทำให้ Energy Internet ก้าวรุดหน้าขึ้น โดย "1" หมายถึงแพลตฟอร์มการบริหารการเชื่อมต่อ IoT ที่เป็นแบบเปิดสำหรับบุคคลที่สามและพันธมิตร และสร้างคุณค่าให้กับอุตสาหกรรมโดยรวม ส่วน "2" หมายถึงวิธีการเชื่อมต่อสองทาง ทั้งแบบมีสายและไร้สาย อาทิ OneAir-IoT และการสื่อสารผ่านสายไฟบรอดแบนด์ (Power-Line Communication – PLC) และ 1 ตัวสุดท้าย คือ ระบบปฏิบัติการ LiteOS ซึ่งจะทำให้พันธมิตรสามารถที่จะสร้างผลิตภัณฑ์ IoT ของพวกเขาเองได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ"

นวัตกรรมความร่วมมือเร่งขับเคลื่อนการผนวกรวมโครงข่ายพลังงานไฟฟ้าที่เชื่อมโยงสื่อสารได้ดีขึ้นและ Energy Internet เข้าด้วยกัน

ในงานประชุม การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และหัวเว่ย ได้ประกาศความร่วมมือในการศึกษาแนวทางการจัดตั้งศูนย์นวัตกรรม (Innovation Center) ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการเชื่อมต่อโครงข่ายพลังงานไฟฟ้า "ศูนย์นวัตกรรมแห่งนี้เน้นศึกษาและวิจัยในด้านอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้า โดย บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ จำกัด จะสนับสนุนอุปกรณ์ เทคโนโลยี และผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาศูนย์นวัตกรรม ทั้งนี้ นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไปที่สนใจ สามารถเรียนรู้นวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ เพื่อต่อยอดความรู้และสามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างความมั่นคงทางพลังงาน" มร. วัง อี้ฝาน กรรมการผู้จัดการ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว

มร. ฮิโรยูกิ บาบะ นักวิจัยอาวุโสจากสถาบันวิทยาศาสตร์อุตสาหกรรมแห่งมหาวิทยาลัยโตเกียว มร. บอสโก เอดัวร์ดู เฟอร์นันเดส สมาชิกระดับอาวุโสของสถาบันวิศวกรรมไฟฟ้าและวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์นานาชาติ (Institute of Electrical and Electronics Engineers หรือ IEEE) มร. หลิว เจี่ยนหมิง รองผู้อำนวยการคณะกรรมการฝ่ายข้อมูลพลังงานของสมาคมวิศวกรรมไฟฟ้าจีน (The Chinese Society for Electrical Engineering - CSEE) ต่างเชื่อว่า โครงข่ายไฟฟ้าที่เชื่อมโยงสื่อสารได้ดีกว่าคือ การนำ IoT เข้ามาใช้ในอุตสาหกรรมพลังงาน

หัวเว่ยได้จัดหาบริการต่าง ๆ ให้กับอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้ามานานกว่า 20 ปี โดยผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นของหัวเว่ยได้รับการติดตั้งให้บริการแก่บริษัทด้านพลังงานไฟฟ้ากว่า 160 แห่งใน 65 ประเทศทั่วโลก ในปี 2557 หัวเว่ยได้นำเสนอความคิดการสร้าง "โครงข่ายไฟฟ้าที่เชื่อมโยงสื่อสารได้ดีขึ้น" เป็นครั้งแรก และได้กลายมาเป็นผู้จัดหาโซลูชั่นไอซีทีเพียงรายเดียวในกลุ่มสมาชิกขององค์กร Global Energy Interconnection Development & Cooperation Organization (GEIDCO) หัวเว่ยจะยังคงจับมือกับพันธมิตรและลูกค้าต่อไป เพื่อสร้างเครือข่ายของโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะของอุตสาหกรรม และขับเคลื่อนยุคใหม่ที่มีโครงข่ายไฟฟ้าที่เชื่อมโยงสื่อสารกันได้ดีขึ้น ผ่านนวัตกรรมความร่วมมือแบบเปิด