เงินสงเคราะห์บุตร 800 บาท เช็คสิทธิ์ที่นี่ ช่องทางรับเงิน www.sso.go.th

25 พ.ย. 2565 | 09:32 น.

ผู้ประกันตน ม.33 หรือ ม.39 อย่าลืมเบิกเงินสงเคราะห์บุตร อายุไม่เกิน 6 ขวบ ได้ 800 บาท ทั้งพ่อ หรือ แม่ เช็คสิทธิ์ ช่องทางรับเงิน ง่ายๆ ที่นี่

ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 หรือ มาตรา 39 จะเป็นคุณพ่อ หรือ คุณแม่ก็ได้ คนใดคนหนึ่ง มีสิทธิขอรับเงินสงเคราะห์บุตรเดือนละ 800 บาท  จากสำนักงานประกันสังคม ฐานเศรษฐกิจจะพาไปเช็คสิทธิ์ วิธีสมัคร ช่องทางรับเงิน ง่ายๆ ครบจบที่เดียว

 

เงื่อนไขได้รับสิทธิ

  1. พ่อ หรือ แม่ ต้องเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 หรือ มาตรา 39
  2. จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิ โดยได้รับ เดือนละ 800 บาท ต่อบุตรหนึ่งคน
  3. ต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ยกเว้น บุตรบุญธรรมหรือบุตรซึ่งยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น
  4. อายุตั้งแต่แรกเกิด จนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จำนวนคราวละไม่เกิน 3 คน เว้นแต่ผู้ประกันตนเป็นผู้ทุพพลภาพหรือถึงแก่ความตาย ในขณะที่บุตรมีอายุแรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จะมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนต่อจนอายุ 6 ปีบริบูรณ์

 

หมดสิทธิรับเงินสงเคราะห์บุตร เมื่อใด

  • เมื่อบุตรมีอายุครบ 6 ปีบริบูรณ์
  • บุตรเสียชีวิต
  • ยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรมของคนอื่น
  • ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง

 

ขั้นตอนการขอรับเงินสงเคราะห์บุตร

  1. ยื่นเอกสาร หลักฐาน ผ่านสำนักงานประกันสังคม ใกล้บ้าน หรือ ยื่นออนไลน์ ผ่านระบบ e-Self Service 
  2. เจ้าหน้าที่ตรวจหลักฐานและพิจารณาอนุมัติ
  3. สำนักงานประกันสังคมมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณา
  4. พิจารณาสั่งจ่าย จ่ายเป็นรายเดือนโดยโอนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ของผู้ขอรับประโยชน์ทดแทน หรือ บัญชีพร้อมเพย์ ที่ลงทะเบียนไว้

วิธียื่นขอรับเงินสงเคราะห์บุตร ผ่านระบบ e-Self Service 

  1. เข้าเว็บไซด์ประกันสังคม www.sso.go.th แล้วคลิก “เข้าสู่ระบบผู้ประกันตน”

วิธียื่นขอรับเงินสงเคราะห์บุตร ผ่านระบบ e-Self Service 

  1. ใส่รหัส เพื่อเข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก หากยังไม่เคยมีรหัส

วิธียื่นขอรับเงินสงเคราะห์บุตร ผ่านระบบ e-Self Service 

3.    เลือก “ระบบ e-Self Service”

วิธียื่นขอรับเงินสงเคราะห์บุตร ผ่านระบบ e-Self Service 
4.    เลือก “ขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุน”

วิธียื่นขอรับเงินสงเคราะห์บุตร ผ่านระบบ e-Self Service 
5.    เลือก “สงเคราะห์บุตร”

วิธียื่นขอรับเงินสงเคราะห์บุตร ผ่านระบบ e-Self Service 
6.    กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน แล้วอัปโหลดเอกสารได้เลย

วิธียื่นขอรับเงินสงเคราะห์บุตร ผ่านระบบ e-Self Service 

 

หลักฐานที่ต้องใช้

  1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม (สปส. 2-01)
  2. กรณีผู้ประกันตนเคยยื่นใช้สิทธิแล้วและประสงค์จะใช้สิทธิสำหรับบุตรคนเดิม ให้ใช้หนังสือขอใช้สิทธิบุตรคนเดิมกรณีกลับเข้าเป็นผู้ประกันตน จำนวน 1 ฉบับ
  3. กรณีผู้ประกันตนหญิงใช้สิทธิ : สำเนาสูติบัตรบุตร (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย) จำนวน 1 ชุด
  4. กรณีผู้ประกันตนชายใช้สิทธิ : สำเนาทะเบียนสมรส หรือสำเนาทะเบียนหย่าพร้อมบันทึกแนบท้ายของผู้ประกันตนหรือสำเนาทะเบียนรับรองบุตร หรือสำเนาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย จำนวน 1 ชุด
  5. สำเนาสูติบัตรบุตร (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วยจำนวน 1 ชุด)
  6. กรณีเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุลให้แนบสำเนาเอกสารใบเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุลด้วย จำนวน 1 ชุด
  7. กรณีผู้ประกันตนต่างชาติ ให้ใช้สำเนาบัตรประกันสังคมและสำเนาหนังสือเดือนทาง (passport) หรือสำเนาหนังสือเดินทางชั่วคราวหรือเอกสารรับรองบุคคลที่ทางราชการออกให้ จำนวน 1ชุด
  8. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกที่มีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอ จำนวน 1 ฉบับ ผ่านทางบัญชีธนาคารของผู้ประกันตน ดังนี้
  • ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน)
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด(มหาชน)
  • ธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน)
  • ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารกสิกรไทย จำกัด(มหาชน)
  • ธนาคารทหารไทย จำกัด(มหาชน)
  • ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
  • ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด(มหาชน)

เอกสารประกอบการยื่นคำขอฯ ที่เป็นสำเนา ให้รับรองความถูกต้องของสำเนาทุกฉบับ และ แสดงเอกสารที่เป็นต้นฉบับเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ขอตรวจสอบ

กรณีเอกสารหลักฐานสำคัญต่อการพิจารณาเป็นภาษาต่างประเทศให้จัดทำคำแปลเป็นภาษาไทยและรับรองความถูกต้องให้ครบถ้วน

 

วิธีรับเงินสงเคราะห์บุตรผ่านพร้อมเพย์

  • ยื่นบัตรประจำตัวประชาชน และสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ลงทะเบียนผ่านธนาคารเจ้าของบัญชี
  • ไม่ต้องยื่นสำเนาหน้าบัญชีเงินฝากธนาคารกับสำนักงานประกันสังคมในการขอรับประโยชน์ทดแทน
  • หากต้องการยื่นเรื่องหรือแจ้งเปลี่ยนวิธีรับเงินผ่านพร้อมเพย์ได้ที่ สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ทั้ง 12 แห่ง/จังหวัด/สาขา