“อย่าปล่อยโอกาสเป็นอากาศ” สมาพันธ์ SME แนะ 7ทางรอดวิกฤติเศรษฐกิจ

01 ส.ค. 2565 | 07:59 น.

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย ชี้ไทยเผชิญหน้าวิกฤติ 5ส. สุขภาพ เศรษฐกิจ สงคราม สังคมและสิ่งแวดล้อม ฉุดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศดิ่งลง แนะรัฐ “อย่าปล่อยโอกาสเป็นอากาศ” วอนดึง SME GP กลับคืนฟื้นเศรษฐกิจฐานราก

นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดเผยในงานสัมมนา Thailand Survival ไทย..จะรอดอย่างไรในวิกฤติโลก ในหัวข้อ โอกาสและความเสี่ยงจากวิกฤติเศรษฐกิจว่า ปัจุบันประเทศไทยกำลังเผชิญหน้ากับ วิกฤต 5 ส.  ทั้งวิกฤตสุขภาพ เศรษฐกิจ สงคราม สังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งวิกฤติเหล่านี้ส่งผลกับอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย 

 

สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาของวิกฤตินี้ทำให้เกิดทั้งเรื่องของรายได้ลด ต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ค่าครองชีพพุ่ง เงินเฟ้อ-เศรษฐกิจฝืด หนี้เพิ่มและคนว่างงานเพิ่มโอกาสที่ประเทศไทยจะมีทางรอดจากวิกฤตินี้คือการทำเรื่องของการขยายตัวทางเศรษฐกิจไม่ว่าจะเป็น GDP ของประเทศ และ GDP ของ SMEจะต้องเติบโตตามโดยสิ่งที่เราไม่อยากปล่อยให้โอกาสกลายเป็นอากาศมีอยู่ 7 เรื่อง

 

เรื่องแรกคือเรื่องของการปรับนโยบายโครงสร้างแหล่งพลังงานสีเขียว ส่งเสริมการพึ่งพาพลังงานในประเทศลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เร่งตลาดคาร์บอนเครดิตและระบบ LCA ซึ่งเราคิดว่าจะช่วยให้ความมั่นคงทางด้านพลังงานประเทศปรับตัวดีขึ้นขึ้น วันนี้ภาพรวมการใช้พลังงานในประเทศเรายังพึ่งพาก๊าซธรรมชาติแล้วเราก็นำเข้าจากต่างประเทศในปริมาณที่สูง

 

ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมเป็นอันดับที่ 1 กว่าครึ่งที่มีสัดส่วนการใช้พลังงานไฟฟ้าและได้รับผลกระทบกับต้นทุนการผลิต ในขณะที่สัดส่วนพลังงานสีเขียวมีอยู่ไม่ถึง 1 ใน 4 ของพลังงานทั้งหมด

ตลาดนวัตกรรมนำการผลิต  ประเทศไทยต้องการเป็น BCG เราต้องการเป็น new s curveและ thailand 4.0 ดังนั้นจะต้องทำให้ SME กลายร่างจาก local สู่ global  เพราะตลาดวันนี้ไม่ใช่ตลาด 66 ล้านคนแต่เป็นตลาดโลก แต่วันนี้  SME เองเข้าถึงนวัตกรรมน้อยมาก กังนั้นหากไทยต้องการ GDP BCG เพิ่มขึ้น 1 ล้านล้าน ต้องหนุน SME ให้เข้าไปเกี่ยวในการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับสินค้าที่เป็น bio economy แต่ละคลัตเตอร์ให้เหมาะสม

 

แหล่งต้นทุนต่ำ ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ SME สามารถมีการเติบโตได้ดี วันนี้เราเห็นว่าสินเชื่อต้นทุนต่ำกำลังมีปัญหา SME ที่เป็น special mansion กับNPLสูงเกือบ 20% ตอนนี้มีความน่ากลัวของระเบิดเวลาลูกที่เป็นหนี้ โดยเฉพาะปัญหาหนี้นอกระบบที่เติบโต การเข้าถึงสินเชื่อเพื่อให้ผู้ประกอบการเติบโตขึ้น กลไกในการพัฒนาผู้ประกอบการมีรหัสเซฟ 3 รหัสที่อยากให้ภาครัฐและหน่วยงานต่างๆช่วยเร่งจัดการก็คือรหัส 21  ซึ่งเป็นรหัสที่ทางเครดิตบูโรจัดกลุ่มเรานี้ไว้ไม่ว่าจะเป็นลูกหนี้ชั้นดีที่วันนี้เป็น NPL เพราะโควิด 2.6 ล้านบัญชีกว่า 2.1 ล้านราย รหัส30บัญชีลูกหนี้ที่สถานการณ์เงินดำเนินคดีทางกฎหมายแล้ว 2 ล้านบัญชีเร่งไกล่เกลี่ยยกเว้นดอกเบี้ยผิดนัดชำระตัดเงินต้นก่อน  และรหัส 42 ลูกหนี้เสียที่ขายให้กับ AMC ติดตามตรวจสอบประเมินปรับปรุงรายงานความคืบหน้า

 

การสร้างพลเมืองผู้ประกอบการที่มีธรรมาภิบาล วันนี้ประเทศไทยมีคนว่างงานและเสมือนว่างงานรวมถึงแรงงานนอกระบบที่กระจายไปแต่ละภูมิภาค รวมถึงแรงงานที่มีการศึกษาต่ำกว่าประถมหรือไม่มีการศึกษาเลยหลายล้านคน ซึ่งรัฐต้องช่วยเหลือในการพัฒนาทักษะที่จำเป็น

 

ขณะเดียวกันภาครัฐต้องเข้ามาทำแพลตฟอร์มช่วยเหลือ สร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจฐานรากที่จะทำให้เกิดพลังและมีส่วนร่วมกับท้องถิ่น การกระจายความเจริญไปสู่ท้องถิ่นและการส่งเสริมการลงทุนที่จะไปมุ่งเน้นกับส่วนภูมิภาคมากขึ้น ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษที่วันนี้มีถึง 4 + 1 SME จะต้องมีการเชื่อมโยงเพื่อเพิ่ม GRP per capita ในแต่ละภูมิภาค และลดอันดับความยากจนของผู้ประกอบการ SME ที่มีกระจายอยู่ทั่วไปรวมถึงการแก้ไขกฎหมายลดความเหลื่อมล้ำ และเกษตรกรและ SME ต้องมีแต้มต่อ

 

“SME GP เป็นสิ่งที่ดีและขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากได้ดีแต่ปัจจุบันถูกยกเลิกไป 30% เหลือแค่แต้มต่อ 10% ที่เป็นราคา แต่สัดส่วนงบประมาณภาครัฐ 30% ได้หายไป ซึ่งจริงๆแล้วผลการดำเนินการปี 64 ทำได้ถึง44% สูงกว่าเป้าหมาย 14% แต่ถูกยกเลิกไปก็ควรที่จะนำกลับมาใหม่”