อินโดนีเซียเดินตามไทยเริ่มนโยบายล้างไตผ่านช่องท้อง

15 พ.ค. 2559 | 12:30 น.
[caption id="attachment_53234" align="aligncenter" width="503"] OLYMPUS DIGITAL CAMERA OLYMPUS DIGITAL CAMERA[/caption]

HITAP เผย อินโดนีเซีย เตรียมเดินตามไทย ใช้ “นโยบายล้างไตผ่านช่องท้องเป็ นทางเลือกแรก” ดูแลผู้ป่วยโรคไตในประเทศ หลังเปิดให้แพทย์และผู้ป่วยเลื อกวิธีบำบัดทดแทนไตทำระบบล้ มเหลว เหตุส่วนใหญ่เลือกฟอกเลือดด้ วยเครื่องไตเทียมเพราะจะได้ รายได้จากการเบิกจ่ายมากกว่า ส่งผลผู้ป่วยไตส่วนใหญ่เข้าไม่ ถึงการรักษา เหตุสภาพเป็นเกาะ ศูนย์ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมไม่พอ แถมทำค่าใช้จ่ายพุ่งสูงเป็นอันดับ 2 ของค่ารักษาทั้งระบบแต่ก็ยังไม่ ครอบคลุมผู้ป่วย ระบุแนวโน้มทั่วโลกต้องใช้ นโยบายนี้ หลัง WHO ชี้ตัวเลขทั่วโลกมีผู้ป่ วยเบาหวาน 400 คน คาด 10 ปีข้างหน้าเพิ่มเท่าตัว ส่อแววผู้ป่วยโรคไตเพิ่ม

นพ.ยศ ตีระวัฒนานนท์ หัวหน้าโครงการประเมินเทคโนโลยี และนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) กล่าวว่า การดำเนินนโยบายล้างไตผ่านช่ องท้องเป็นทางเลือกแรก (PD First Policy) ที่ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ าของประเทศไทยดำเนินการในขณะนี้ ถือว่ามาถูกทางแล้ว เนื่องจากหลายประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศกลุ่มกำลังพั ฒนาที่ดำเนินโครงการหลักประกั นสุขภาพถ้วนหน้าต่างให้ ความสนใจและหันมาใช้นโยบายนี้ ซึ่งที่ผ่านมา HITAP ได้รับเชิญจากหน่วยงานที่ดำเนิ นระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ าของประเทศอินโดนีเซียให้ร่ วมประเมินเพื่อหาแนวทางและวิธี การดูแลผู้ป่วยไตที่เหมาะสม เนื่องจากที่ผ่านมาประเทศอิ นโดนีเซียเริ่มประสบปัญหาการดู แลผู้ป่วยไตแล้ว โดยมีปัญหาการเข้าถึงการรั กษาของผู้ป่วยไต รวมถึงงบประมาณในการดูแล

นพ.ยศ กล่าวว่า อินโดนีเซียได้เริ่มนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าโดยใช้งบประมาณหลักจากภาษีประชาชนเช่ นเดียวกับประเทศไทย แม้จะมีการกำหนดจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพบ้างสำหรับกลุ่มผู้มี รายได้มาก แต่เป็นเม็ดเงินที่ไม่มาก และจากที่อินโดนีเซียเป็ นประเทศมีประชากรมากถึง 240 ล้านคน แม้ว่าจะมีการดำเนินระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามาแล้ว 3-4 ปี แต่ยังไม่ครอบคลุมประชากรทั้งหมด โดยมีประชากรที่อยู่ในระบบเพี ยงร้อยละ 60 เท่านั้น และเมื่อดูค่าใช้จ่ายในระบบพบว่ า แม้ว่าค่าใช้จ่ายการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมสูงเป็นอันดับ 2 ของค่าใช้จ่ายในระบบ แต่ยังไม่ครอบคลุมการดูแลผู้ป่ วยไตในระบบทั้งหมด จึงเป็นเหตุให้อินโดนีเซียต้ องมีการทบทวนและหาแนวทางการดู แลผู้ป่วยไตที่เหมาะสม

ทั้งนี้พบว่า ปัญหาการดูแลผู้ป่วยไตของอินโดนีเซียมาจาก 3 ปัจจัย คือ 1.การเปิดให้ผู้ป่วยและแพทย์เป็ นผู้เลือกวิธีการบำบั ดทดแทนไตเอง ซึ่งแพทย์และหน่วยบริการส่ วนใหญ่จะเลือกการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมให้กับผู้ป่วย เนื่องจากจะมีรายได้จากการเบิ กจ่ายค่าบริการจากระบบมากกว่ าการให้บริการล้างไตทางช่องท้อง 2.ภูมิประเทศมีสภาพเป็ นเกาะมากกว่าหนึ่งหมื่นเกาะ การขยายจัดตั้งศูนย์ฟอกเลือดด้ วยเครื่องไตเทียมให้ครบทุ กเกาะเป็นเรื่องที่ยาก นอกจากเครื่องไตเทียมมีมูลค่าที ่สูงมากแล้ว ยังมีปัญหาบุคลากรให้บริการ และ 3.ผู้ป่วยไตที่มี จำนวนมากและกระจายอยู่ทั่ วประเทศที่มีสภาพเป็นเกาะ เป็นอุปสรรคต่อการเดิ นทางหลายครั้งต่อสัปดาห์เพื่ อเข้าถึงบริการ

“จากที่ HITAP ได้สนับสนุนคณะกรรมการแห่งชาติ ว่าด้วยการประเมินเทคโนโลยี (the National Health Technology Assessment Committee) ของรัฐบาลอินโดนีเซีย ประเมินทางเลือกในการดูแลผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายของโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้าของอินโดนีเซีย มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 ตอนนี้ได้ข้อสรุปเบื้องต้นแล้วว่าอินโดนีเซียต้องปรับระบบและใช้นโยบายล้างไตผ่านช่ องท้องเช่นเดียวกับประเทศไทย ซึ่งนอกจากเพิ่มการเข้าถึงของผู ้ป่วยไตแล้ว ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายดูแลผู้ป่วยไตในระบบได้ โดยผู้บริหารระดับสูงของอินโดนี เซียให้ความสนใจและต้องการเริ่ มโครงการนำร่องตามแนวทางใหม่นี้ เพราะเป็นทางรอดเดียวของระบบ ไม่เช่นนั้นอินโดนีเซียจะต้องจัดตั้งศูนย์ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมมากกว่า 14,000 แห่ง ใน 14,000 เกาะทั่วประเทศ” หัวหน้าโครงการประเมินเทคโนโลยี และนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) กล่าว

นพ.ยศ กล่าวว่า บทเรียนที่เกิดขึ้นในอินโดนีเซี ยสะท้อนว่า การดูแลผู้ป่วยไตของไทยเดินมาถู กทางแล้ว ซึ่งที่ผ่านมาจากการประชุ มนานาชาติ “PD First Policy” ครั้งแรกภูมิภาคอาเซียนเมื่ อปลายปี พ.ศ.2557 พบว่าหลายประเทศเริ่ มสนใจนโยบายนี้ เนื่องจากปัญหาผู้ป่วยไตคาดว่ าจะเป็นปัญหาสำหรับทุ กประเทศในอนาคต องค์การอนามัยโลกออกมาระบุแล้ วว่า ปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคเบาหวานทั่ วโลกถึง 400 ล้านคน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของโรคไต และอีกใน 10 ปีข้างหน้าจำนวนผู้ป่ วยเบาหวานจะเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตั ว นั่นหมายถึงปัญหาโรคไตจะเพิ่มขึ ้น ดังนั้นเชื่อว่าแนวโน้มประเทศต่ างๆ ทั่วโลก จะหันมาใช้นโยบายล้างไตผ่านช่ องท้องเป็นทางเลือกแรกแน่นอน โดยเรื่องนี้ HITAP ได้จัดทำข้อสรุปและนำเสนอเพื่ อลงตีพิมพ์ในวารสาร Health Research Policy and Systemsแล้ว

ส่วนกรณีที่ยังมีการวิพากษ์วิ จารณ์นโยบายล้างไตผ่านช่องท้ องเป็นทางเลือกแรกอยู่นั้น นพ.ยศ กล่าวว่า ไม่ใช่เรื่องแปลกและไม่รู้สึ กแปลกใจ ทั้งไม่คิดว่าการวิจารณ์นี้ จะจบลง เพราะในทางการแพทย์ ไม่แต่เฉพาะการล้างไตผ่านช่องท้ องเท่านั้น แต่รวมถึงการรักษาโรคอื่นๆ ยังมีความเห็นแย้งและการถกเถี ยงต่อเนื่อง ซึ่งเรื่องการรักษาและวินิจฉั ยโรคไม่มีใครผิดถูก 100% เพียงแต่หากมั่นใจว่านโยบายนี้ ประเทศได้เดินมาถูกทาง ต้องทำการชี้แจงเพื่อให้สั งคมเกิดความเข้าใจมากขึ้น ซึ่งกรณีการบำบัดทดแทนไตที่เปิ ดให้แพทย์และผู้ป่วยเป็นผู้เลื อก มีบทเรียนจากประเทศที่ดำเนิ นนโยบายนี้แล้วล้มเหลวอย่ างประเทศอินโดนีเซียที่ต้องเปลี ่ยนระบบในที่สุด