“เก่งไล่คนออก ก่อนรับคนเพิ่ม” เบื้องหลังทรานส์ฟอร์เมชัน “MFEC”

05 มี.ค. 2565 | 01:31 น.

ถอดสูตร ทรานส์ฟอร์เมชัน “MFEC” ลีดเดอร์ต้อง “ใจดำ อำมหิต เก่งไล่คนออก ก่อนรับคนเพิ่ม” เลิกจ้าง 615 พนักงาน ตัดบิสิเนสที่ไม่เป็นอนาคตทิ้งเม็ดเงินกว่า 2,000ล้านบาท เพื่อเริ่มนับหนึ่งสร้างการเติบโตบนเส้นทางใหม่

ปฏิเสธไม่ได้ว่าปัจุบันโลกธุรกิจกำลังถูกท้าทายด้วยวิกฤติมากมาย การสร้างระบบภูมิคุ้มกันขององค์กร นับเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรในการรับมือกับยุคดิจิทัล ซึ่งไม่ใช่แค่การนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เท่านั้น แต่การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ก็เป็นหนึ่งในเรื่องที่ละเลยไม่ได้

 

หนึ่งในองค์กรที่มีความโดดเด่นในการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ คือ  “MFEC”  ซึ่งลุกขึ้นมาทรานส์ฟอร์เมชันองค์กร โดยยกเครื่อง “พนักงานบริษัท” เลิกจ้างพนักงานเก่ากว่า 615 เพิ่มพนักงานเจนใหม่เพิ่มกว่า780 คน ภายใต้กลยุทธ “เก่งไล่คนออก ก่อนรับคนเพิ่ม” นี้ทำให้  “MFEC”  สามารถเอาตัวรอดจากการถูกดิสรัปชันและสร้างการเติบโตอย่างก้าวกระโดดอีกครั้ง 

 

ทั้งนี้ บอสใหญ่ ดร. ศิริวัฒน์ วงศ์จารุกร ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอ็ม เอฟ อีซี จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า หลังจากที่ “MFEC” ตัดสินใจจะทรานฟอร์มเมชั่นองค์กร ได้ทำการแจ้งผู้บริหารถึงกลยุทธ์และ strategy โดยบริษัทตั้งธงการทรานฟอร์มตามหลักของความธรรมชาติคือ ความสมเหตุสมผลด้วยเหตุปัจจัยและผล

 

เริ่มจากการกระตุ้นระบบภูมิต้านทานขององค์กรให้กลับมาแข็งแรง โดยเอาคนที่ไม่ตอบโจทย์องค์กรแทนที่ด้วยคนรุ่นใหม่ที่มีทักษะและความแอคทีฟที่ตอบโจทย์องค์กร

 

“หลักการของการเอาคนออก คือต้องเอาคนออกแล้วเขารักเราเหมือนเดิมหรือมากกว่าเดิม  เวลาที่เราจ้างผู้บริหารเราจะจ้างให้เขาทำ 2 อย่างคือจ้างให้เขาทำในสิ่งที่เขาชอบทำและจ้างเขาทำในสิ่งที่ไม่ชอบทำ ผู้บริหารส่วนใหญ่เป็นคนไม่ชอบให้คนออก ไม่กล้าที่จะตัดคนไม่ใช่แล้วปล่อยค้างไว้ในองค์กรซึ่งก็จะสร้างปัญหาให้กับองค์กร

 

ก่อนที่จะทำทรานส์ฟอร์เมชั่นสิ่งที่ ลีดเดอร์ จะต้องมีคือฝึกกระบวนท่า “ใจดำ อำมหิต”ถ้าไม่พร้อมที่จะ ทำไม่พร้อมที่จะตัดมันไม่มีทางที่จะฟื้น ขณะเดียวกันต้องมี humanize หรือการเข้าใจลูกน้องด้วยระบบองค์กรเพื่อไม่ให้การเอาคนออกเกิดผลเสียต่อองค์กร”

 

ตามกลยุทธ์  “เก่งไล่คนออก ก่อนรับคนเพิ่ม”นี้ทำให้ “MFEC” ตัดสินใจเปลี่ยนพนักงานออก 615 คนและรับพนักงานใหม่ 780 คน อายุเฉลี่ยพนักงานจาก 36 ปี ขยับลงมาเป็น 29 ปี โดยโจทย์สำคัญคือจะทำให้คนออกมากถึง 615 คนอย่างไร ที่จะทำให้ทุกคนยังรัก “MFEC” เหมือนเดิม ซึ่ง“MFEC”ตัดสินใจตัดธุรกิจที่ดูแล้วไม่เป็นอนาคตทิ้ง แล้วพยายามมองหาสิ่งที่แมทกับไลฟ์สไตล์ 

 

“ตอนนั้นพนักงานที่เข้ามาใหม่จะมีอายุ 24- 25 ปี ซึ่งมีความแฮปปี้ในการทำงานถึง 2-3 ทุ่ม แต่หลังจากอยู่กับเราสัก 10 ปี คนเหล่านั้นเริ่มมีภาระเช่นต้องไปรับลูก มีครอบครัวต้องดูแล แต่ลูกค้าของเรายังต้องการบริการที่แอกทีฟ ตอนนั้นเราเข้าไปคุยกับลูกค้าของเราว่าต้องการคนที่มีประสบการณ์ 10 ปีเข้าไปร่วมงานหรือเปล่า ซึ่งลูกค้าส่วนมากก็มีความต้องการ เพราะฉะนั้นก็จะมีกลุ่มหนึ่งของเราที่ไปอยู่กับลูกค้า แล้วเราก็รับเด็กใหม่เข้ามาผลก็คือตอนนั้นเราตัดธุรกิจฝั่งgovernmentทั้งหมดคิดเป็นเงิน กว่า2,000 ล้านบาท แล้วโฟกัสฝั่งเอกชน ผลก็คือตอนนี้บริษัทเราก็พลิกกลับขึ้นมาและเติบโตกว่าช่วงที่ตัดธุรกิจที่ไม่เป็นอนาคตออก”

 

อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารเน้นย้ำว่า การสื่อสารกับพนักงานเป็นสิ่งสำคัญถ้าไม่อยากให้พนักงานเกลียด สิ่งที่“MFEC” ทำก็คือผู้บริหารระดับหัวหน้าไม่ว่าใครก็ตามที่จะรับคนเข้ามาเพิ่มในองค์จะต้องมีความสามารถในการไล่คนออกก่อนถึงจะรับคนอื่นได้ เพราะฉะนั้นเมื่อจะรับคนเข้ามา ต้องนั่งคิดด้วยว่าจะเอาออกเมื่อไหร่ด้วยเหตุผลอะไร

 

“สิ่งที่ตกลงกันในวันแรกที่พนักงานเข้ามาในวันทำงานเรียกว่า คอมมิทเมนต์ แต่สิ่งที่พูดกันในสิ้นปีจะถูกเรียกว่าข้อแก้ตัว เวลาที่เรารับใครเข้ามาเราจะสื่อสารด้วยความชัดเจนเพื่อจะทำให้ไม่ต้องทะเลาะกัน เพราะฉนั้นเราต้องฝึกให้พนักงานหรือผู้บริหารทุกคนต้องมีความสามารถในการ “ให้คนออกก่อนที่จะรับคนเพิ่ม”ปัญหาต่างๆก็จะลดน้อยลง จะทรานฟอร์มได้ต้องตัดคนคิดลบออกและเพิ่มความคิดบวก”