เตือนภาคเกษตร-อาหารไทยรับมือ Net Zero ด่วน

06 ก.พ. 2565 | 13:06 น.

BCG Economy อาจสะดุด Krungthai COMPASS ประเมินผู้ประกอบการเกษตรและอาหารของไทยไม่พร้อมรับมือ Net Zero Emission และอาจมีความจําเป็นต้องลงทุนเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 7 แสนล้านบาท ในช่วงปี 2020-2050 เพื่อเสริมศักยภาพเกษตรกรและผู้ประกอบการไทย

COVID-19 เป็นตัวเร่งให้ทั่วโลกให้ความสําคัญกับการขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจใหม่ ซึ่งเน้นการพัฒนาที่ยั่งยืน (BCG Economy) โดยหนึ่งในปัจจัยสําคัญที่ช่วยให้บรรลุ เป้าหมายเศรษฐกิจแบบยั่งยืน คือ การแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) และเทรนด์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ทําให้ภาคเกษตรและอาหารซึ่งต้นตอสําคัญที่ก่อให้เกิด Climate Change ต้องเร่งปรับตัวเข้าสู่ Low Carbon Society อย่างเลี่ยงไม่ได้

 

อย่างไรก็ตาม พบว่า ผู้ประกอบการเกษตรและอาหารของไทยกลับยังไม่พร้อมรับมือเทรนด์นี้ สะท้อนจากผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมีจํานวนค่อนข้างน้อย อีกทั้งผู้ประกอบการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารไทยส่วนใหญ่เป็น SMEs ถึง 94% ซึ่งอาจทําให้มีข้อจํากัดในการปรับตัว

 

ขณะนี้จึงถึงเวลาที่ภาคธุรกิจเกษตรและอาหารของไทยต้องใส่ใจเทรนด์ Net Zero Emission อย่างจริงจัง เพื่อให้สอดรับกับ BCG Economy โดยเฉพาะโจทย์ใหญ่ใน มิติด้านการค้า เนื่องจากพฤติกรรมผู้บริโภคทั่วโลกให้ความสําคัญมากขึ้นกับผลกระทบ จากอุตสาหกรรมอาหารที่มีต่อ Climate Change

ขณะเดียวกันประเทศผู้นําเข้าสําคัญๆ ก็มีการออกกฎระเบียบทางการค้าใหม่ๆ ที่มุ่งเน้นเรื่องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จึงอาจเป็นอุปสรรคต่อการส่งออกหากผู้ประกอบการปรับตัวไม่ทัน สินค้าเกษตรและอาหารของไทยกลุ่มแรกๆ ที่ต้องเร่งดําเนินการเรื่อง Net Zero Emission

 

ได้แก่ สินค้าปศุสัตว์ และอาหารสัตว์ เนื่องจากสินค้าเหล่านี้เป็นสินค้าที่ ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงเมื่อเทียบกับภาพรวมสินค้าเกษตรด้วยกัน ขณะเดียวกันก็ เป็นกลุ่มสินค้าที่พึ่งพาตลาดสหภาพยุโรป และสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดที่ให้ความสําคัญ กับเรื่องนี้ค่อนข้างมาก โดยสินค้า 2 กลุ่มนี้มีมูลค่าการส่งออกไปยังทั้งสองตลาด รวมกันถึง 2.38 พันล้านดอลลาร์ฯ หรือกว่า 7 หมื่นล้านบาทต่อปี

 

เพื่อให้การรับมือกับกระแส Net Zero Emission เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ Krungthai COMPASS ประเมินว่าไทยอาจมีความจําเป็นต้องลงทุนเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 7 แสนล้านบาท ในช่วงปี 2020-2050 โดยเป็นการลงทุนทั้งในด้านการส่งเสริมการ ผลิตอาหารจากพืชหรือโปรตีนจากพืชให้มากขึ้น ระบบการจัดการปศุสัตว์และสวัสดิภาพ สัตว์ (Animal Welfare) การลงทุนในเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการเกษตร

 


จากข้อมูล FA0 พบว่า ไทยเป็นประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาค การเกษตรเป็นอันดับ 9 ของเอเชีย และเป็นอันดับ 3 ของอาเซียนรองจาก อินโดนีเซีย และเมียนมา นอกจากนี้ ยังพบว่าไทยปล่อยก๊าซเรือน กระจกในภาคการเกษตรสูงกว่าเวียดนามซึ่งเป็นคู่แข่งสําคัญในการส่งออก สินค้าเกษตรอย่างข้าว ปศุสัตว์ รวมทั้งฟิลิปปินส์ และมาเลเซียซึ่งเป็นคู่แข่ง สําคัญในการส่งออกผลไม้

 

หากพิจารณาในแง่ของกิจกรรมการเกษตร พบว่า การเพาะปลูกข้าว" ปล่อย ก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดในภาคเกษตรและอาหารไทย จากกระบวนการทาง ชีวภาพที่เกิดจากจากการย่อยสลายสารอินทรีย์ที่ต้นข้าวและรากข้าวปล่อยลงสู่ ดินนา จนเกิดเป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่สร้างก๊าซมีเทนในช่วงที่มีการขังน้ํา

 

ขณะที่ ก๊าซมีเทนจะถูกปลดปล่อยสู่บรรยากาศมากที่สุดผ่านทางช่องว่างในลําต้นของ ข้าว ทั้งนี้ แม้ว่าก๊าซมีเทนจะเป็นก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศคิดเป็น สัดส่วนที่ต่ํากว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาก แต่ก๊าซมีเทนกลับมีศักยภาพใน การก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนสูงกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากถึง 21 เท่า

 

นอกจากนี้ การเลี้ยงปศุสัตว์ก็มีส่วนต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงถึง 20.7% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคเกษตรและอาหารของไทย โดยเฉพาะการ เลี้ยงสัตว์เคี้ยวเอื้องที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากถึง 5.6 gCo2 ต่อกิโลแคลอรี หรือแม้แต่การเลี้ยงสัตว์ปีก ซึ่งเป็นเนื้อสัตว์ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยที่สุด ก็ยังปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงถึง 1.3 gCo2 ต่อกิโลแคลอรี

 

 

เป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกโดยรวมยังมีความท้าทายสูง โดยล่าสุดคณะรัฐมนตรี ได้ผ่านร่างยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาแบบปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ําของ ประเทศไทย (Thailand's Long-Term Low Greenhouse Gas Emission Development Strategy: LI-LEDS) ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติฉบับที่ 13 ให้ได้ 350 ล้านตัน CO2eq ในปี 2030 และ 200 ล้านตัน CO2eq ภายในปี 2050 พร้อมตั้งเป้า Carbon Neutrality ให้ได้ภายในปี 2065 นอกจากนี้ ยังเพิ่มเป้าลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้เป็น 40% จากเดิมอยู่ที่ 25% ภายในปี 2030 เมื่อเทียบกับกรณีการดําเนินธุรกิจตามปกติ (BAU)

 

อย่างไรก็ดี คาดว่าไทยจะยังไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้ในปี 2050 หากการปล่อย กําซเรือนกระจกสุทธิยังอยู่ที่ระดับเดิม โดยปริมาณการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ของไทยในปี 2016 อยู่ที่ 354 ล้านตัน CO2eq หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 231%

 

ขณะที่ อัตราการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเฉลี่ยอยู่ที่เพียงปีละ 24% ทําให้ปริมาณ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิ (Net Emission) อยู่ที่ 263 ล้านตัน CO2eq หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 2.27%3/ ฉะนั้นแล้ว หากไทยยังคงอัตรา Net Emission ที่ระดับเดิมในทุกปี ก็จะส่งผลให้ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปี 2030 และ 2050 ยังคงสูงกว่าเป้าหมายที่ภาครัฐตั้งไว้ค่อนข้างมาก

 

ดังนั้น หากไทยต้องการบรรลุเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกใน ภาพรวม ภาคเกษตรควรเป็นสาขาแรกๆ ที่ภาครัฐและเอกชนต้องเร่งปรับตัว เนื่องจากภาคเกษตรของไทยเป็นสาขาที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นอันดับ 2 รอง จากภาคพลังงาน โดยในปี 2016 สาขาพลังงานปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด อยู่ที่ 254 ล้านตัน CO2eqหรือคิดเป็น 71% ของปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ของทั้งทั้งหมด รองลงมา คือ สาขาเกษตร ปล่อยก๊าซเรือนกระจกอยู่ที่ 52 ล้านตัน CO2eq หรือคิดเป็น 15%

 

นอกจากนี้ ผู้ประกอบการเกษตรและอาหารไทยยังเข้าร่วมโครงการลดการปล่อย ก๊าซค่อนข้างน้อย โดยข้อมูลจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การ มหาชน) หรือ อบก. พบว่ามีเพียง 2 โครงการในหมวดเกษตรที่เข้าร่วมลงทะเบียน ภายใต้โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (T-VER) ซึ่งคิดเป็นปริมาณการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้เพียง 70 ตัน CO2eq ต่อปีเท่านั้น

 

อีกทั้ง ผู้ประกอบการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารไทยส่วนใหญ่อาจจะยังไม่ พร้อมกับการรับมือเทรนด์นี้ โดยผู้เล่นในตลาดส่งออกเป็นกลุ่มผู้ประกอบการ ขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) คิดเป็นสัดส่วน 94% ของจํานวนผู้ส่งออก สินค้าเกษตรและอาหารทั้งหมด ซึ่งอาจทําให้มีข้อจํากัดในการ ปรับตัวทั้งในด้านเงินทุนและองค์ความรู้ เมื่อเทียบกับผู้เล่นรายใหญ่ในตลาด ส่งออกสินค้าเกษตรที่เริ่มปรับตัวเพื่อรับมือกับเทรนด์ดังกล่าวไปบ้างแล้ว