“Digital Transformation” ภาพเปลี่ยนโรงพยาบาลไทย

09 ธ.ค. 2564 | 08:45 น.

โรงพยาบาลไทย ตื่นตัวเร่ง นำเทคโนโลยีพัฒนาโรงพยาบาล แจ้งเกิด Telemedicine ขยายโฮมแคร์ รองรับสังคมสูงวัย พร้อมรับมือโรคจาก Metaverse มั่นใจปีหน้า Personal health record เกิดแน่

ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาในประเทศไทยและทั่วโลกมีความเคลื่อนไหวในการใช้เทคโนโลยีดิจิตอล และมีการจับมือกันระหว่างโรงพยาบาลใหญ่ๆหลายแห่งทั้งรัฐและเอกชนกับบริษัทเทคโนโลยีต่างๆเพื่อนำเทคโนโลยีดิจิตอลมาพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล

 

แต่สิ่งที่ยังน่ากังวลคือการใช้เทคโนโลยีอย่างเดียวหากเบื้องหลังไม่มีการปรับมายเซ็ตของคนทำงานหรือการปรับกระบวนการที่สำคัญในการทำงาน เพื่อจะรองรับการใช้เทคโนโลยีก็จะขาดประเด็นที่จะทำให้คุณภาพดีขึ้น

นพ.กิตตินันท์ อนรรฆมณี อดีตผู้อำนวยการสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) เปิดเผยว่า การพัฒนาโรงพยาบาลในเชิงDigital Transformation  เป็นการสร้างประโยชน์ต่อผู้ป่วยในเชิงการเปลี่ยนแปลงหลายระดับ สิ่งที่เกิดขึ้นมาแล้วและมีความคุ้นชินพอสมควรคือการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการทำงาน ซึ่งที่ผ่านมาจะได้เห็นการใช้เทคโนโลยีดิจิตอลเข้ามาช่วยการแพทย์ในหลายๆรูปแบบเช่น AI ,robot ,precision medicine 

 

และการเปลี่ยนแปลงที่กำลังขยายใหญ่ขึ้นไปในส่วนของระบบงานเช่น Telemedicine ซึ่งเห็นภาพชัดเจนในช่วงโควิดที่ผ่านมา ซึ่งมีการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามหรือHome medicine มีการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารต่างๆเข้ามาช่วยให้แพทย์ พยาบาลสามารถประเมินอาการผู้ป่วยได้โดยไม่จำเป็นต้องอยู่สัมผัสผู้ป่วยโดยตรง รวมไปถึงระบบสนับสนุนการทำ Home isolution เช่นการส่งอาหาร ส่งยา การให้คำแนะนำเองก็มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากด้วยเทคโนโลยีต่างๆที่เข้ามา 

 

และอีกส่วนคือ Personal health record ที่ปัจุบันยังอยู่ในระยะเริ่มต้นแต่กระบวนการการเก็บข้อมูลผู้ป่วยนี้จะเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิงโดยมีระบบบล็อกเชนอาจจะเข้ามามีส่วนในอนาคต แต่มิติที่ควรจับตามองคือ ในอนาคตอันใกล้มีโอกาสสูงที่จะมีการเปลี่ยนแปลงในระดับ organization ระดับ society กับเทคโนโลยีต่างๆที่จะเข้ามาเช่น บทบาท End-of-Life Care  จะมีบทบาทมากขึ้นซึ่งโรงพยาบาลในปัจจุบันอาจจะทำได้น้อยและเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงเช่น การจะทำอย่างไรให้คนไม่ป่วย โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุเพราะฉะนั้นบทบาทของโรงพยาบาลที่จะขยายตัวมากขึ้นคือการดูแลผู้ที่ไม่ป่วยให้คงไม่ป่วยหรือป่วยช้ามากที่สุดซึ่งกลุ่มใหญ่น่าจะเป็นผู้สูงอายุ

 

นอกจากนี้ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอาจจะทำให้แพทย์สามารถทำนายคนที่ยังไม่ป่วยและมีแนวโน้มที่จะป่วยเพื่อหาแนวการป้องกันที่เหมาะสมซึ่งในอนาคตจะมีการขยายตัวอย่างมาก นอกจากการลงทุนทางด้านเทคโนโลยีพื้นฐานแล้ว อีกส่วนที่โรงพยาบาลจำเป็นจะต้องลงทุนคือ ระบบรักษาความเป็นส่วนตัวและไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ซึ่งถ้าไม่มีการลงทุนตรงนี้อาจจะเกิดรั่วไหลข้อมูลส่วนตัวของคนไข้หรือถูกโจมตีทางไซเบอร์ได้ 

 

ซึ่งหมายความว่า โรงพยาบาลยุคใหม่ ITจะเริ่มทำงานในเชิงรุกมากขึ้น และช่วยในการออกแบบตึกออกแบบระบบงานซึ่งง่ายกว่าการสร้างโรงพยาบาลเสร็จแล้วเข้าไปวางระบบทีหลัง ITยังช่วยวางระบบยุทธศาสตร์ของรัฐบาลเช่นโรงพยาบาลจะมีลักษณะเป็นอาคารสูงมากขึ้น, การสัญจรทางตั้งและระบบโลจิสติกส์จะมีความสำคัญมากขึ้น ,opd จะมีขนาดเล็กลงมีการเชื่อมโยงกับบริการปฐมภูมิมากขึ้นด้วยเทคโนโลยีเทเลเมดิซีนต่างๆ , มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ, มีระบบสำรองน้ำไฟฟ้า ,การจราจรทางหนีภัย ,แก๊สทางการแพทย์และข้อมูลข่าวสาร ,มีพื้นที่สีเขียวมากขึ้น เทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามากขึ้นจะทำให้ต้องมีการเตรียมเรื่องโครงสร้างที่รับน้ำหนักเครื่องมือและอุปกรณ์รวมถึงการป้องกันอันตรายจากคลื่นและรังสี

 

การพัฒนาเทคโนโลยี โรงพยาบาลจะต้องเห็นขอบเขตการเปลี่ยนแปลงและคำนึงถึงวิถีชีวิตที่กำลังเปลี่ยนด้วย โรงพยาบาลกำลังเจอผู้สูงอายุมากขึ้น การออกแบบระบบของโรงพยาบาลในเรื่องของเทเลเมดิซี หรือโฮมแคร์ต่างๆ ไอทีจะต้องเอาใจใส่ในเรื่องของการออกแบบ robot ที่เป็นมิตรกับผู้ใช้มากที่สุด สะดวกที่สุด 

 

และสิ่งที่จะเปลี่ยนโลกใบนี้อย่างมากถ้าเกิดขึ้นจริงก็คือ Metaverse สิ่งต่างๆที่อยู่ในโลกปัจจุบันจะอยู่เข้าไปในโลกของ Metaverse เช่นการอบรมแพทย์ พยาบาลในอนาคต รวมทั้งการรักษาโรคที่เกิดจากการใช้Metaverse ที่อาจต้องใช้เวลาที่จะเข้ามาเรียนรู้และพัฒนาร่วมกับแพทย์พยาบาลในอนาคตต่อไป

 

ด้าน ดร.สาธิต วิทยากร  ประธานคณะกรรมการบริหาร บ.พริ้นซิเพิล แคปิตอล จำกัด (PRINC) เปิดเผยว่าเฮลท์เทค เป็นเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่โรงพยาบาลเอกชนสนับสนุนและต้องการให้เกิดขึ้น ในเมืองไทย ทาง PRINC ได้ทำการศึกษาเรื่องของ Digital Transformationในธุรกิจโรงพยาบาล มาตลอดระยะเวลา 3-4 ปีที่ผ่านมา ซึ่งในส่วนของ PRINC เองเรามีความเป็นดิจิตอลส่วนหนึ่ง แต่ในการทานฟร์อมก็จะต้องทำมากขึ้น

 

PRINC ต้องการทำเฮลท์แคร์ เซอร์วิส ซึ่ปัจุบันทำอยู่แล้วใน 12 โรงพยาบาลและจะขยายเป็น 20 โรงพยาบาล  200 คลินิก เพื่อให้เข้าถึงชุมชนได้ง่ายกว่า ที่สำคัญ PRINCยังใช้ เฮลเทค เจาะกลุ่มคนที่อยู่ที่บ้าน ส่วนในจังหวัดต่างๆ PRINCทำโรงพยาบาล และคลินิกที่นำเทเลอร์เมดิซีนเข้าไปถึงคนในบ้าน มีคีออสให้ผู้ป่วยมาใช้ได้ซึ่งก็จะตอบโจทย์ health tech  ส่วนหนึ่งเพราะPRINC มีแบคโบลที่เข้มแข็งก็คือ shared service ซึ่งในปีที่ผ่านมา PRINC ได้ร่วมมือกับบริษัท startup 2 บริษัทเข้ามาช่วยดูแลเรื่องไอทีของบริษัท ตั้งเป้าที่ให้คน 3 ล้านคนเข้ามาอยู่ในระบบของ PRINC

 

“ covid เป็นมิติใหม่ของทางการแพทย์เรารู้ว่าทางการแพทย์มีกฎระเบียบเยอะ  แต่พอ โควิด มามันช่วยล้างกฏเกณฑ์ต่างๆ ทุกอย่างเกิดขึ้นได้ทันที home isolution เป็น Tele healh 100% ในส่วนโรงพยาบาลของเรามีการขยายไปถึง 2,000 เตียง ในการเบิกจ่ายโรบอติกเข้ามาช่วยในการจัดการ ใช้เทเลเมดเชื่อมบุคลากรในจังหวัดต่างๆเข้ามาอ่านแลพแปลฟิล์มเอกซเรย์ต่างๆ เราทำcollaboration กับหน่วยงานอื่นๆเพราะเราทำอย่างเดียวทุกอย่างไม่ได้  และก็ต้องทำงานกับชาวบ้านเรามองว่าจะทำยังไงให้ระบบของเราจะวิ่งไปหาสังคมมากขึ้น จุดหมายของเราคือขยายไปยังจังหวัดที่ไม่เคยมีโรงพยาบาลเอกชนที่ไหนไปมาก่อน โดยใช้ 5G ซึ่งช่วยให้ทุกอย่างเร็วขึ้น 10 เท่า และภายในปีหน้า  personal health record ของเราจะเกิดขึ้น

 

ในเรื่องของDigital Transformation Journey  ของเราเราโปรยเงินลงไปเยอะในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาเรามีการจับมือกับพันธมิตรและทำโปรเจคหลายๆชิ้น ถ้าเราไม่ทำอะไรเลยเราจะเป็นไดโนเสาร์แล้วจะอยู่ไม่ได้เพราะตอนนี้ไม่ใช่แค่โรงพยาบาลในประเทศที่แข่งกัน แต่ถ้าเมื่อไหร่ก็ตามที่โรงพยาบาลต่างชาติเข้ามาเราจะอยู่ไม่ได้  เราต้องดิสทรับตัวของเราเองก่อนในการทำดิจิตอลเทเลเมดต่างๆผ่านโปรเจคเน็กเจน”