ผู้ประกอบธุรกิจกัญชง-กัญชา เตรียมส่งออกสินค้าชิงแชร์ตลาดโลก

06 ต.ค. 2564 | 10:51 น.

ผู้ประกอบกัญชง กัญชา พร้อมติดสปีดผลิตสินค้าจากกัญชง- กัญชา 80%-90% ส่งออกตีตลาดโลก อ้อนรัฐช่วยรันวงการกัญชง-กัญชา ย่นเวลาออกใบอนุญาต พิจราณาให้เร็ว อนุมัติให้ไว ขยายเวลากฎกระทรวงกีดกันกัญชง-กัญชาจากต่างประเทศต่ออีก 5 ปี

ธุรกิจ "กัญชง กัญชา” ยังสดใส โอกาสในตลาดโลกสูง  ผู้ประกอบการต้นน้ำ-ปลายน้ำ แท็กทีมขึ้นเวทีสัมมนา  THAILAND SURVIVAL POST COVID “สมุนไพร” สร้างภูมิ เสริมเศรษฐกิจ สยบพิษโควิด” ช่วง  "กัญชง กัญชา” ขุมทรัพย์สมุนไพร ทางรอดเศรษฐกิจ โดยฐานเศรษฐกิจ  แชร์มุมมองอนาคตกัญชง กัญชาไทย พร้อมวอนรัฐช่วยพิจราณาใบอนุยาติภายในกรอป 120+15  ให้ "กัญชง กัญชา” ได้เดินหน้าต่อ

ผู้ประกอบธุรกิจกัญชง-กัญชา  เตรียมส่งออกสินค้าชิงแชร์ตลาดโลก

ดร. เสฐียรพงษ์ แก้วสด ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทไทย เฮมพ์ เวลล์เนส จำกัด เปิดเผยว่า  กัญชงไทย มีโอกาสไปถึงระดับโลกได้ ด้วยภูมิศาสตร์ของประเทศไทยเหมาะสมกับการปลูกกัญชงเป็นอย่างยิ่ง ประกอบกับปัจจุบันตลาดโลกมีความต้องการการชง 6,500 ตันต่อปี ในขณะที่ประเทศไทยสามารถผลิตกัญชงได้เพียง 65 ตันหรือ 0.1% ของตลาดโลกเท่านั้น 

 

นอกจากนี้ประเทศยังได้เปรียบในเรื่องของ ภูมิศาสตร์และต้นทุนในการปลูกที่ต่ำกว่าต่างประเทศ เพราะสามารถปลูกได้ทุกวันด้วยสภาพภูมิอากาศเหมาะสำหรับการปลูกจึงไม่ต้องสต๊อกสินค้าไว้เยอะเหมือนต่างประเทศ กัญชง1ต้นสามารถให้เก็บผลผลิตคุณภาพดีได้ถึง 8 กิโลกรัม 

ปัญหาที่ผู้ประกอบการต้องเจอและเป็นอุปสรรคอย่างมากคือ เรื่องของการขออนุญาตตั้งแต่การปลูก สกัด หรือผลิต ไทย เฮมพ์ได้ยื่นขออนุญาตตั้งแต่เดือนมีนาคม และได้รับใบอนุญาตเมื่อเดือนสิงหาคม ซึ่งไทย เฮมพ์ได้ส่งเสริมให้เกษตรกรเป็นเป็นคนขอให้เป็นคนขอใบอนุญาตเองในรูปของวิสาหกิจชุมชน ตอนนี้ไทย เฮมพ์มีพื้นที่ปลูก 1,600 ไร่ที่เชียงราย 

 

ถ้ารัฐบาลส่งเสริมพืชเศรษฐกิจนิมิตรใหม่ตัวนี้จริงๆจะสามารถช่วยให้เกษตรกรมีกำไรจากการปลูกไร่ละ 100,000 บาทกำไรเท่ากับการปลูกข้าวโพด 100 ไร่ และเกษตรกร1 คนสามารถปลูกได้ 3 ไร่เท่ากับเกษตรกรจะมีกำไร 600,000 บาทต่อปีเพราะสามารถปลูกได้ 2 รอบต่อปี

 

เกษตรกรในประเทศไทยมีความถนัดที่จะทำ เพียงแต่ว่าภาครัฐต้องเข้าไปให้ความรู้ในเรื่องของกระบวนการปลูกที่ถูกต้อง พืชเศรษฐกิจตัวนี้เป็นพืชที่ทำน้อยได้มาก และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทางด้านการขอใบอนุญาตไม่จำเป็นที่จะต้องไปรวมกันอยู่ที่ส่วนกลางทั้งหมด จริงๆต้องขออนุญาตได้ในส่วนภูมิภาคซึ่งมันเป็นขั้นตอนที่ซับซ้อน

ถ้าใบอนุญาตช้าแบบนี้เราก็จะช้าในตลาดโลก พืชตัวนี้สามารถพลิกฟื้นเศรษฐกิจในสภาพแบบนี้ได้เลยประเทศไทยเองเมื่อเทียบกับตลาดโลกเรามีมาร์เก็ตแชร์แค่ 1% เท่านั้นยังมีโอกาสอีกมากมายที่เราจะสามารถแข่งขันกับระดับโลกได้  

 

สำหรับ ไทย เฮมพ์ เวลล์เนส เรามีแพลนส่งออก 90%ไม่ได้มองตลาดอเมริกาหรือยุโรปแต่เรามองตลาดเอเชีย เกาหลี ญี่ปุ่นสิงคโปร์ ในช่วงประมาณปลายปีนี้เราจะมีผลิตภัณฑ์จากสารสกัดCBDในรูปของสเปกตรัมและไอโซเลท ออกมาจำหน่าย รวมทั้งตัวเฮมซีดออย สิ่งที่สำคัญที่สุดตอนนี้เราทำศูนย์วิจัยพัฒนากัญชงร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เพื่อวิจัยผลิตภัณฑ์ต่างๆ คนไทยสามารถรวยได้พร้อมกันไม่จำเป็นต้องปลูกอย่างเดียวแต่ผู้ประกอบการปลายทั้งหลายที่ผลิตสินค้าไม่ว่าจะเป็นเครื่องดื่ม อาหาร ยารักษาโรค สามารถที่จะใช้สารสกัด cbd เข้าไปผสมในผลิตภัณฑ์และต้องมีมาตรฐานระดับสากล แล้วส่งออกไปทั่วโลก 

 

“ผมอยากให้หน่วยงานภาครัฐช่วยในการพิจารณาใบอนุญาตเป็นหลัก อย่างช้าสุดก็ภายในกรอบ 120 วัน ถ้าพิจารณาช้าอย่างนี้ก็จะขาดโอกาสในการฟื้นฟูประเทศด้วยพืชเศรษฐกิจใหม่นี้”

ผู้ประกอบธุรกิจกัญชง-กัญชา  เตรียมส่งออกสินค้าชิงแชร์ตลาดโลก

ด้านนางศลิษา พิบูลย์สวัสดิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไอคัลเลอร์ คอสเมติคส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวเพิ่มเติมว่า  บริษัทมีการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับสารสกัดที่ได้จากการชงและได้มีการยื่นจดแจ้งไปแล้วเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา และเริ่มมีผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดบ้างตั้งแต่เดือนกันยายนซึ่งได้เสียงตอบรับค่อนข้างดี

 

ในอเมริกา สหราชอาณาจักร แคนาดาผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับการชงจากหลายแบรนด์ออกสู่ตลาดเจำนวนมากในช่วงหลายปีผ่านมา  ข้อมูลการตลาดชี้ว่าใน 2020 ไปจนถึง 3 ปีข้างหน้า กัญชงมีแนวโน้มเติบโตกว่า200% และเติบโตถึง 500% ในปี 2025 ถ้าประเทศไทยสามารถแข่งขันได้ก็จะมีโอกาสมาก ซึ่งไอคัลเลอร์ เองก็มองตลาดต่างประเทศเป็นหลัก 80%ถ้าอนาคตสามารถคุมต้นทุนได้ จะมาสามารถทำราคาได้ถูกลงก็จะสามารถแข่งขันกับตลาดโลกได้เพราะประเทศไทยมีชื่อเสียงในเรื่องของเครื่องสำอางอยู่แล้ว

 

ปัจจุบันบริษัทได้ร่วมกับหน่วยงานราชการทำผลิตภัณฑ์ออกมาเป็น prototype สำหรับทดสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานว่าผลิตภัณฑ์ที่ผลิตมีสาร CBD กี่เปอร์เซ็นต์ และมีใบรับรองจากหน่วยงานราชการเพื่อนำไปยื่นให้ต่างประเทศรับทราบว่าประเทศไทยผลิตได้ ตอนนี้กำลังดำเนินการและได้รับเอกสารทดสอบผลิตภัณฑ์สำหรับส่งออกเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา

 

“กระแสตอบรับกัญชง กัญชงที่อยู่ในเครื่องสำอางดีมากบริษัทของเราแผนทำผลิตภัณฑ์ที่เป็นแอนไทน์เอจจิ้งซึ่งจะล๊อนซ์เร็วๆนี้ รวมไปถึงลิปสติกจากน้ำมันกัญชาและSPOT ACNE ที่เป็นพระเอกที่จะส่งขายทั่วโลก ซึ่งก็ต้องรอผลผลิตต้นน้ำเพราะผู้บริโภคมีความต้องการสูงและสิ่งที่ต้องทำอีกอย่างคือการให้ความรู้กับผู้บริโภคค่อนข้างเยอะว่าสารสกัดตัวนี้มีประโยชน์อะไรบ้าง เพื่อให้นำไปใช้ได้ถูกจุด  

 

และส่วนที่ยังเป็นอุปสรรคคือ เรื่องการขอใบอนุญาตจากอย. ด้วยความเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ไม่อยู่ในระบบ หากรัฐสามารถนำขึ้นระบบเพื่อให้ใบอนุญาตออกมารวดเร็วก็จะช่วยเศรษฐกิจในเมืองไทยได้ระดับหนึ่ง” 

ผู้ประกอบธุรกิจกัญชง-กัญชา  เตรียมส่งออกสินค้าชิงแชร์ตลาดโลก

ขณะที่นางอุนารินทร์ กิจไพบูลทวี กรรมการผู้จัดการ บริษัท แคนนาบิซ เวย์ จำกัด เปิดเผยเพิ่มเติมว่า ธุรกิจแคนนาบิซ เวย์ เป็นธุรกิจต้นน้ำ ปลูกในโรงเรือนที่ทันสมัย เพราะเป็นพืชที่โอกาสน้อยมาในการปลูกหนึ่งครั้งอาจให้ผลผลิตเพียงครึ่งหนึ่งหรือ 1 ใน 3 เท่านั้น ในขณะที่เมล็ดพันธุ์ที่ประเทศไทยอนุมัติแล้วเป็นสายพันธุ์โครงการหลวงซึ่งมี CBD ต่ำ ทำให้ต้องใช้เมล็ดพันธุ์ที่CBDสูงจากต่างประเทศเป็นหลัก 

 

ปัจุบันแคนนาบิซ เวย์  สามารถปลูกกัญชงได้ 1.2แสนต้นเป็น medical grade ซึ่งบริษัทตั้งเป้าให้พื้นที่ปลูก9,000ไร่ตรงนี้เป็นศูนย์เรียนรู้ขนาดใหญ่ 

 

“ณวันนี้ที่ยากที่สุดคือการขออนุญาต ด้วยระเบียบปฏิบัติต่างๆเยอะมาก ต้องสร้างโรงเรืยนเสร็จก่อนแล้วค่อยอนุญาตเท่ากับเราต้องลงทุนก่อน เมล็ด การปลูก การสกัด การผลิตสินค้าต้องขออนุญาตทุกอย่าง เป็นพืชที่มีการควบคุมเข้มข้นมาก  สำหรับเกษตรกรที่เข้าไปขออนุญาตตามข้อกฎหมายคือ 120 + 15 วัน แต่ทุกวันนี้กว่าจะอนุญาตต่ำๆใช้เวลา 6 เดือน กว่าจะเริ่มปลูกกว่าจะได้ผลผลิตไม่ต่ำกว่าอีก 6 เดือน เพราะฉะนั้น 1 ปียังไม่มีผลผลิตออกมาให้กับปลายน้ำผลิตสินค้า เพราะฉะนั้นถ้ากระบวนการขอใบอนุญาตทั้งการขอปลูกขอสกัดขอจำหน่ายของผลิตมันยากทุกขั้นตอน ถ้ารัฐบาลจะช่วยทำให้เป็นone stop service ยื่นปุ๊บ อนุมัติปั๊บก็จะช่วยได้เยอะ

 

สิ่งที่น่ากลัวที่สุดคือรัฐให้เวลา 5 ปีสำหรับธุรกิจต้นน้ำ  ซึ่งบังคับให้ผู้ผลิตสินค้าปลายน้ำใช้วัตถุดิบในประเทศ แต่หลังจาก 5ปีไปแล้วจะมีวัตถุดิบเข้ามาจากต่างประเทศที่ปลูกทีละเยอะๆ แบบนี้จะส่งผลกระทบต่อธุรกิจต้นน้ำเพราะว่าตอนนี้เราเกิดวิกฤตโควิด เวลาเราขอใบอนุญาตต่างๆใช้เวลา 8 เดือนถึง 1 ปี อยากจะขอผู้ที่มีอำนาจขยายเวลาช่วยเหลือเกษตรกรอย่างน้อยอีก 5 ปี รวมทั้งส่งเสริมการนำเทคโนโลยีเข้ามาทำให้ต้นทุนมันคุ้มค่า  มีกฎหมายรองรับและรวดเร็วพวกเราจะได้รอดกันทุกคน”