นายกโรงสี เชียร์ ‘ปลดหนี้’ ดีกว่า ‘ประกันรายได้’

22 ก.ค. 2562 | 09:45 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

นายกโรงสีชี้เป้ารัฐ ถอดบทเรียนช่วยชาวนาแทนที่จะยกระดับรายได้ ชี้ต้องทำให้หลุดจากวงจรหนี้ก่อนลำดับแรก ไม่เช่นนั้นแก้ไม่จบ ให้เท่าไรก็ไม่พอ ควบดูแลต้นทุน ลดรายจ่าย ระบุความเสี่ยงมีน้อยหากเทียบกับอาชีพอื่นนโยบายรัฐ คุ้มครองดูแลภัยพิบัติทั้งแล้ง น้ำท่วม

นายกโรงสี เชียร์ ‘ปลดหนี้’ ดีกว่า ‘ประกันรายได้’

 

นายเกรียงศักดิ์ ตาปนานนท์ นายกสมาคมโรงสีข้าวไทย เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ปัญหาเกี่ยวกับการสร้างรายได้ที่อยู่บนพื้นฐานความสามารถและศักยภาพของเกษตรกรเฉลี่ยโดยรวม การยกระดับชีวิตเกษตรกรโดยลดภาระหนี้สิน อีกทั้งความเข้าใจด้านรายได้และค่าใช้จ่ายหลักของเกษตรกรที่ตั้งอยู่บนหลักความจริง รวมถึงมุ่งเน้นการสร้างรายได้ลดค่าใช้จ่ายในระยะยาวโดยรัฐสามารถเข้ามามีส่วนร่วมโดยอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริงและยั่งยืน

นายกโรงสี เชียร์ ‘ปลดหนี้’ ดีกว่า ‘ประกันรายได้’

“วันนี้หากลองมองและวิเคราะห์ถึงการช่วยเหลือที่เป็น “เงินกู้” ถ้าหากรายได้ของเกษตรกรนั้นไม่ดี ไม่สูงพอที่จะชำระหนี้ก็จะเกิดปัญหา  เราชาวนาต่างกู้ ธ.ก.ส.เพื่อนำไปจ่ายเงินกู้นอกระบบ และวนกู้นอกระบบจ่ายคืน ธ.ก.ส. เป็นกับดักวังวน  แต่จะมีสักกี่รายที่กู้แล้วสามารถที่จะทำกำไรสร้างรายได้ที่มากพอเพื่อชำระคืนกนี้ ธ.ก.ส. หรือเงินกู้นอกระบบได้ทั้งหมด โดยเฉพาะยิ่งถ้าหากเป็นนาเช่าที่มีต้นทุนค่าเช่าด้วยแล้ว เพราะเหตุผลใดจึงเป็นเช่นนั้น”

นายกโรงสี เชียร์ ‘ปลดหนี้’ ดีกว่า ‘ประกันรายได้’

นายเกรียงศักดิ์ กล่าวว่า  การที่ ธ.ก.ส. ปล่อยกู้ นั้นเป็นเรื่องที่ดีทำให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้  แต่การคิดดอกเบี้ย ณ ปัจจุบันนั้นสูงพอ ๆ กับธนาคารพาณิชย์ทั่วไป  ซึ่งในเมื่อเป็นธนาคารของรัฐ ธ.ก.ส. ควรมีศักยภาพที่จะช่วยเหลือชาวนาโดยการคิดดอกเบี้ยพิเศษ ประมาณ 1-2% (เพื่อให้ชาวนาสามารถที่จะชำระหนี้คืนได้บนต้นทุนเงินกู้ไม่สูงมาก และค่าดอกเบี้ยรวมเงินต้นนั้น ต้องนำมาจากการทำกำไรสร้างรายได้ของเกษตรกรเอง) 

นายกโรงสี เชียร์ ‘ปลดหนี้’ ดีกว่า ‘ประกันรายได้’

 แต่เนื่องด้วยชาวนาประสบปัญหา ดินฟ้าอากาศ น้ำท่วม ฝนแล้ง โรคพืชโรคแมลง ฯลฯ ที่ในบางครั้งไม่สามารถควบคุมได้  ทำให้ผลผลิตเสียหายได้ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย สลับปีสลับฤดูอยู่เป็นประจำ และบวกกับราคาข้าวบ้างชนิด บ้างช่วงเวลา ขายแล้วไม่คุ้มค่าใช้จ่าย หรือได้กำไรไม่มากทำให้เกิดหนี้สินสะสม 

นายกโรงสี เชียร์ ‘ปลดหนี้’ ดีกว่า ‘ประกันรายได้’

การช่วยของรัฐโดยการให้กู้และคิดดอกเบี้ยที่สูงกว่ารายได้ของเกษตรกรนั้นคงจะเกินกำลังที่จะชำระหนี้คืน ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ถือเป็นเรื่องน่าเศร้าที่แม้เกษตรกรจะสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนของรัฐแต่ติดที่ดอกเบี้ยนั้นอาจสูงเกินไป และเมื่อไม่สามารถชำระหนี้ได้จนเกิดปัญหาหนี้สินสะสม ทำให้เกษตรกรหลายรายต้องเสียที่นาไปในที่สุดและหมดทางหารายได้อย่างถาวร ทั้งนี้รัฐต้องคำนึงถึงความสามารถในการชำระดอกเบี้ย โดยควรพิจารณาคิดดอกเบี้ยอัตราพิเศษ เช่น 1-2% เท่านั้น เพื่อช่วยลดต้นทุนการเงินอย่างจริงจัง ร่วมกับการยืดหนี้ให้มีระยะยาวออกไป หรือปลอดดอกเบี้ยตามระยะเวลาที่เหมาะสม

นายกโรงสี เชียร์ ‘ปลดหนี้’ ดีกว่า ‘ประกันรายได้’

ส่วนเรื่องการลดต้นทุนการผลิต  ที่คิดกันมานาน ก็ลดลงได้เพียงเท่าที่ทราบกันอยู่  ฉะนั้นเราต้องเพิ่มผลผลิให้ได้มากขึ้น และผลิตให้ตรงกับตลาด  รวมทั้งต้องพัฒนาพันธุ์ข้าวอย่างต่อเนื่อง ใช้พันธุ์ข้าวที่ให้ผลผลิตสูงกว่าที่เป็นอยู่และตอบโจทย์ชาวนา ตอบโจทย์ความต้องการซื้อของตลาด ควบคุมปัจจัยการผลิตให้ได้  ที่สำคัญเรื่องค่าเช่านาที่เป็นต้นทุนใหญ่อีกก้อนซึ่งรัฐควรที่จะหาทางเข้ามาช่วยเหลือเรื่องนี้ได้อย่างไรบ้าง เพราะที่นาบางส่วนเป็นนาเช่า 

นายกโรงสี เชียร์ ‘ปลดหนี้’ ดีกว่า ‘ประกันรายได้’

นอกจากนั้นคือการพัฒนาแหล่งน้ำคลองชลประทานให้มากขึ้น และสามารถใช้ประโยชน์ได้เต็มที่คือให้มีน้ำทำนา (โดยเฉพาะภาคอีสานส่วนใหญ่และภาคกลางบางส่วนทำนาได้เพียง”ปีละครั้ง” มีเพียงบางพื้นที่ซึ่งมีจำนวนไม่มากในภาคอีสานที่ทำนาได้ถึงปีละ 2 ครั้ง)  การทำนาเพียงปีละครั้งผลผลิตที่ได้ก็ต่ำกว่าและเสี่ยงต่อการขาดทุนขาดรายได้ทั้งปีหากเกิดภัยแล้ง

นายกโรงสี เชียร์ ‘ปลดหนี้’ ดีกว่า ‘ประกันรายได้’

ดังนั้นจึงจำเป็นต้องพัฒนาให้สามารถทำนาได้ถึงสองครั้งต่อปี โดยมีพื้นที่คลองชลประทานมากกว่าที่เป็นอยู่ หรือการสร้างรายได้เสริมจากการทำนาแต่ต้องมีความยั่งยืนซึ่งหากเปรียบเทียบผลผลิตต่อพื้นที่ทำนา 1ไร่ ต่อราคาขาย หักด้วยต้นทุนของข้าวแต่ละชนิดก็พอที่จะเห็นความแตกต่างดังนี้

นายกโรงสี เชียร์ ‘ปลดหนี้’ ดีกว่า ‘ประกันรายได้’

“ที่นา 1 ไร่ ปลูกข้าวปทุมฯ ได้ข้าวเปลือกสด 80-90 ถัง ราคา 80-85 บาทต่อถัง  หักลบค่าใช้จ่าย เหลือเป็นรายได้ (เพาะปลูกได้ถึงปีละ 2 ครั้ง) ข้าวเจ้าธรรมดา 1 ไร่ ได้ข้าวเปลือกสด 80 ถัง ราคา 65-70 บาทต่อถัง หักลบค่าใช้จ่าย เหลือเป็นรายได้ (เพาะปลูกปีละ 2 ครั้ง) ข้าวหอมพวง 1 ไร่ ได้ข้าวเปลือกสด 100 ถึง 120 ถัง ราคา 70-75 บาทต่อถัง หักลบค่าใช้จ่าย เหลือเป็นรายได้ (เพาะปลูกปีละ2ครั้ง) ข้าวหอมมะลิ 1 ไร่ (เพาะปลูกปีละครั้งเดียว) ได้ข้าวเปลือกสด 40-50 ถัง ราคา 95-100 บาทต่อถัง หักลบค่าใช้จ่าย เหลือเป็นรายได้  ทั้งนี้การเลือกปลูกก็ขึ้นอยู่กับความถนัด ความยากง่ายในการเพาะปลูกและความเหมาะสมของพื้นที่อีกด้วย”

นายกโรงสี เชียร์ ‘ปลดหนี้’ ดีกว่า ‘ประกันรายได้’

แต่ก็จะเห็นได้ชัดว่าการเลือกชนิดข้าวมีผลอย่างยิ่งต่อผลผลิตและรายได้ที่จะได้รับ  ยิ่งถ้าสามารถปลูกได้มากกว่า 1 ครั้งต่อปีและมีผลผลิตสูงก็จะยิ่งลดความเสี่ยงต่อการสูญเสียโอกาสและรายได้ทั้งปีไป แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับพื้นที่เพาะปลูกจะมีความเหมาะสมหรือไม่ในการปลูกข้าวแต่ละชนิดด้วย และราคานั้นก็ขึ้นกับทิศทางความต้องการตลาดด้วย รวมถึงปริมาณจำนวนผลผลิตที่มากหรือน้อยเกินไปในแต่ละช่วง ซึ่งทั้งนี้ก็จำเป็นที่จะต้องสามารถปรับเปลี่ยนปรับตัวตามทิศทางที่เหมาะสมได้ด้วย

นายกโรงสี เชียร์ ‘ปลดหนี้’ ดีกว่า ‘ประกันรายได้’

แต่ข้อดีคือหากมีการดำเนินการวางแผนและบริหารจัดการให้ดีชาวนาก็สามารถที่จะลดความเสี่ยงต่างๆลงได้มาก และยังสามารถเพิ่มรายได้ยกระดับชีวิต มีกำลังในการชำระหนี้ ธ.ก.ส. และยืนอยู่ได้ในระยะยาว  ซึ่งเมื่อถ้าหากชาวนาไม่มีหนี้สินพอกพูน และมีที่นาของตนเอง ก็สามารถอยู่ได้มีรายได้มีโอกาสที่มากกว่า

นายกโรงสี เชียร์ ‘ปลดหนี้’ ดีกว่า ‘ประกันรายได้’

“เรื่องพื้นที่ทำนาเกี่ยวข้องกับต้นทุนก็เป็นเรื่องที่สำคัญและควรใส่ใจ  เนื่องจากชาวนารายย่อยที่มีพื้นทำนาแต่ละรายไม่มากนักจะมีปัญหา “ต้นทุนเฉลี่ยจะสูงกว่า” ผู้ที่ทำนาจำนวนมากหลายๆไร่ (เช่น 50 ไร่ขึ้นไป) และสิ่งที่จำเป็นอีกเรื่องคือการจัดทำบัญชี รายรับรายจ่าย ต้องรู้ว่ารายรับเกิดขึ้นจากอะไรและรายจ่ายเกิดจากอะไร นำมาวิเคราะห์แล้วบริหาร ภาครัฐควรลงทุนงบประมาณในเรื่องของโครงสร้างพื้นฐานการผลผลิตอย่างเต็มที่เพื่อให้ครอบคลุมระบบการผลิตในระยะยาว”

นายกโรงสี เชียร์ ‘ปลดหนี้’ ดีกว่า ‘ประกันรายได้’

นายเกรียงศักดิ์ กล่าวว่า เรื่องการแข่งขันที่สูงขึ้น ความเสี่ยง การลงทุนนั้น  เป็นที่ทราบกันดีว่า การแข่งขันมีอยู่ในทุกสาขา ทุกอาชีพมีการแข่งขันที่ดุเดือดไม่ต่างกัน แม้แต่แม่ค้าในตลาดก็แข่งขัน มีคนที่อยู่ได้และอยู่ไม่ได้ต้องเลิกไป ต้องวิเคราะห์ว่าเพราะเหตุใด  การตลาดมีการทำการแข่งขันแย่งชิงส่วนแบ่งในทุกๆด้านเพื่อที่จะมีที่อยู่ในตลาด   ซึ่งในตลาดมีทั้งผู้ที่อยู่ได้มีกำไรและมีผู้ขาดทุน  ตัววัดการอยู่ได้และมีส่วนแบ่งในการตลาดหมายถึงรายได้และกำไร  การจะมีส่วนแบ่งในตลาดที่มากนั้นหมายถึงความสามารถในการสนองหรือผลิตสินค้านั้น ๆ ได้ตรงตามความต้องการของตลาดคือตลาดผู้บริโภคนั้นเอง (ซึ่งเป็นหัวใจหลักในการที่จะอยู่รอด)  ซึ่งขั้นต้นเราจำเป็นต้องควบคุมในสิ่งที่เราควบคุมได้ก่อน แล้วจึงบริหารความเสี่ยงและผลกระทบต่างๆต่อไป

นายกโรงสี เชียร์ ‘ปลดหนี้’ ดีกว่า ‘ประกันรายได้’

สำหรับข้อดีของชาวนา คือการที่มีรัฐ คอยดูแล ซึ่งถือเป็นข้อได้เปรียบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเงินทุนจาก ธ.ก.ส. หรือนโยบายรัฐที่คอยสนับสนุน ไม่ว่าเกิดฝนแล้ง น้ำท่วม ก็มีการประกันภัยพืชผล ในด้านราคามาโดยตลอด  เพราะเกษตรกรนั้นเป็นคนกลุ่มใหญ่ของประเทศ  ที่เป็นผู้สร้างกำลังซื้อ ผลักดันทำให้เศรษฐกิจหมุนเวียน  การช่วยเหลือเบื้องต้นของรัฐนับว่าเป็นพื้นฐานประกันความเสี่ยง (แม้ว่าการช่วยเหลืออาจไม่คุ้มกับที่ลงทุนไปแล้วได้รับความเสี่ยงหาย)ในอาชีพได้ส่วนหนึ่ง  แต่ส่วนที่เหลือควรอยู่ที่เราเองหรือไม่ ในเรื่องของลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต หรืออะไรก็แล้วแต่ที่สามารถสร้างรายได้ ลดรายจ่าย ที่จะนำไปสู่ความยั่งยืนของอาชีพชาวนาในที่สุด